ไลฟ์สไตล์
อร่อยฟิน สไตล์ญี่ปุ่น ที่ร้านเซ็น จัดเต็ม 2 คุ้ม
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
น้องมีบุญ ชวนทำบุญวัดดัง ในตำนาน พระพุทธรูปลอยน้ำ 5 พี่น้อง
“ฟ้าใหม่แล้วล่ะนะน้อง สงกรานต์เร้าร้องทำนองเพลงโทน” ช่วงนี้ไปไหน เพื่อนๆ คงได้ยินเพลงนี้ ที่บอกให้เรารู้ว่าเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทยแล้ว โดยคำว่า “สงกรานต์” นั้นมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือเคลื่อนย้าย อันหมายถึง การย้ายของพระอาทิตย์ไปยังจักรราศีใดราศีหนึ่ง แต่ความหมายที่คนไทยนิยมใช้อ้างอิงถึง จะกล่าวเฉพาะวัน และเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายน นอกจากนั้น ยังมีเรื่องราวของนางสงกรานต์ ซึ่งเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ ซึ่งธิดาทั้ง 7 นั้นเป็นนางฟ้าอยู่สวรรค์ มีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแก่รอบพระสุเทรุในแต่ละปี สลับสับเปลี่ยนกันไป กำหนดไว้หากวันมหาสงกรานต์ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ และในปี พ.ศ.2567 นี้ ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์จึงเป็น มโหธรเทวี ทัดดอกสามหาว ทรงพาหุรัด อาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา ทำนายได้ว่าน้ำน้อย พายุจัด ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาจะได้ผลกึ่งเสียกึ่ง บ้านเมืองเกิดความไม่สงบสุขเท่าไรนัก ทั้งหมดนี้ เราอาจจะทำบุญเพื่อความสบายใจ สะสมบุญไว้ตั้งแต่เริ่มปีใหม่ไทย ทำได้ง่ายๆ
ข้อมูลบริจาคที่ส่งไปกรมสรรพากรจะถูกนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยเราสามารถคลิกดูรายละเอียดข้อมูลที่บริจาค E-Donation ไปแล้ว ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ง่ายสะดวกทันใจ สายบุญยุคดิจิทัล สามารถเลือกวัดที่ต้องการทำบุญเพิ่มเติม ผ่านการ สแกน QR Code และ SCB EASY APP ได้ที่ >> https://www.scb.co.th/th/personal-banking/other-services/e-donation/e-donation-religious-sites.html
และวันนี้ น้องมีบุญขอพาทุกคนไปทำบุญร่วมกัน กับพระพุทธรูปลอยน้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 พี่น้องในตำนาน เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขรับปีใหม่ไทยกันค่ะ
มีตำนานกล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน บวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมาก ได้พร้อมใจกันตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน”ครั้นพระอริยบุคคลทั้งห้าองค์นี้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ จึงพากันแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้พระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำสายหลักของภาคกลางทั้ง 5 สาย
บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง 5 ลอยน้ำมานี้ ก็เพราะเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หล่อจากองค์พระพุทธรูป ชาวบ้านเองก็ต้องการจะรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงเอาปูนบ้าง รักดำบ้าง ไปพอกไว้บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง 5 ลอยน้ำมานี้ ก็เพราะเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หล่อจากองค์พระพุทธรูป ชาวบ้านเองก็ต้องการจะรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงเอาปูนบ้าง รักดำบ้าง ไปพอกไว้ที่องค์พระเพื่อให้ดูไม่สวยงามและปกปิดความมีค่าไว้จากข้าศึก แต่เมื่อไม่อาจปกป้องได้ไหวจึงขนย้ายพระพุทธรูปสำคัญลงแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ำเพื่อไม่ให้ข้าศึกทำลาย ด้วยน้ำหนักขององค์พระ เมื่อวางพระลงบนแพไม้ไผ่จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยมาตามน้ำ จนผู้ที่พบเห็น ถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่น้ำหนักมากจะสามารถจะลอยน้ำได้
วัดเก่าแก่ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปีพ.ศ.2310 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะ โดยเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพให้กับไทยได้อีกครั้ง และได้ขยายอาณาเขตประเทศ และสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “บางพลี” นั้น เนื่องจากพระองค์ได้ทรงกระทำพิธี พลีกรรมบวงสรวงนั้นเอง จึงเป็นที่มาของชื่อวัดในสมัยอดีตว่า “วัดพลับพลาไชยชนะสงคราม” โดยที่นี่ ยังเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย เป็นทองสำริดทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ลืมพระเนตร ตามตำนานเล่าสืบต่อกันว่า เมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ได้มีพระพุทธรูป 3 องค์ลอยตามน้ำเจ้าพระยาลงมาจากทางเหนือ ชาวบ้านเข้าใจว่า ชาวบ้านกรุงศรีอยุธยาอาจจะอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำ เพื่อหลบหนีข้าศึก