เตือนภัย! เช็คให้ชัวร์สลิปจริงหรือปลอม

ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ทำธุรกรรมการเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เมื่อลูกค้าตกลงใจซื้อสินค้า มักจะส่งสลิปโอนเงินเข้ามาช่องทางการติดต่อแบบแบบรัวๆ ซึ่งทำให้ในบางครั้งอาจละเลย ไม่ได้ตรวจสอบสลิปโอนเงินให้ถี่ถ้วน จนอาจเจอดีถูกมิจฉาชีพส่งสลิปปลอมมาได้ เพราะทุกวันนี้ มีวิธีการปลอมแปลงสลิปโอนเงินให้ดูเหมือนกับของจริงมากๆ  ถ้าหากไม่ลองสังเกตดูดี ๆ อาจตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย ดังนั้น เมื่อคนส่งสลิปโอนเงินมาให้ ต้องรู้และดูออกว่าสลิปนั้นเป็นของจริงหรือปลอม มีคำแนะในการตรวจสอบและวิธีในการสังเกต ดังนี้

info-slip

วิธีที่  1  ตรวจใน SCB EASY App

    > เข้า SCB EASY App

    > สแกนบิล/QR ชำระเงิน

    > เลือกสลิปโอนเงินที่ต้องการตรวจสอบ


วิธีที่  2  บริการแจ้งเตือนผ่าน SCB Connect เพียงแค่ add LINE SCB Connect เงินเข้า เงินออก ก็รู้ได้ทันที

   > เปิดแอปพลิเคชัน LINE บนสมาร์ทโฟน ค้นหา “@SCB Connect” ใน Friend Search และทำการ “เพิ่มเพื่อน” 

   > กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง ซึ่งข้อมูลนี้ธนาคารจะใช้ตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นลูกค้าธนาคารหรือไม่

   > ยืนยันตัวตนโดยใส่เบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้กับธนาคาร จากนั้นธนาคารจะส่งรหัส OTP เพื่อให้ลูกค้ายืนยันตัวตนอีกครั้ง

   > เลือกบัญชีที่ต้องการเพื่อรับการแจ้งเตือนทุกความเคลื่อนไหว ฟรี!

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการใช้บริการแจ้งเตือนผ่าน LINE SCB Connect ได้ที่

https://www.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-connect/alert-via-line.html#wrappercomp_1815028921

 

วิธีที่  3  ตรวจสอบรายการโอนทางเว็บไซต์ https://checkslip.scb.co.th

    > กรอกรายละเอียด รหัสอ้างอิง, บัญชีต้นทาง, จำนวนเงิน, รหัสรูปภาพที่ปรากฎ

นอกจากนี้ ทางตำรวจยังมีคำแนะนำในตรวจสอบสลิปโอนเงิน ดังนี้

  • ให้ลองสังเกตตัวอักษรและตัวเลขในสลิป  โดยเฉพาะชื่อผู้โอน จำนวนเงินที่โอน วัน-เวลาที่โอน หากเป็นของปลอม ตัวอักษรหรือตัวเลขอาจจะใช้ฟ้อนท์คนละแบบ หรือให้สังเกตความหนาบางของตัวอักษรและตัวเลข ถ้าหากไม่เท่ากัน ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นสลิปปลอม  

  • ทดสอบ e- Slip ด้วยการสแกน QR CODE เพื่อเช็คชื่อผู้โอน ยอดเงิน วัน-เวลาที่โอน  หากชื่อหรือยอดโอนเงินวัน-เวลา ไม่ตรงกัน หรือ ถ้าสแกน QR CODE แล้วตรวจสอบไม่ได้ ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นสลิปปลอม     


สิ่งที่พึงระวังคือ ห้ามโพสต์รูปภาพสลิปลงในโซเซียลมีเดีย เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำภาพไปตัดต่อ และใช้หลอกลวงผู้อื่นได้


จะเห็นได้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ แม้จะมีข้อดีอยู่มากโดยเฉพาะในเรื่องความสะดวกสบาย แต่ผู้ใช้งานก็ต้องระมัดระวังให้เป็นพิเศษ เพราะความสะดวกสบาย อาจทำให้เราไม่ทันได้คิดทบทวนจนหลงกลายเป็นเหยื่อให้กับมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว  ที่สำคัญมิจฉาชีพยังมีกลโกงอีกมากที่พร้อมจะหลอกล่อเหยื่อให้ตายใจ การติดตามข่าวสารของธนาคารหรือหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้รู้วิธีการป้องกันและกลโกงต่าง ๆ จนไม่หลงตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ และสามารถทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์ได้สบายใจอีกด้วย