ความเสี่ยงของธุรกิจนำเข้าที่จ่ายเงินล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ได้ของ

เรื่องจริงที่คนทำธุรกิจระหว่างประเทศต้องเจอ

ความเสี่ยงของผู้นำเข้าจ่ายเงินค่าสินค้าไปล่วงหน้าหรือจ่ายมัดจำไปแล้วแต่ไม่ได้ของ คุณชิตพล พันธุ์ไชยศรี บริษัท Cute Products Plus จะมาเล่าทั้งความสนุกและความเสี่ยงของการนำเข้าสินค้าคิวท์ๆ จากต่างประเทศเข้ามาขายในบ้านเรา


ที่มาของความคิวท์

“จริงๆ เป็นคนชอบกิน ชอบหาของอร่อย หาของดีๆ มีวันหนึ่งได้ไปดื่มเครื่องดื่มตัวหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่าอร่อยจังทำไมเมืองไทยไม่มีขาย ด้วยความที่รู้สึกว่าเวลาเราเอามาให้พ่อ แม่หรือเพื่อนทานเขาแฮปปี้ เห็นความสุขของเขาเวลาเขาบอกว่าชอบจังอร่อยอยากซื้อ อยากทานคุณแมค ชิตพล  พันธุ์ไชยศรี CEO Cute Products Plus Co.,Ltd. ผู้นำเข้าเครื่องดื่มและขนมจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในไทย เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ ซึ่งสินค้าตัวแรก ๆ เป็นเครื่องดื่มหลังจากนั้นจึงเริ่มนำเข้าขนม สแน็คต่าง ๆ โดยทำธุรกิจมาประมาณ 8 ปี ปัจจุบันมีสินค้าในเครือประมาณ 1,000 SKU “บริษัทมี Concept ในการส่งมอบความสุขให้กับคนทั่วไป จึงเปิดบริษัทขึ้นมาเพื่อจะนำเข้าแล้วเราก็ไปหาของอร่อยๆ จากทั่วโลก ชื่อบริษัทจึงชื่อ Cute Product Plus ดังนั้นของที่ผมนำเข้ามาก็จะต้องเป็นของที่อร่อย ดูดีและคิวท์เหมือนชื่อบริษัทครับ”

นำเข้าจากที่ไหนและวางจำหน่ายอย่างไรบ้าง

คุณแมคเล่าว่าสินค้า 60% มาจากญี่ปุ่น 20% มาจากอิตาลีหรือฝั่งยุโรปที่เหลือเป็นแถวๆ เอเชีย เช่น สิงคโปร์ จีน มาเลเซียและเกาหลี โดยจะเน้นจับตลาดระดับกลางถึงระดับบน ดังนั้นจึงวางจำหน่ายใน Modern Trade ใหญ่ๆ คือในซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำและร้านสะดวกซื้อแทบทุกแบรนด์


บางครั้งการทำธุรกิจก็ไม่ได้น่ารักเหมือนชื่อเสมอไป

“มีบ้างในการทำธุรกิจผมว่าทุกคนต้องมีบาดแผลอยู่แล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการและการวางแผนของเราด้วย” คุณแมคกล่าว แล้วเล่าต่อถึงวิธีการในการนำเข้าสินค้าเข้ามาขายว่ามีทั้งการเดินทางไปประเทศนั้นๆ เพื่อไปดูสินค้าถ้าสนใจก็พยายามหาคอนเนคชั่นเข้าไปติดต่อ อีกวิธีคือการไปงานเทรดแฟร์ ซึ่งขั้นตอนก็คือเลือกดูสินค้า ถ้าสนใจก็ติดต่อแล้วก็จะซื้อจะขายกัน ซึ่งต้องเจรจาในเรื่องเงื่อนไขในการซื้อขาย ส่วนใหญ่ถ้าพบสินค้าที่ถูกใจจากงานเทรดแฟร์ ซึ่งทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็จะใช้หลักกการ TT หรือ Advance คือจ่ายเงินก่อนเลย ผู้ขายถึงจะส่งของมาให้ “ความเสี่ยงก็อยู่ตรงนี้แหละครับว่า เราจะเชื่อใจเขาได้มั้ย เขาจะเชื่อใจเราได้รึป่าว” ซึ่งในความจริงความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ทั้งสองฝั่งคือทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ  ผู้ขายเองก็ไม่แน่ใจในผู้ซื้อถ้าสั่งของมาแล้วไม่จ่ายเงิน ผู้ขายจึงต้องขอให้จ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าจึงจะส่ง ส่วนผู้ซื้อจ่ายเงินไปแล้วก็ต้องมากลัวอีกเช่นกันว่าจะได้ของจริงหรือไม่ จะสูญเงินหรือเปล่า ในบางกรณีผู้ขายอาจมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรนลงคือให้วางเงินมัดจำส่วนหนึ่ง ความเสี่ยงก็จะน้อยลง แต่ถึงแม้ว่าเงินจะน้อยแต่ถ้าเจอกับผู้ขายที่ไม่ซื่อสัตย์ไม่ส่งของให้ก็เป็นความเสี่ยงเช่นกันถึงแม้เงินอาจจะไม่มากนักก็ตาม

