5 วิธีเปิดทางเชื่อมสินค้าชุมชนสู่มือคนเมือง

เมื่อนวัตกรรมการเกษตรรุกคืบสู่แหล่งการผลิตตามไร่และสวนมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปโฉมใหม่ พร้อมตอบโจทย์ผู้บริโภคก็มีพร้อม แต่จะนำออกไปจำหน่ายที่แหล่งไหน เพื่อให้จูนติดผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมาย ครั้นจะไปเปิดร้านในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ก็ไม่อาจต้านทานคลื่นสินค้าจีนที่ถาโถม แต่เกษตรกรมือเก่าและมือใหม่อย่าเพิ่งห่อเหี่ยว ยังมีตลาดกลางของสินค้าชุมชนหลายแห่งที่เปิดกว้าง หากเจาะการขาย พร้อมวางกลยุทธ์ตั้งแต่แรกได้เหมาะสม


1. รู้ตำแหน่งของตัวเอง และหาพันธมิตรหัวใจเดียวกัน


อันดับแรกที่สำคัญคือรู้จุดเด่น จุดขายของสินค้าเกษตร หรือสินค้าชุมชนของเราเองว่าคืออะไร แล้วมองหาสังคมเครือข่ายในชุมชนหรือในระดับประเทศที่ทำเหมือนๆ กัน ซึ่งอาจมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นชมรม สมาคม และมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์คอยให้แลกเปลี่ยน อาทิ หากคุณทำการเกษตรอินทรีย์ ลองเข้าไปติดตามสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ที่มีกิจกรรม Farm Visit ให้เราแลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตของเราเอง และยังมีแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง TOCA ที่จะช่วยให้เกษตรกรรู้ถึงความต้องการของตลาด และนำเสนอสินค้าตรงกับกลุ่มที่มีความต้องการได้


หรือหากสนใจกฎหมายใหม่อย่างการปลูกกัญชงและกัญชา สามารถหาความรู้จากวิสาหกิจชุมชนที่รวมตัวกันแล้ว ลองไปเยือนสถานที่จริง ทำให้เราเข้าถึงกฎหมาย และได้เรียนรู้จากคนที่เคยปฏิบัติจริง ก่อนลงมือด้วยตัวเอง


2.
มองอีคอมเมิร์ซทางเลือกที่หลากหลาย


ปัจจุบันกลุ่มสตาร์ทอัพของไทยจำนวนไม่น้อย ที่เห็นข้อเสียเปรียบของเกษตรกรไทยเมื่อต้องการเปิดตลาดออนไลน์ จึงหันมาพัฒนาแพลตฟอร์มให้กับสินค้าชุมชนโดยตรง แม้ว่าฐานลูกค้าจะไม่ได้เยอะมหาศาลเท่ากับอีคอมเมิร์ซระดับข้ามชาติ แต่เชื่อได้ว่าสื่อสารตรงกับกลุ่มที่มองหาสินค้าของคุณอยู่พอดี อาทิ thailandpostmart.com ที่เป็นมาร์เก็ตเพลสให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ผู้บริโภค หรือ freshket.co ที่เปิดประตูการขายในสเกลใหญ่ให้ร้านอาหาร หรือ e-ricethaifarmers.com โครงการผูกปิ่นโตข้าว ที่ให้ชาวนามาขายข้าวและพืชผักปลอดสารเอง


หากต้องการโกอินเตอร์ ก็มีบริการของ Cloudmall ที่ให้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสำหรับแบรนด์ไทยที่ต้องการไปแตะขอบฟ้าขายในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศ โดยบริการนี้จะช่วยเหลือตั้งแต่จัดหน้าร้านออนไลน์ ทำรายละเอียดสินค้า ทำการตลาด จัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ และวิเคราะห์สรุปการขายให้ ซึ่งการเรียกเก็บเงินก็ง่ายและสะดวก โดนใช้ แอปแม่มณี เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) สามารถสร้าง QR code รับเงินจากลูกค้าได้จากทุกธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม จะรับจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือ Alipay  WeChat Pay ก็ได้ และแจ้งเตือนทุกรายการเมื่อได้รับเงินเข้าเมื่อไหร่ ไม่พลาดทุกยอดขาย ดาวน์โหลดแอปที่นี่

from-farm-to-city-01

3. สร้างความผูกพันกับลูกค้าถึงในฟาร์ม


นอกจากจะรอให้ลูกค้ามาซื้อผลิตภัณฑ์กันที่ตลาดกลาง มีอีกวิธีหนึ่งที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น คือ เปิดให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ โดยปัจจุบันมีสตาร์ทอัพที่เข้ามาเป็นตัวกลางพาคนเมืองไปจับมือชาวสวน อาทิ ฟาร์มโตะ ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคร่วมเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยเปิดให้สั่งจองและซื้อผลผลิตตั้งแต่ขั้นการปลูก เฝ้าดูการเติบโต และอาจมาเยี่ยมชมสวนด้วยตัวเอง และรอรับผลผลิตเมื่อเก็บเกี่ยว สร้างความชื่นใจตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง

4. อย่าทิ้งตลาดคนไทย หมั่นออกร้านขายในตลาดจริง


ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหาร เมื่อเป็นผู้ผลิตหน้าใหม่ แม้จะบรรยายสรรพคุณอย่างไรผ่านรูปหรือตัวหนังสือ ก็ย่อมไม่ดีเท่ากับการออกร้านเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นได้ชิมด้วยตัวเอง การหมั่นออกร้านตามตลาดนัดในทำเลย่านคนทำงาน ไม่ต้องบ่อยครั้งแต่ให้สม่ำเสมอ และชี้ชวนให้ลูกค้าติดตามข้อมูลของไร่สวนตัวเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์หรือแฟนเพจ อาจทำให้ได้กลุ่มลูกค้าจากการขายตรง สั่งซื้อโดยไม่ต้องผ่านคนกลางมากขึ้น


อย่าลืมว่าในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา การเปิดตลาดไปต่างประเทศที่มีข้อจำกัด ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไม่ได้ สร้างบทเรียนแล้วว่า การมีลูกค้าในประเทศที่แข็งแกร่ง เชื่อถือในคุณภาพผลิตผลของเรา อาจจะช่วยให้อยู่รอดในระยะยาว ไม่ว่าจะต้องพบวิกฤตใดๆ อีกก็ตาม


ที่มา
https://toca.or.th
https://www.salika.co/2020/05/04/thai-startups-platform-online-for-agricultural-product/
https://mgronline.com/smes/detail/9630000070750
https://farmto.co.th
https://www.freshket.co