6 เคล็ด (ไม่) ลับ ปูทางลูกสู่เส้นทางนักกีฬาอาชีพ

การเล่นกีฬาเป็นกิจกรรมที่ควรส่งเสริมคู่กับการเลี้ยงดูเด็กๆ เพราะนอกจากสุขภาพที่ดีแล้ว ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพที่ดี มีสติปัญญาแจ่มใสรับการเรียนได้เต็มที่ และได้เรียนรู้ในแบบที่ห้องเรียนไม่มีสอนด้วย แต่หากว่าเด็กๆ สนใจกีฬาและหลงใหลถึงขั้นจริงจังเป็นอาชีพ พ่อแม่หรือผู้ปกครองเองควรเริ่มเรียนรู้การปูทางนั้นเหล่านั้นแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้ความสุขและความสำเร็จของพวกเขาเหือดหายไประหว่างเส้นทางท้าทายเหล่านั้น


1. ค้นหาพรสวรรค์ อย่าลืมพรแสวง


เด็กบางคนอาจฉายแววเก่งด้านกีฬาใดกีฬาหนึ่งมาแต่เล็ก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่อาศัยใจรักล้วนๆ ขับเคลื่อน ผู้ปกครองควรใส่ใจตั้งแต่ในเรื่องพื้นฐานร่างกาย เพื่อสร้างต้นทุนการเป็นนักกีฬาที่ดี พาให้เขารู้จักเคลื่อนไหวและใช้ศักยภาพตัวเองได้เต็มที่ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ยิมนาสติก ศิลปะการป้องกันตัว ทำให้มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น โดยทำควบคู่ไปกับการฝึกกีฬาที่เด็กๆ สนใจ

raise-kid-athlete-01

2. ฝึกซ้อมสม่ำเสมอด้วยความสนุก


ก้าวแรกของการเป็นนักกีฬาที่ดีคือการมีวินัย โดยเฉพาะการฝึกซ้อมต่อเนื่อง เพราะกีฬาเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องรักษาความฟิต หมั่นเพิ่มพูนทักษะเรียนรู้ใหม่อยู่เสมอ แต่ต้องแน่ใจว่า การฝึกซ้อมนั้นเป็นไปอย่างพอดี สมดุลกับการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ไม่ทำให้หักโหมกดดันจนเคร่งเครียดเกินไป

สิ่งที่ผู้ปกครองทำได้คือ สอดแทรกความสนุก ตื่นเต้น วางเป้าหมายที่ท้าทายไว้ นอกจากนั้น เมื่อเริ่มทำสิ่งใดแล้ว ควรสอนให้เขาอดทนทำให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมที่เหนื่อยและยาก ต้องใช้เวลาเรียนรู้ แต่ไม่ควรทิ้งไว้กลางทาง เพราะเมื่อลงสู่สนามแข่ง เขาอาจไปไม่ถึงเส้นชัยก็ได้


3. ผลักดันให้ถึงชัยชนะ สอนให้ยอมรับความพ่ายแพ้


ชัยชนะทำให้มีกำลังใจในการไปต่อ แต่ความพ่ายแพ้นั้นก็บั่นทอนความฝันของได้มากเช่นกัน ผู้ปกครองของนักกีฬาตัวน้อย ควรรู้จักจังหวะเร่ง จังหวะผ่อนในการส่งเสริมพวกเขา

ก่อนการแข่งขัน ให้กำลังใจและกระตุ้นให้ใช้ศักยภาพ ความทุ่มเทจากการฝึกซ้อมและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มาใช้ให้เต็มที่ โดยกลัดเป้าหมายที่ชัยชนะ แต่ขณะเดียวกันต้องสอนให้เข้าใจธรรมชาติการแข่งขันว่า มีชนะแล้วย่อมมีแพ้ จุดสำคัญคือเปลี่ยนความผิดหวังนั้นมาเป็นบทเรียน ดูคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าว่ามีจุดเด่นอะไร และจุดด้อยของเราคืออะไร แทนที่จะเสียใจกับผลที่ผ่านมา


4. ปล่อยให้เขาเป็นผู้นำ


เกมการแข่งขันไม่ได้ชนะด้วยร่างกายเท่านั้น แต่องค์ประกอบสำคัญคือสติปัญญาและไหวพริบ ลองรับฟังความคิด ลองชี้ช่องแต่ไม่ชี้แนะ เปิดทางให้เขาเห็นการเล่นที่น่าสนใจ โดยอาจนำตัวอย่างการแข่งขันของนักกีฬาดังๆ มานั่งดูด้วยกัน สร้างกำลังใจและสอนให้เขาเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะถึงเวลาลงสนาม เขาต้องเผชิญความกดดันเหล่านั้นลำพัง ต้องตัดสินใจเฉพาะหน้าด้วยตัวเอง โดยคุณไม่อาจลงไปช่วยได้

5. ทีมเวิร์คสำคัญที่สุด


ไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภททีมหรือเดี่ยว นักกีฬาไม่สามารถเติบโตได้เพียงลำพัง แต่ต้องมีเพื่อนร่วมทีมหรือโค้ชคอยกำกับดูแล ผู้ปกครองควรสอนให้เขาเข้าใจสปิริตของการเล่นเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นคนอื่น ให้ความช่วยเหลือ จับมือพัฒนาทักษะไปด้วยกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในนักกีฬาวัยเด็กยิ่งกว่ามุ่งแต่ผลการแข่งขันอย่างเดียว เพราะเป็นขั้นบ่มเพาะให้เขาเติบโตเป็นนักกีฬาที่มีคุณค่าต่อทีมในอนาคต


6. เป็นแฟนพันธุ์แท้ที่คอยให้พลังบวก


สุดท้ายอยู่ที่คนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองเอง ควรจะเป็นแฟนคลับกลุ่มแรกของนักกีฬาตัวจิ๋ว คอยพูดให้กำลังใจด้วยถ้อยคำที่น่าฟัง ปลอบใจยามพ่ายแพ้ ไม่บั่นทอนให้เขารู้สึกต่ำต้อยหรือท้อถอย เพราะกำลังใจที่ดี จะกลายเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้เขา “มีความรัก” ในกีฬาที่เล่น และนี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เด็กๆ ยืนระยะในเส้นทางนักกีฬาอาชีพที่ต้องพบเจออุปสรรคมากมายในอนาคต

หนึ่งในความท้าทายของการมุ่งหน้าสู่เส้นทางนักกีฬาอาชีพคือทุนทรัพย์จำนวนไม่น้อยสำหรับใช้จ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวลูก เช่น จ้างโค้ชอาชีพในการฝึกซ้อม การเดินทางไปแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ทั้งในต่างประเทศ ฯลฯ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือ สินเชื่อเพื่อการศึกษา ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกในสถานการณ์ที่อาจติดขัดเรื่องการเงิน สนใจ คลิกสมัครขอสินเชื่อทางแอป SCB Easy ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน


สิ่งสำคัญคือ อย่าลืมให้เขานำสปิริตนักกีฬามาใช้ในชีวิตจริง รู้จักแข่งขันถูกกติกา ยอมรับและพร้อมลุกขึ้นมาใหม่เมื่อผิดพลาดล้มเหลว ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในอาชีพไหน ทักษะเหล่านี้จะส่งให้เขาชนะในทุกสนามของชีวิตได้แน่นอน


ที่มา
https://www.parents.com/fun/sports/how-to-raise-a-sporty-kid/
https://www.superhealthykids.com/kid-fitness/how-to-raise-an-athlete/
https://howdoesshe.com/raise-a-professional-athlete/