สแกนตัวเองว่าเป็นคนแบบไหนไม่ให้หมดไฟทำงาน

ภาวะหมดไฟทำงานหรือ Burnout Syndrome สามารถเกิดขึ้นกับได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่ผู้ทำงานมาก่อนหรือเพิ่งเริ่มต้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมและบริบทการทำงานปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนจากเมื่อก่อนมาก ลองมาส่องสไตล์การทำงานตัวเองกันหน่อยว่าเป็นคนแบบไหนกัน เพื่อที่จะได้หาวิธีการจัดการให้ตัวเองไม่หมดไฟทำงานได้ง่ายๆ


1. ภาวะหมดไฟไม่ใช่โรคซึมเศร้า


องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่ใช่โรคซึมเศร้า ถ้าแปลกันง่ายๆ เป็นอาการคล้ายๆ จะหมดใจกับสิ่งหนึ่งจนส่งผลกระทบต่อตัวเองอยู่ 3 ด้านคือ “อารมณ์” ที่อาจเกิดอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด หดหู่ โมโหร้ายขึ้นมาได้ “ความคิด” ที่อาจรู้สึกระแวงและมองคนอื่นในแง่ลบ จนไม่เชื่อในศักยภาพของตัวเอง และ “พฤติกรรม” ที่ไม่อยากไปทำงานเพราะไม่มีความสุข หรือไปสาย ไม่มีสมาธิเวลาทำงาน จนกระทั่งไปถึงขั้นไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ และบางครั้งอาจมีผลไม่อยากปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว


2. เช็ก 3 อาการด่วนเพราะขั้นภาวะหมดไฟแล้ว


เพราะจากภาวะที่เกิดขึ้นทางจิตใจจนกระทบยังร่างกาย 1.รู้สึกอ่อนเพลียหรือรู้สึกสูญเสียพลังงาน ส่งผลต่อร่างกายเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ 2.รู้สึกต่อต้านและมองงานของตัวเองในแง่ลบเหมือนขาดแรงจูงใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ หากอาการรุนแรงจะนำไปสู่โรคนอนไม่หลับหรือฝันร้าย 3.รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น ทั้งเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด

burnout-syndrome-banner

3.สกัดกั้นภาวะหมดไฟตามบุคลิก


- Direct Communicators มีภาวะเป็นผู้นำ เป็นคนมีความมุ่งมั่นแบบแผนชัดเจน ทุ่มกับงาน ชนิดที่ยอมให้อีเมล์ขึ้นข้อความที่ยังไม่ได้อ่านไม่ได้เด็ดขาด วิธีเลี่ยงภาวะหมดไฟด้วยการต้องหากเวลาพัก รักษาความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตตัวเองบ้าง หรือเบรกอารมณ์ด้วยการหาเรื่องชวนหัว สนุกเฮฮากับคนในในทีมเดียวกันบ้าง


- Reflective Communicators ชอบช่วยเหลือแทบไม่เกี่ยง เลี่ยงความขัดแย้ง ไม่ค่อยออกความคิดเห็น ซึ่งอาจกลายเป็นปมปัญหาอื่นตามมาเพราะเกิดการสื่อสารคลาดเคลื่อนได้ เพื่อไม่ให้รู้สึกหมดไฟก็ต้องรู้จักปฏิเสธคนอื่น กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการพูด เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในทีมมากขึ้น


- Outgoing Communicators อัธยาศัยดี เข้ากับคนอื่นง่าย ชอบทำงานเป็นทีม คนกลุ่มนี้จะเกิดภาวะหมดไฟมากในช่วงโควิด-19 เพราะต้องทำงานที่บ้าน ไม่ได้ออกไปพบปะผู้คนเหมือนแต่ก่อน สกัดกั้นตัวเองก่อนหมดไฟด้วยการบริหารจัดการเวลาจดจ่อกับงานกับแบ่งเวลาพักให้ดี


- Reserved Communicators พูดน้อย รักสงบ ไม่ชอบเป็นจุดสนใจ การทำงานที่บ้านน่าจะถูกจริตคนกลุ่มนี้มากที่สุด แต่เวลาประชุมออนไลน์มักปิดกล้อง ไม่ค่อยโต้ตอบซึ่งอาจทำให้เกิดการสื่อสารผิดพลาดได้ แต่ถ้าไม่อยากให้ตัวเองหมดไฟ ลองใช้โปรแกรมแชตโต้ตอบระหว่างประชุมมากขึ้นหรือเปิดกล้องสนทนาในบางโอกาส เพื่อสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานให้ดีขึ้น

- Predictable Communicators ใจเย็น สุขุมรอบคอบ ทำงานเป็นระบบ ยึดกฎระเบียบ ให้ความร่วมมือดีและเป็นที่ปรึกษาให้ผู้อื่น แต่ความไม่ชอบยืดหยุ่นอาจทำให้กดดันการทำงานเกินไป ควรผ่อนคลายความกังวลในเรื่องต่างๆ บ้าง และแชร์ความคิดเห็นกับผู้อื่นมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม


- Dynamic Communicators ร่าเริง กระตือรือร้นตลอดเวลา เวลาทำงานยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ แต่ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ควรตระหนักเสมอว่าแนวโน้มการทำงานในอนาคตเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้น ต้องค้นหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ตัวเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และมีสมาธิมากขึ้น


- Compliant Communicators ช่างสังเกต วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวินัย ทำงานตามขั้นตอนและแบบแผนที่วางไว้ มุ่งมั่นตั้งใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง ผลลัพธ์ต้องดี ความเสี่ยงคือชอบทำงานทั้งวันแบบไม่มีหยุด กลัวทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่วางไว้ ควรกำหนดตารางในวันทำงานใหม่ แบ่งเวลาพัก และไม่ผิดที่จะปฏิเสธเสียงขอความช่วยเหลือบ้าง


- Pioneering Communicators รักอิสระ ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ชอบความท้าทาย ชอบทำโปรเจคใหม่ๆ หรือขั้นตอนใหม่โดยเร็ว จนเกิดความเหนื่อยล้า เครียด และกดดัน จนจำนวนงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ต้องรู้จักอดทนต่อสิ่งต่างๆ และจัดตารางงานแต่ละวันให้ชัดเจน


พอรู้สไตล์การทำงานแบบไหน ลองเช็กตัวเองว่าเริ่มรู้สึกเบื่อกับงานเพียงชั่วคราวกับวิธีการสกัดกั้นนี้ดู บางทีก็น่าจะช่วยตัดไฟแต่ต้นลมจนไม่มีผลต่อร่างกาย จิตใจ และคนรอบข้างได้

ที่มา
https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2270
https://www.facebook.com/missiontothemoonofficial/photos/pcb.1669471566590747/1669466533257917/
https://thestandard.co/burnout-syndrom/