ออกบูธสวยๆ ในงานเทรดแฟร์แต่ไว้ใจไม่ได้ก็มี

คุณแมคเล่าถึงเคสหนึ่งที่ได้ไปคุยกับบริษัทหนึ่งในยุโรป ซึ่งบริษัทนี้ก็มีการออกบูธใหญ่โตในงานเทรดแฟร์และยังมี License ในการจำหน่ายสินค้าด้วย ซึ่งโดยรวมบริษัทมีภาพลักษณ์ มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง คุณแมคได้ติดต่อกับบริษัทนี้มาระยะหนึ่งและเตรียมจะสั่งสินค้าแล้วแต่ว่ายังไม่ได้ออเดอร์ ยังไม่ได้โอนเงิน ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่ต่างประเทศที่ทำธุรกิจเหมือนกันโทรมาถามว่าได้โอนเงิน ได้สั่งสินค้าจากบริษัทนั้นไปหรือไม่ เพราะตอนนี้บริษัทนั้นติดต่อไม่ได้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจเพราะบริษัทนี้ก็ทำธุรกิจมาเป็นสิบปีและยอดขายก็อยู่ในระดับเป็นพันล้าน กระจายสินค้าไปไม่ต่ำกว่า 20 ประเทศ “พอร์ตเขาดีมาก เขามาออกงานแฟร์ทุกปี ผมเจอเค้า 3-4 ปีมาตลอด ปีหนึ่งก็สองสามงาน ซึ่งก็โชคดีมากที่เราไม่ได้โอนเงินไปก่อน” คุณแมคเล่าถึงประสบการณ์ที่เจอ


ทางออกที่ดีกว่าเทรดแฟร์

คุณแมคเล่าต่อว่าโดยหลักการถ้าสามารถต่อรองกับคู่ค้าได้ ก็จะขอ credit term หรือขอเงินมัดจำน้อยๆ แต่ก็ต้องแล้วแต่ทางฝั่งของคู่ค้าด้วยว่าเขาจะมั่นใจเราแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่คู่ค้าก็จะมาถามว่าเราทำอะไร มีพอร์ตแค่ไหน บริษัทเป็นอย่างไร เปิดมากี่ปีแล้ว ลูกค้าคือใคร ซึ่งต่างคนก็ต่างเช็คกันและกัน “แต่วิธีการปัจจุบันนี้ผมได้มาเจอกับ SCB ซึ่งมีแพลตฟอร์ม Trade Club ซึ่งสามารถหาคู่ค้า สามารถหาซัพพลายเออร์ในต่างแดนได้ และ SCB ก็มีคอนเนคชั่นกับธนาคารในประเทศนั้นๆ อยู่แล้ว ซึ่งถ้าธนาคารเลือกมาส่วนใหญ่ก็เป็นการการันตีกว่า 90% ว่ามั่นใจได้ว่าเป็นลูกค้าชั้นดีของธนาคาร และผมคิดว่าน่าจะมาช่วยเรื่องการสร้างความไม่มั่นใจระหว่างกันได้และระบบของ SCB Trade Club จะต้องลงทะเบียนเพื่อเป็นสมาชิกก่อนอยู่แล้วซึ่งคนที่จะมาเป็นสมาชิกตรงนี้ก็ต้องเป็นลูกค้าของ SCB ก่อน แล้ว SCB ก็มีการเช็คประวัติอะไรพอสมควร ซึ่งธนาคารอื่นที่อยู่ใน Trade Club ในต่างประเทศก็ต้องมีหลักการเดียวกัน ดังนั้นตรงนี้ธนาคารจะมาช่วยเช็คโปรไฟล์ ทีนี้ก็มั่นใจที่จะซื้อจะขายได้” คุณแมคเล่าถึงช่องทางใหม่ในการหาคู่ค้า หาซัพพลายเออร์อย่าง SCB Trade Club ที่ทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความมั่นใจมากขึ้นเพราะคู่ค้าทั้งหมดที่เป็นสมาชิกใน Trade Club ได้ผ่านการคัดเลือกจากธนาคารชั้นนำในประเทศนั้นๆ มาแล้วว่าเชื่อถือได้และมีเครดิตทางการเงินที่ดี


เดินออกมาจากความเสี่ยงและความกังวลในการทำธุรกิจนำเข้าและส่งออก ให้ SCB Trade Club เป็นทางเชื่อมระหว่างคุณและคู่ค้าจากทั่วโลกที่ได้ผ่านการคัดเลือกมาแล้วจาก 14 ธนาคารชั้นนำ สามารถตรวจสอบประวัติ ข้อมูลของคู่ค้าได้เองผ่านระบบออนไลน์ ลูกค้าธุรกิจที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจระดับโลก SCB Trade Club สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือ SCB Business Call Center 0 2722 2222 

ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง

Trade Finance

SCB Trade Club

THE GLOBAL TRADE PLATFORM DESIGNED TO HELP YOUR BUSINESS EXPAND INTERNATIONALLY

เพิ่มเติม