มีที่ดินอย่าทิ้งร้าง! ส่องวิธีการจัดการดีๆ ในยุคภาษีที่ดินฉบับใหม่

จัดระเบียบใหม่มาสักพักกับ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ และประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2563 เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินทั้งหลาย เร่งแปลงกายนำผืนดินที่เคยรกร้างนำมาสร้างประโยชน์มากยิ่งขึ้น เป็นจังหวะดีงามสำหรับคนที่มีที่ดินเปล่าในมือ ในการพลิกฟื้นทรัพย์สินให้งอกเงยเพื่อตัวเอง ครอบครัว และผู้อื่นได้เช่นกัน


1.ทดลองเป็นพื้นที่เกษตรด้วยตัวเอง


ด้วยการจัดเก็บภาษีที่ดินที่มีการทำเกษตรกรรมในระดับต่ำสุดเพียง 0.01% เท่านั้น สำหรับที่ดินเริ่มต้นมูลค่า 0-75 ล้านบาท ขณะที่เพดานสูงสุดไม่เกิน 1.5% แม้ว่าเรื่องเกษตรกรรมจะไกลตัวสำหรับผู้ถือครองที่ดินทั้งหลาย แต่เมื่อถึงคราวจำเป็น ก็ควรพลิกกฎหมายเป็นโอกาส ลองศึกษาการทำเกษตรจากสื่อออนไลน์หรือคอร์สอบรมต่างๆ พร้อมกับศึกษา พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวว่าควรปลูกอะไรบ้างที่ถือเป็นการประกอบเกษตรกรรม ทั้งแบบปลูกต้นไม้หรือเลี้ยงสัตว์ แล้วแบ่งเวลาลงมือทดลองผิดถูกด้วยตัวเอง

how-to-manage-land-01

2.เป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน


ถ้ามีพื้นที่ว่างเปล่ารกร้างไม่มากและอยากไม่เสียภาษีตาม พ.ร.บ.ใหม่ในอัตราที่สูง อย่างน้อยสามารถเริ่มต้นปลูกที่ง่ายจากพืชที่ปลูกกินก่อน โดยไม่จำกัดแต่พืชผักที่ต้องอาศัยการรดน้ำทุกวัน แต่เลือกพืชที่ปักดินครั้งหนึ่งสามารถเติบโตได้ในระยะยาว หรือออกดอกผลให้เรื่อยๆ แถมยังแจกจ่ายให้คนข้างบ้านและคนในชุมชน และสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืนทางอ้อมไปด้วย


3.ประโยชน์ที่ซ่อนอยู่จากแปลงร้างมาทำเกษตร


มองโลกในแง่ดีกับการลงทุนลงแรงครั้งใหม่ เพราะมีประโยชน์ซ่อนอยู่ให้กับผืนแผ่นดินของตัวเอง เพราะเท่ากับเป็นการรักษาสภาพพื้นที่ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยไม่ปล่อยให้หน้าดินแห้ง หรือให้หญ้าขึ้นรกรุงรัง เนื่องจากการทำเกษตรต้องมีการปรับปรุงดิน การบำรุงดิน และให้ความชุ่มชื้นกระจายไปโดยทางธรรมชาติจากการยึดเหนี่ยวของรากต้นไม้ ที่สำคัญยังได้ทัศนียภาพที่สวยงามกลับมาอีก

4.จับคู่เจ้าของที่ดินและนักปลูก


หาวิธีให้คนที่มีพื้นที่เปล่ามาเจอกับคนที่ต้องการทำเกษตรกรรมแต่ไม่มีที่ทางของตัวเอง เรียกว่าชื่นมื่นกันได้ทั้งสองฝ่าย เจ้าของที่ดินอาจต้องการให้ที่ดินของตัวเองเป็นแหล่งอาหาร มีความร่มรื่น แต่ไม่มีเวลาปลูกหรือมาดูแลด้วยตัวเอง แต่ทั้งนี้ ต่างฝ่ายก็ต้องทำข้อตกลงของตัวเองให้ชัดเจน เรื่องการจัดสรรผลประโยชน์ และข้อตกลงเรื่องการขยับขยายต่างๆ ตามที่กำหนด อาทิ อนุญาตเฉพาะการเกษตร ห้ามต่อเติมสิ่งปลูกสร้างนอกเหนือที่เจ้าบ้านทำ หรือต้องเป็นการทำเกษตรกรรมในแบบอินทรีย์ห้ามปนสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น


5.ฐานที่มั่นที่ยั่งยืนของครอบครัว


วิกฤตโรคภัยที่กลายพันธุ์และมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นบทสะท้อนให้เห็นแล้วว่า “อาหาร” คือสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต จะดีแค่ไหนถ้ามองว่าพื้นที่ว่างเปล่าสามารถกลายเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับครอบครัวได้ ถ้าหากต้องเสี่ยงกับวิกฤตโรคภัยหรือวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้ง ยิ่งหากมีแหล่งอาหารของตัวเองด้วยแล้ว ถือว่าปลอดภัยในระดับหนึ่ง เพราะไม่ต้องเสียเงินตรา แถมยังได้อาหารที่เชื่อใจในคุณภาพให้กับคนทั้งครอบครัว หรือถ้าอยากสร้างบ้านบนที่ดินผืนนั้นด้วย ก็สามารถยื่นขอ สินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน พร้อมเพิ่มวงเงินตกแต่งบ้าน  รับอัตราดอกเบี้ยสุดพิเศษทั้งแบบคงที่ หรือแบบลอยตัว ผ่อนสบายด้วยระยะเวลากู้นานสูงสุด 30 ปี คลิกสมัครสินเชื่อ -ที่นี่-


จะเห็นได้ว่าการมี พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ฯ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และเป็นการบั่นทอนทรัพย์สินเสมอไป หากสามารถบริหารจัดการได้ ทุกฝ่ายสามารถเริ่มต้นเรียนรู้และทำหน้าที่ของแต่ละคนชัดเจน ข้อบังคับนี้อาจนำไปสู่การสร้างรายได้ใหม่ๆ ในแบบที่ตัวเราเองคิดไม่ถึงก็ได้

ที่มา
https://www.posttoday.com/property/625215
https://www.itax.in.th/pedia/ภาษีที่ดิน
https://www.prachachat.net/finance/news-406152
https://www.thairath.co.th/news/business/1859536