ประวัติศาสตร์ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสมัยใหม่

ประเทศไทยเริ่มมีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหรือที่เรียกว่า BTS (Bangkok (Mass) Transit System Skytrain) ในปี 2542 (1999) หรือ 21 ปีที่แล้ว และเริ่มเปิดให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินหรือ MRT (Mass Rapid Transit) ใน 5 ปีต่อมา แต่รู้หรือไม่ว่าระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบแรกของโลกจริงๆ แล้วเกิดขึ้นมาเมื่อกว่า 157 ปีมาแล้ว!


ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า Rapid Transit  หรือ Mass Rapid Transit มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น Heavy Rail, Metro, Subway, Tube, Underground, U-Bahn, Monorail แต่ทั้งหมดหมายถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูง เดินทางได้รวดเร็ว รองรับผู้ใช้บริการได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งวิ่งบนทางเฉพาะไม่ว่าจะเป็นบนดิน (Elevated Rail) หรือใต้ดิน (Underground) ที่ยานพาหนะอื่นๆ ไม่สามารถใช้ร่วมได้ ซึ่งปกติจะให้บริการในเมืองใหญ่ที่มีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่น (Urban Area)


รถไฟฟ้า Rapid Transit สายแรกๆ ของโลก

ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ทันสมัยสายแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อปี 1863 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นระบบรถไฟใต้ดินรถไฟวิ่งวนเป็นวงกลมในใจกลางลอนดอนเสร็จสมบูรณ์ในปี 1884  ต่อจากนั้นขยายไปด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในปี 1904 ซึ่งปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบรถไฟใต้ดินของลอนดอน มีชื่อเรียกว่า London Underground หรือที่นิยมเรียกกันว่า Tube  ในปี 1893

รถไฟลอยฟ้าสายเดียวของอังกฤษเกิดขึ้นที่เมืองลิเวอร์พูล มีชื่อเรียกว่า Liverpool Overhead Railway เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบ Rapid Transit สายที่ 4 ของโลกและเป็นรถไฟลอยฟ้าสายแรกของโลก  แต่การพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเกิดขึ้นเมื่อปี 1897 เมื่อนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน Frank J.Sprague ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบ Multiple – unit train control(MUTC) ที่ทำให้สามารถควบคุมมอเตอร์ทั้งหมดที่จุดเดียว ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้า Chicago ‘L’ ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา


ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในยุโรป

ฮังการี เปิดรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกในยุโรป (ไม่นับรวมอังกฤษ) ที่บูดาเปสต์ในปี 1896 ชื่อ M1 ความยาว 3.7 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Budapest Metro

ฝรั่งเศส Paris Metro สายแรกเปิดให้บริการในปี 1900

transit2

เยอรมัน U-Bahn เปิดให้บริการในปี 1902 โดยเส้นทางส่วนใหญ่เป็นแบบบนดิน และเปิดสายที่สอง Hamburg U-Bahn ในปี 1904

กรีซ ปรับเปลี่ยน Athens-Piraeus Electric Railway จากระบบหัวจักรไอน้ำมาเป็นระบบไฟฟ้าในปี 1904 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง Athens Metro ในปัจจุบัน

สก็อตแลนด์ มีรถไฟฟ้าใต้ดิน   Glasgow Subway ในปี 1935 ระยะทาง 10.4 กิโลเมตร

ออสเตรีย Vienna Metropolitan Railway ปรับเปลี่ยนระบบรถไฟไอน้ำมาเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินในปี 1978


ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอเมริกาเหนือ

สหรัฐอเมริกา

นิวยอร์ก สร้างระบบรถไฟฟ้าสายแรกในปี 1868 ชื่อ West Side and Yonkers Patent Railway หลังจากนั้นในปี 1904 เปิดใช้งาน New York City Subway ส่วนแรก โดยเริ่มต้นที่ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร ซึ่งต่อมากลายเป็นหนึ่งของระบบรถไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 1908 สร้างอุโมงค์เพื่อการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างแมนฮัตตันและนิวเจอร์ซี่ย์

โดยชิคาโกมีระบบรถไฟฟ้าลอยฟ้าสายแรกคือ Chicago L ซึ่งเป็นรถไฟบนดินเปิดบริการในปี 1892 ส่วนในเมืองหลวงอย่างวอชิงตัน ดีซี เปิดให้บริการในปี 1976

ข้ามมาฝั่งตะวันตก ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของซานฟรานซิสโก Bay Area Rapid Transit (BART) เปิดให้บริการในปี 1972

แคนาดา

โตรอนโต เปิดให้บริการรถไฟใต้ดินในปี 1954 โดยเป็นรถไฟที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นขบวนแรก ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา หลังจากนั้นเปิดสายที่สองที่มอนทรีออล ในปี 1966


ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอเมริกาใต้

รถไฟฟ้าใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกาใต้คือ Southern Hemisphere ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาเจนติน่า โดยเปิดให้บริการในปี 1913 เป็นรถไฟใต้ดิน ซึ่งถูกใช้งานนานถึง 100 ปี โดยมีการเปลี่ยนตัวรถไฟใหม่ในปี 2013

บราซิล รถไฟใต้ดินสายแรกเกิดขึ้นในปี 1974 ที่เมืองเซาเปาโล ซึ่งให้บริการผู้คนมากกว่า 4 ล้านคนในหนึ่งสัปดาห์

นอกจานั้นชิลีและโคลัมเบียก็มีระบบรถไฟฟ้าเช่นเดียวกัน


ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในแอฟริกา

กรุงโคโร ประเทศอียิปต์เป็นที่แรกในแอฟริกาที่มีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยเปิดให้บริการในปี 1987 โดยปรับปรุงจากระบบรถไฟแบบเดิมเป็นหลัก โดยปัจจุบันการปรับปรุงก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ส่วนสายที่สองของแอฟริกาอยู่ที่เมือง Algiers ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศแอลจีเรีย ซึ่งเปิดให้บริการในปี 2011


ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเอเชีย

ญี่ปุ่น กรุงโตเกียวเป็นเมืองแรกในเอเชียที่มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยเปิดให้บริการในปี 1927 และตามมาด้วยโอซากาในปี 1933 หลังจากนั้นก็เริ่มเปิดให้บริการตามเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น โยโกฮามา ซัปโปโร โกเบ เกียวโต ฟุกุโอกะ นาโกยา เป็นต้น

จีน เริ่มพัฒนาระบบรถไฟใต้ดินที่ปักกิ่งในปี 1969และทดลองเรื่อยมาจนถึงปี 1981 หลังจากนั้นเมืองใหญ่ๆ ก็ทยอยมีระบบรถไฟใต้ดิน เช่น เทียนจิน (1984) เซี่ยงไฮ้ (1993) กวางโจว (1997) อู่ฮั่น (2004) ในศตวรรษที่ 21 ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่มีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก รวมทั้งในแง่ของเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นๆ

อินเดีย ระบบรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียอยู่ที่เมืองโกลกาตา เริ่มก่อสร้างในปี 1984 หลังจากนั้นเป็นรถไฟฟ้าบนดิน ( elevated rapid transit system )ในหลายๆ เมือง เช่น เชนไน เดลี มุมไบ

ฮ่องกง ระบบรถไฟใต้ดิน Hong Kong's subway line หรือ MTR เปิดให้บริการในปี 1979 โดยเริ่มต้นมี 10 สาย รวมทั้งสายที่วิ่งใต้อ่าววิคตอเรียด้วย ในปี 1982 รถไฟอีกสาย The British Section of the Kowloon-Canton Railway เปิดให้บริการ ในปี 2007 สามารถรวมทั้งสองสายเป็นระบบเดียวกันได้สำเร็จ

เกาหลีใต้ เริ่มพัฒนาระบบรถไฟใต้ดินในปี 1974 โดยสายแรกทำโดยพัฒนาระบบรถไฟแบบเดิม สายที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงโซลมีระยะทาง 314 กิโลเมตร ครอบคลุม 12 สาย หลังจากนั้นเมืองใหญ่อื่นๆ ก็ทยอยมีระบบรถไฟใต้ดินเช่น ปูซาน อินชอน แดกู  เดจอน และกวางจู

ไต้หวัน เปิดใช้ระบบรถไฟใต้ดินในปี 1996 ที่ไทเป และเปิดสายที่สองที่เมืองเกาสยงในปี 2008

ฟิลิปปินส์ ระบบรถไฟฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ที่เมืองมะนิลา เปิดให้บริการในปี 1984 โดยเป็นระบบเบา ต่อมาได้พัฒนาเป็นแบบ Medium capacity system

สิงคโปร์ เปิดให้บริการระบบรถไฟใต้ดินในปี 1987 และเป็นระบบ Heavy rail ที่แรกของโลก โดยมีประตูกระจกกั้นบริเวณชานชาลาเป็นที่แรก โดยในระบบมีทั้งหมด 5 สาย โดยวางแผนจะเพิ่มอีกสามสายคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2030

มาเลเซีย ระบบรถไฟในกัวลาลัมเปอร์เป็นแบบระบบเบา เปิดให้บริการในปี 1996 มีสองสาย หลังจากนั้นในปี 1998 เพิ่มอีก 1 สาย และทยอยเปิดสายอื่นๆ เพิ่มอีก ไล่ไปตั้งแต่ปี 2016, 2017 และมีอีกสองสายกำลังก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2021 และ 2022 โดยเป็นระบบรถไฟใต้ดินที่มีประตูปิดเปิดบริเวณชานชาลาเช่นกัน

อินโดนีเซีย ระบบรถไฟใต้ดินในจาการ์ต้า เปิดให้บริการในปี 2019 และเฟสที่สองจะแล้วเสร็จในปี 2024


ที่เล่ามาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการการใช้ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งใต้ดินและบนดิน ซึ่งมียุโรปและอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม ระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าทำให้การเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็วขึ้นและมีส่วนช่วยในการลดมลพิษในอากาศ ถือว่าเป็นโชคดีที่ประเทศไทยเราก็มีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีการขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองดีขึ้นมาก เป็นตัวเลือกในการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างมากในกรุงเทพ หวังว่าเมื่อส่วนต่อขยายต่างๆ และโครงข่ายรถไฟฟ้าเข้าถึงทุกพื้นที่จะทำให้คนหันมาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ แทนการขับรถยนต์ซึ่งจะช่วยทั้งปัญหาการจราจรและมลพิษในท้องถนนลงได้อย่างมาก


อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_rapid_transit

https://en.wikipedia.org/wiki/Rapid_transit