เวียดนามเปิดเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าไปยุโรป

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการขนส่งสินค้าข้ามประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเป็นไวรัลที่ได้รับการพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างในแง่มุมเชิงเศรษฐกิจ และในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ได้พูดถึงประเด็นรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นวงกว้าง ที่เป็นเมกะโปรเจคของจีนมีความคาดหวังในการเชื่อมจีนเชื่อมโลก สำหรับเส้นทางรถไฟลาว-จีนนั้นมีเส้นทางเชื่อมระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์ แห่ง สปป.ลาว กับนครคุนหมิง ของประเทศจีน ทางด้านสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามก็มีการขนส่งสินค้าข้ามประเทศไปยังยุโรปเช่นกัน

เหตุจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่ระบาดหนักในเวียดนาม ส่งผลให้เกิดการล็อกดาวน์เมืองสำคัญ เช่น โฮจิมินห์ ฮานอย ดานัง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเมืองที่ตั้งของโรงงานผลิตสินค้าแบรนด์ดังจากทั่วทุกมุมโลก การล็อคดาวน์ทำให้กระบวนการผลิตล่าช้า รวมถึงเกิดข้อจำกัดทางด้านการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตขาดแคลน และการขนส่งสินค้าไปยังตลาดโลกด้วยรถบรรทุกและเรือ เกิดความแออัดทางการจราจรและใช้เวลานานในการตรวจสอบสินค้าเพื่อผ่านแดน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา เวียดนามโดยบริษัท Rail Transport and Trade Joint Stock Company (Ratraco) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟเวียดนาม ร่วมกับบริษัทขนส่งจากประเทศอื่นๆ จึงทดลองขนส่งสินค้าทางรถไฟเที่ยวแรกไปยังประเทศเบลเยียม จากสถานีรถไฟเยนเวียน กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ไปยังเมือง Liege ประเทศเบลเยียมจากนั้นตู้คอนเทนเนอร์จะถูกขนส่งไปยังเมือง Rotterdem ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยรถบรรทุก สำหรับสินค้าลอตแรกเป็นประเภทสิ่งทอ รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เมื่อการขนส่งสินค้าไปยังยุโรปเที่ยวแรกผ่านไปด้วยดี สามารถประหยัดระยะเวลาได้เกือบเท่าตัว ซึ่งในการขนส่งทางเรือใช้เวลา 40-45 วัน แต่เมื่อเดินทางด้วยรถไฟจะลดเวลาเหลือเพียงแค่ 25-27 วันเท่านั้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานและตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือได้อีกด้วย ปัจจุบันการรถไฟเวียดนามเดินหน้าขยายให้บริการขนส่งสินค้าจากเวียดนามไปยังประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากการรถไฟจีนที่ให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณและตู้คอนเทนเนอร์เปล่า สามารถให้บริการขนส่งสินค้าข้ามประเทศไปยังจีน ยุโรป รัสเซีย เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ถึง


ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อจำกัดในการให้บริการของเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของเวียดนามก็คือคลังเก็บสินค้าที่สัปดาห์ละ 2 เที่ยวมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเส้นทางรถไฟฟ้าลาว-จีน แต่ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว และเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบรางกำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการขนส่งของภูมิภาค และกำลังจะเชื่อมโลกในอนาคตอันใกล้นี้

ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโฮจิมินท์ซิตี้ เวียดนาม https://www.scb.co.th/vn/corporate-banking.html

 

แหล่งอ้างอิง

1. DITP. “เวียดนามเปิดให้บริการรถไฟขนส่งสินค้าเส้นทางเวียดนาม – เบลเยี่ยม”. https://www.ditp.go.th/contents_attach/750773/750773.pdf (ค้นหาเมื่อ 12/4/65)

2.TNN Online. “สปป.ลาวเจอคู่แข่ง “เวียดนาม” รับขนสินค้าไปยุโรปผ่านจีน”. https://www.youtube.com/watch?v=iYoF63cX9hQ (ค้นหาเมื่อ 12/4/65)

3. DITP. “การขนส่งสินค้าไทยผ่านด่านรถไฟสากลด่งดัง (Dong Dang) จังหวัดหล่างเซิน (Lang Son) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม”. https://www.ditp.go.th/contents_attach/613802/613802.pdf (ค้นหาเมื่อ 12/4/65)

4. TNN Online. “เวียดนาม-กัมพูชา มุ่งใช้รถไฟส่งไกลจีน-ยุโรป”. https://www.youtube.com/watch?v=PlAT8ek9prc (ค้นหาเมื่อ 12/4/65)