5 ความเข้าใจผิด เรื่องการติดโซลาร์เซลล์

ท่ามกลางภาวะราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าไฟฟ้าที่เตรียมจะปรับขึ้นเป็น 5 บาทต่อหน่วยในช่วงปลายปี 2565 นี้ ทำให้พลังงานทางเลือกอย่างพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ เซลล์ เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การลงทุนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว แต่หลายคนก็ยังไม่แน่ใจว่าข้อมูลโซลาร์เซลล์ที่เคยเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่? มาดู 5 ประเด็นที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับแผงโซลาร์ เซลล์ แล้วข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไรเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจที่มาใช้พลังงานโซลาร์ เซลล์


ความเข้าใจผิดที่ 1 : แผงโซลาร์เซลล์ ทำให้มูลค่าบ้านลดลง


จากผลการศึกษาในสหรัฐชี้ว่าคนที่จะซื้อบ้าน เต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อบ้านที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในราคาสูงกว่าบ้านธรรมดาถึง 15,000 เหรียญสหรัฐ สิ่งนี้ทำให้เจ้าของบ้านที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตั้งราคาบ้านได้สูงกว่าราคาตลาด อย่างไรก็ตาม คุณภาพของระบบโซลาร์ เซลล์ที่เลือกใช้ รวมถึงขนาดแผงของโซลาร์ เซลล์ ก็ส่งผลต่อราคาบ้านเช่นเดียวกัน และคนที่จะมาซื้อบ้านก็ควรเป็นคนที่สนใจที่จะใช้ระบบโซลาร์ เซลล์ ที่เป็นการพึ่งตนเอง และช่วยประหยัดราคาพลังงานในระยะยาว

5-misunderstanding-about-solar-cell-01

ความเข้าใจผิดที่ 2 : การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีขั้นตอนยุ่งยาก


ในมุมมองของคนทั่วไปที่อาจไม่คุ้นชินเรื่องงานวิศวกรรม ก็มักจะคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่งานทั้งหมดนี้เราไม่ได้ลงมือทำเองอยู่แล้ว เพียงเลือกใช้บริษัทที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและทันสมัย  มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมมีบริการ One Stop Service ที่เพิ่มความสะดวกทั้งการติดตั้ง และการทำเอกสารขออนุญาตกับการไฟฟ้า ซึ่งช่วยประหยัดเวลาให้เราได้อย่างมาก ทำให้การติดตั้งระบบและแผงโซลาร์เซลล์ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป


ความเข้าใจผิดที่ 3 : แผงโซลาร์เซลล์ดูแลรักษายาก


การดูแลให้แผงโซลาร์เซลล์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งานไม่ใช่เรื่องยาก เพราะตัวแผงโซลาร์เซลล์ถูกออกแบบมาให้มีความคงทนต่อทุกสภาวะอากาศ ไม่ว่าจะเป็นพายุ หรือลูกเห็บ การดูแลก็ใช้เพียงฟองน้ำชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดปีละครั้งหรือสองครั้ง แต่ปกติแล้วเราไม่ต้องทำเอง เพราะบริษัทจัดจำหน่ายติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ จะรวมบริการหลังการขาย เพื่อดูแลอุปกรณ์และประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้เราอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งานอยู่ในแพคเกจตั้งแต่แรก การดูแลรักษาจึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลแต่อย่างใด


ความเข้าใจผิดที่ 4 : การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ยุ่งยาก


สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้า สามารถยื่นเรื่องขอขนาดไฟฟ้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar Roof เพื่อเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบออนไลน์ได้เลย โดยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแจ้งกับการไฟฟ้านครหลวง(MEA) https://spv.mea.or.th/ และนอกเหนือจากนั้นแจ้งต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) https://ppim.pea.co.th/

ในการติดตั้งนี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนกลับ (ดูรายชื่ออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845 ) และจะต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการของการไฟฟ้าฯ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานและของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ที่เข้ามาปฏิบัติงาน รวมไปถึงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าทั้งระบบ

อย่างไรก็ดี   บริษัทที่จำหน่ายและติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ จะมีบริการยื่นเรื่องขออนุญาตกับการไฟฟ้ารวมอยู่ในแพกเกจอยู่แล้ว เราเพียงแค่จัดเตรียมเอกสารอย่างเดียว แล้วให้ทางบริษัทไปดำเนินการให้ตลอดทั้งกระบวนการ

ความเข้าใจผิดที่  5 : ระบบโซลาร์เซลล์แพงเกินไป


ถ้าเป็นเมื่อประมาณ 10 ปีก่อนก็อาจเป็นเช่นนั้น แต่มาในวันนี้ที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น และทุกเทรนด์ในโลกมุ่งสู่เรื่องของพลังงานสะอาด มีการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนให้คนหมู่มากได้เข้าถึงเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยมีราคาที่จับต้องได้เพื่อผู้คนจะได้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันระบบโซลาร์เซลล์จึงมีราคาไม่สูงจนเกินไป เริ่มต้นที่หลัก 1xx,xxx บาท เหมาะสมกับที่อยู่อาศัยที่มีใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เช่น โฮมออฟฟิศ บ้านที่มีการใช้ไฟระหว่างวันมาก เช่น บ้านที่ Work form Home หรือบ้านที่มีผู้สูงอายุ บ้านที่ใช้รถยนต์ EV เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยประหยัดค่าไฟต่อเดือนสูงสุด 60% (คลิกดู บ้านแบบไหนเหมาะใช้โซลาร์เซลล์ )


ที่มา : https://energieadvisor.org/solar-energy-myths/
          https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/home-car/installing-solar-rooftop-requires-permission.html