เพราะในสมัยนั้นมีศึกสงครามบ่อยครั้ง ต่อมาพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้ไปปรากฏยังสถานที่ต่างๆ องค์แรก ประดิษฐานอยู่ ณ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม องค์ที่สองประดิษฐานที่วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา และองค์สุดท้ายได้ลอยตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองสำโรง ชาวบ้านพยายามจะอาราธนาขึ้นที่นั่น แต่ทำอย่างไรก็ไม่ขึ้น จนได้ลองเสี่ยงทายโดยการใช้แพผูกชะลอองค์พระ และอธิษฐานว่า "หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด" จนแพมาหยุดนิ่งที่วัดพลับพลาไชยชนะสงคราม ชาวบ้านจึงพากันอธิษฐานว่าหากหลวงพ่อโปรดจะคุ้มครองชาวบางพลี ก็ให้อาราธนาท่านขึ้นโดยง่าย ซึ่งก็เป็นไปดั่งคำอธิษฐาน จึงเป็นที่มาของการประดิษฐานหลวงพ่อโต ณ วัดแห่งนี้
ที่อยู่ 130 หมู่ที่ 10 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
วัดเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากบทระพันธ์ “เพลงยาวหม่อมพิมเสน” ในสมัยอยุธยา มีปรากฏชื่อ “วัดเขาดิน” ที่เป็นชื่อเดิมของวัดเขาตะเครา และต่อมายังปรากฏในนิราศเมืองเพชรของกวีเอกสุนทรภู่ ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปที่คนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อเขาตะเครา หรือหลวงปู่ทองวัดเขาตะเครา” ซึ่งได้ประพันธ์ไว้เมื่อพ.ศ.2375 โดยชื่อวัดเขาตะเคราแห่งนี้ สร้างด้วยจิตศรัทธาจากเจ้าสัวชาวจีนที่ได้พระพุทธรูปมา จึงได้สละทรัพย์สร้างขึ้นโดยให้ลูกน้องชาวจีนเป็นผู้ควบคุมงาน และผู้ควบคุมงานนี้เป็นคนไว้หนวดเครายาว ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า วัดเขาจีนเครา แต่ในเวลาต่อมาการออกเสียงได้เปลี่ยนจาก “จีน” เป็น “ตา” และจากสระอา กลายเป็นสระอะ จึงได้เป็นคำว่า วัดเขาตะเครา วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางคุ้มมาร สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว ภายนอกเห็นเป็นปูนปั้นลาย ภายในองค์พระเป็นทองคำ หรือทองสัมฤทธิ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2302 สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี ได้อพยพหนีข้าศึกพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ปากคลองแม่กลอง สมุทรสงคราม ใกล้วัดร้างชื่อ วัดศรีจำปา ชาวบ้านแหลมที่อพยพไปอยู่บริเวณนั้นได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า “วัดแหลม หรือวัดบ้านแหลม” ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งประกอบอาชีพประมงได้ออกไปลากอวนหาปลาน้ำตื้นบริเวณชายฝั่งทะเลปากอ่าว บังเอิญปากอวนได้สะดุดติดกับวัตถุใต้น้ำซึ่งทุกครั้งเข้าใจว่าเป็นตอไม้แต่ครั้งนี้ได้ช่วยกันลงไปงมวัตถุที่ติดกับปากอวนขึ้นมาปรากฏว่าสิ่งที่งมได้นั้น เป็นพระพุทธรูป 2 องค์ องค์แรกเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สูง 6 ฟุต อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว จึงนำพระพุทธรูปทั้งสององค์ ไปประดิษฐานไว้ที่โรงมุงด้วยจากข้างหมู่บ้านก่อน ต่อมาเมื่อสร้างวัดเสร็จจึงนำพระพุทธรูปองค์ยืน ปางอุ้มบาตรนั้นประดิษฐานที่วัดนั้นและเรียกชื่อพระพุทธรูปว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หรือ หลวงพ่อบ้านแหลม” ตามชื่อของชาวบ้านนั้น ต่อมาวัดบ้านแหลมได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงชื่อว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร”ส่วนพระพุทธรูปองค์นั่งปางมารวิชัยชาวบ้านได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วิหารบนยอดเขาตะเครา และเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นเวลานานกว่าสองร้อยปี พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต่างเคารพนับถือล่ำลือในความศักดิ์สิทธิ์มาเป็นเวลานานได้มานมัสการปิดทององค์หลวงพ่อกันมากโดยมิได้มีการลอกทองคำที่ปิดออกเลยนับเป็นเวลาร้อยๆ ปี กระทั่ง ตา หู จมูก มองไม่เห็นเลยองค์ท่านกลมเหมือนลูกฝัก จึงเรียกว่า “หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา”
ที่ตั้ง 1004 ตำบล บางครก อำเภอ บ้านแหลม เพชรบุรี 76110
วัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยแต่เดิมชื่อว่า “วัดหงษ์” โดยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.98 เมตร เป็นงานฝีมือกลุ่มล้างช้าง โดยตามตำนานเล่าว่า องค์พระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ มีรูปทรงสวยงามมาก ได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน
เดิมที หลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่น ๆ 18 องค์ ต่อมาปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้และมีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม พระพรหมคุณาภรณ์ (จริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยสร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ งานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม โดยนายประเวศ ลิมปรังษี งานด้านวิศวกรรมโครงสร้าง โดย สำนักออกแบบนายอรุณ ชัยเสรี
ศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ นับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาล โดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ ทำให้ผู้คนมักมาขอพร และเมื่อสมหวังก็จะมาถวายไข่ต้มยังอย่างเนืองแน่นเสมอ
ที่ตั้ง 134 ถนน เทพคุณากร ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา 24000
ชื่อเดิมของวัดแห่งนี้ คือ วัดศรีจำปา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีตำนานเล่าว่า เมื่อปีพ.ศ. 2307 ชาวบ้านแหลมได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนบริเวณแม่กลอง เหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อหมู่บ้านเดิมที่เมืองเพชรบุรีที่จากมา และช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน และเปลี่ยนชื่อวัดศรีจำปา เป็น วัดบ้านแหลม ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นวรวิหาร และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร มีความสูง 2 เมตร 80 เซนติเมตร สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ยุคเดียวกับหลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อโตวัดบางพลี โดยหลวงพ่อบ้านแหลมเป็นหนึ่งในตำนานพระ 5 องค์ที่ลอยน้ำมา อันได้แก่ หลวงพ่อบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา และหลวงพ่อวัดไร่ขิง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธา เสด็จนมัสการ และพระราชทานผ้าทอดิ้นทอง 2 ผืนเพื่อประดับไว้ที่องค์พระในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันที่วัดถวายกฐิน ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ได้ถวายบาตรแก้วสีน้ำเงิน เนื่องจากบาตรเดิมได้สูญหายในทะเลเมื่อคราวที่ชาวประมงลากอวนพบหลวงพ่อลอยมาในแม่น้ำแม่กลอง
ภายในบริเวณวัดยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ ที่จัดแสดงพระพุทธรูป พระเครื่องสมัยต่างๆ โบราณวัตถุ เครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา
สำหรับใครที่อยากเสริมอำนาจบารมี ให้มีแต่สิริมงคลในชีวิต ก็มักจะมาสักการะปิดทองคำเปลว และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากองค์หลวงพ่อกัน หากผู้ใดสมหวังดังใจปรารถนาแล้ว ก็จะกลับมาแก้บนด้วยการจ้างคณะละครรำ ให้มารำถวายองค์หลวงพ่อ
ที่ตั้ง ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดเก่าแก่ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำนครชัยศรี สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาสมศักดิ์เป็นพระพุฒาจารย์ (พุก) โดยในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร แต่ได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิง ซึ่งเป็นบ้านของบิดามารดา แต่วัดไม่ทันได้สร้างเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ก็มรณภาพไปก่อนในปี พ.ศ. 2427 และได้มีผู้มาดูแลต่อคือพระธรรมราชานุวัตร ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน สำหรับที่มาของชื่อวัดไร่ขิงนั้น เนื่องจากในบริเวณนี้มีชาวจีนมาตั้งรกรากเป็นจำนวนมาก และนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านจึงพากันเรียกชุมชนนี้ว่า “ไร่ขิง” เมื่อมีการสร้างวัด จึงตั้งตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดไร่ขิง” นั่นเอง
ภายในบริเวณวัดมีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อวัดไร่ขิง พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ บนฐานชุกชี 5 ชั้น อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน ล่องมาด้วยแพไม้ไผ่ทางแม่น้ำ เมื่อถึงวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ภายใน ซึ่งวันดังกล่าว ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันสงกรานต์ที่มีประชาชนมากมายมาทำบุญที่วัด ว่ากันว่า ในปะรำพิธีได้เกิดความอัศจรรย์ขึ้น แสงแดด และความร้อนระอุได้พลันหายไป เกิดเป็นเมฆดำ มีฝนฟ้าคะนอง และเป็นสายฝนลงมาให้ความชุ่มฉ่ำชื่นใจ ประชาชนที่มาในงานจึงแซ่ซ้องว่า “หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้าย คลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร แต่ก็มีบางตำนานที่เล่าขานว่าหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้น เป็น 1 ใน 5 ของพระพุทธรูปลอยน้ำ หรือปัญจภาคี ปาฏิหาริย์กระสินธุ์โน
และเมื่อปี พ.ศ. 2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน และได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง จึงทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานทำให้วงเล็บหายไป เหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แทน
ที่ตั้ง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม