6 ด่านการเงิน กว่าจะได้เป็นนักเรียนนอก ตอน 2

มาต่อกันอีก 3 ด่านการเงินสุดท้าย ที่จำเป็นต้องเตรียมเพื่อให้ความฝันการไปเรียนต่างประเทศกลายเป็นจริง

4. ค่าที่พัก (Accommodation Fee)

มาถึงค่าที่พักระหว่างการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย  3  ประการ
คือ เมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัย  ระยะเวลาที่เรียน และ ความชอบส่วนบุคคล

  • เมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เป็นปัจจัยสำคัญต่อค่าที่พักที่เราต้องจ่าย หากเราไปเลือกเรียนในเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ อย่าง ลอนดอน แมนเชสเตอร์ นิวยอร์ค ซานฟรานซิสโก ซิดนีย์ ที่ค่าครองชีพสูงค่าที่พักก็ย่อมสูงไปด้วย เมื่อเทียบกับเมืองขนาดย่อม หรือชนบท ที่ค่าครองชีพค่าที่พักจะถูกกว่ามาก ในฝั่งอังกฤษแล้ว ค่าหอพักนักเรียน หนึ่งปีในลอนดอน อาจสูงถึงกว่า 3 แสนบาท* และมหาวิทยาลัยในใจกลางกรุงลอนดอน หรือเมืองใหญ่ มักจะเป็นแบบ City Campus ที่ตึกเรียนตั้งอยู่ปะปนกับอาคารพาณิชย์ต่างๆ ถ้าหอพักตั้งอยู่ไกลจากอาคารเรียนมหาวิทยาลัย ก็จำเป็นต้องจ่ายค่าเดินทางรถขนส่งสาธารณะเพิ่มอีกกว่าปีละ 4 หมื่นบาท  ตัดภาพไปที่มหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมืองต่างจังหวัดอื่นๆ ที่ตัวอาคารเรียนกับหอพักนักเรียนอยู่ในรั้วบริเวณเดียวกัน นักเรียนจะใช้เดินหรือไม่ก็ขี่จักรยานไปเรียน ก็จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง แล้วค่าหอพักมหาวิทยาลัยอยู่ที่ประมาณปีละ 140,000 – 240,000 บาท เฉลี่ยแล้วถูกกว่าอยู่ในลอนดอน
  • ระยะเวลาที่เรียน : ยิ่งระยะเวลาที่เรียนนาน ค่าที่พักก็ยิ่งเพิ่มเข้าไป ฝั่งอังกฤษ ใครที่ต้องไปเรียนภาษา Pre-sessional Course ก่อนเปิดเทอมนานก็ต้องเพิ่มค่าที่พักตรงส่วนนี้   ฝั่งอเมริกา เรียนคอร์สปริญญาโทนาน 2 ปี ก็ต้องเตรียมค่าที่พักให้เพียงพอตลอด 2 ปี
  • ความชอบส่วนบุคคล : เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หอพักที่เป็นแบบแชร์ห้องอาบน้ำ ห้องน้ำ (Shared-Bathroom) ห้องครัว (Shared-Kitchen) กับเพื่อนร่วมแฟลตต่างชาติ 4-6 คน ก็จะราคาถูกกว่า แต่ถ้าเลือกเป็นห้องพักที่มีห้องน้ำในตัว ราคาก็จะสูงขึ้นมา ถ้าใครอยากมีครัวส่วนตัวแบบห้องสตูดิโอ ก็จ่ายเพิ่มขึ้น  ใครที่อยากได้ห้องพักกว้างใหม่ทันสมัย หรือตอบรับเข้าเรียนช้า จองหอพักของมหาวิทยาลัยไม่ทัน ก็ต้องไปอยู่หอพักเอกชน ที่ราคาก็มักสูงกว่าหอพักของมหาวิทยาลัย บางคนก็อยากไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนคนไทยด้วยกัน ก็ต้องจ่ายบิลค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแก๊ส เพิ่มเติมจากค่าเช่าบ้านด้วย


*ข้อมูลจาก https://www.timeshighereducation.com

5. ค่าทำวีซ่า

เสร็จสิ้นขั้นตอนสมัครเรียน มหาวิทยาลัยตอบรับส่งเอกสารรับเข้าเรียนมาแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการยื่นวีซ่า ตรงจุดนี้ต้องใช้เงินอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเป็นสิ่งที่สถานทูตพิจารณาว่าเรามีทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียนในประเทศเขา ไม่หลบไปทำงานไม่เป็นอันร่ำเรียน จนเกินจำนวนชั่วโมงที่กฎหมายกำหนด


สำหรับฝั่งวีซ่านักเรียนอังกฤษ ที่เรียกว่า Visa Student Route  มีค่าธรรมเนียม GBP363*  (ประมาณ 15,972 บาท) เอกสารไม่ครบ ยื่นไม่ผ่านไม่มีคืน  จะยื่นใหม่ก็ต้องจ่ายใหม่ ซึ่งจุดสำคัญที่จะทำให้วีซ่าไม่ผ่านก็คือ Bank Statement ที่กำหนดต้องมีเงินสดเป็นเงินก้อนในบัญชีออมทรัพย์ครอบคลุมค่าเรียนทั้งคอร์ส 1 ปีแรก และค่าครองชีพ โดยกำหนดจำนวนเงินสำหรับมหาวิทยาลัยในลอนดอน อยู่ที่ GBP 12,006 (ประมาณ 528,264 บาท) สำหรับมหาวิทยาลัยนอกลอนดอน อยู่ที่ละ GBP 9,207 (ประมาณ 405,108 บาท)** กรณีที่เราจ่ายเงินค่าคอร์สหรือค่าหอพักไปบางส่วนแล้ว ก็นำมาหักลบกับจำนวนเงินที่สถานทูตกำหนด  ส่วนที่เหลือก็ต้องนำฝากเข้าบัญชีของตัวเรา เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 28 วัน ก่อนจะไปออก Bank Statement และหนังสือรับรองการเงินประกอบการพิจารณาวีซ่า


ตัวอย่างเช่นนางสาวน้อยหน่า จะไปเรียนมหาวิทยาลัยในลอนดอน ค่าคอร์สปริญญาโท GBP 20,000 จ่ายมัดจำค่าคอร์สกับมหาวิทยาลัยไปแล้ว GBP2,000 ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมีสำหรับยื่นวีซ่าคือ ค่าเรียนส่วนที่เหลือ GBP 18,000 บวกค่าครองชีพ GBP 12,006  เท่ากับ GBP 30,006 คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,320,264*** บาท ซึ่งนับเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ต้องหาไว้ใส่บัญชีทิ้งไว้ถึง 28 วันเพื่อที่ให้จะผ่านวีซ่า นักเรียนไทยส่วนใหญ่จะติดกฎเหล็กวีซ่าข้อนี้ ไม่ใช่ด้วยสาเหตุที่มีทุนทรัพย์ไม่พอ แต่อาจไม่สามารถหมุนหาเงินก้อนใหญ่ทีเดียวขนาดนี้ได้ทัน ที่สำคัญการยื่นวีซ่าต้องมีช่วงเวลาแน่นอน และต้องรอผลถึง 3 สัปดาห์ ถึงจะไปเริ่มเรียนทันเปิดเทอมในปีนั้น


หากการไม่มีเงินก้อนเพียงพอใส่ในบัญชีเป็นอุปสรรคที่ทำให้ยื่นวีซ่าไม่ผ่าน ก็มีแนวทางแก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมญาติพี่น้อง หรือทั้งนี้ทั้งนั้น การกู้สินเชื่อในระบบดอกเบี้ยต่ำให้ได้เงินก้อนมาแก้ปัญญาเฉพาะหน้า ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ไม่พลาดโอกาสมุ่งสู่เส้นทางแห่งการศึกษาที่คาดหวังไว้


ในฝั่งสหรัฐอเมริกา แม้จะไม่มีระบุไว้ชัดเจน แต่ก็ควรมีเงินจำนวน  1 ล้านบาทขึ้นไปหรือครอบคลุมค่าเล่าเรียนทั้งคอร์ส


*  ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2565
**ข้อมูลจาก https://www.gov.uk/student-visa/money
*** 1 GBP เท่ากับ 44 บาทโดยประมาณ

6. ค่าตั๋วเครื่องบิน & ค่าเดินทาง

3  สัปดาห์ผ่านไปรู้ผลวีซ่าผ่านแล้ว กำหนดวันเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตนักเรียนนอก แล้วซื้อตั๋วเครื่องบินกันเลย จะเลือกเป็นตั๋วสายการบินที่บินตรง หรือแบบแวะเปลี่ยนเครื่องแล้วแต่ถนัด บางสายการบินมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียนด้วย ถ้าใครจะไปเรียนเมืองอื่นๆ ที่ไม่มีสนามบิน ก็ต้องเผื่อค่ารถโค้ช ค่ารถไฟไว้เดินทางไปเมืองมหาวิทยาลัยด้วย


หลังจากผ่านมาทุกด่าน สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมนำเงินไปจ่ายค่าเทอม ค่าหอพัก ซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันในต่างแดน แนะนำสมัครบัตร SCB PLANET ใช้จ่ายสะดวกสบายและปลอดภัยกว่าการพกเงินสดติดตัวเยอะๆ แถมยังแลกเงินเรทพิเศษเทียบเท่าร้านแลกเงิน แลกเงินง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่าน SCB EASY App แถมยังกดเงินผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศ สูงสุดเทียบเท่า 100,000 บาทต่อวัน รูดจ่ายค่าเทอม ค่าหอพัก ซื้อของใช้จำเป็น จะใช้จ่ายที่ร้านค้า ซื้อทางออนไลน์ที่รับ VISA สูงสุดเทียบเท่า 500,000 บาทต่อวัน ได้ทั่วโลก  ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดเยอะขณะเดินทาง หากบัตรหาย สามารถอายัดบัตรได้ด้วยตัวเอง ผ่าน SCB EASY App  ที่สำคัญฟรี! ค่าธรรมเนียมรายปีตลอดชีพ สนใจสมัครบัตร ก็สะดวกทำได้ทาง SCB EASY App ได้เลย ดูรายละเอียด -ที่นี่-


ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากเกรดเฉลี่ยป.ตรีที่ดีงาม ความมุ่งมั่นขยันพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแล้ว ทุนทรัพย์ก็เป็นบันไดสำคัญในการปูเส้นทางสู่การเรียนต่อต่างประเทศ บางทีโอกาสก็รอไม่ได้ อย่าให้ความขลุกขลัก ติดขัดเรื่องสภาพคล่องทางการเงินมาเป็นอุปสรรค มองหาตัวช่วยบริการสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นทางออกเพื่อคว้าปริญญามาเปิดทางความก้าวหน้าให้ชีวิต