Tokenization Step by Step สร้างโอกาสเชื่อมธุรกิจสู่โลกสินทรัพย์ดิจิทัล

การก้าวพาองค์กรธุรกิจเข้าสู่โลกสินทรัพย์ดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ในการเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจ ด้วยการทำ Tokenization  กำลังได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างโอกาสและต่อยอดธุรกิจให้ก้าวต่อไปไกลได้กว่าเดิม ดังนั้น ลองมาดูกันว่าการทำ Tokenization ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีขั้นตอนในการออก Token เพื่อสนับสนุนธุรกิจอย่างไร

tokenization-step-by-step-01

กำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจในการทำ Tokenization ให้ชัดเจน (Business Objective)


เพื่อการออก Token ให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยวัตถุประสงค์หลักในการทำ Tokenization แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ การระดมทุน (Fundraising), การสร้างความผูกพันกับลูกค้า (Customer Engagement), การพัฒนาธุรกิจใหม่ขององค์กร (New Business) และการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ (Optimization & Automation)


1. การระดมทุน
(Fundraising) การทำ Tokenization ถือเป็นการระดมทุนในรูปแบบใหม่ และให้สิทธิการร่วมลงทุนกับนักลงทุนหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ และให้ผลตอบแทนตามเงื่อนที่บริษัทกำหนดไว้ในเอกสาร Whitepaper สำหรับการสร้าง Investment Token นั้นมีจุดเด่นคือ เพิ่มความสะดวกในการซื้อขาย โอนสิทธิ์ ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก  ประหยัดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลามากกว่าการระดมทุนแบบเดิมๆ


2. การสร้างความผูกพันกับลูกค้า
(Customer Engagement) การทำ Tokenization สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ Marketing Platform ได้ โดยนำมาใช้เป็นสื่อกลางเพื่อสร้างความผูกพันกับกลุ่มลูกค้า (Customer Engagement)  ในรูปแบบของการทำ Loyalty Program, E-Voucher, Voting เป็นต้น โดย Utility Token หรือ NFT นั้นสามารถออกแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในโลกดิจิทัล และช่วยให้การสื่อสารระหว่างแบรนด์และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ลูกค้าเห็นถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ทันสมัยสามารถนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ให้กับเหมาะสมกับธุรกิจได้อีกด้วย


3. การพัฒนาธุรกิจใหม่ขององค์กร
(New Business) เช่นการนำ Token มาใช้แบบ X-To-Earn เป็นตัวกลางในการเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจ และช่วยต่อยอดพร้อมแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในโลกอนาคตได้ นอกจากนี้ ยังมีเทรนด์ที่น่าสนใจ คือ CeDeFi ระบบการเงินที่ผสมผสานรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ไร้ตัวกลาง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดธุรกิจใหม่ผ่าน Blockchain ได้หลากหลายรูปแบบ แต่ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงมาตรฐานความน่าเชื่อถือของระบบ การจัดการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ และการนำมาใช้งานได้อย่างยั่งยืนด้วย


4. การเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ
(Optimization & Automation) เนื่องจากการทำ Tokenization นั้นอยู่ในระบบ Blockchain โดยมี Smart Contract เป็นตัวกำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า ไม่ต้องมีตัวกลางแบบดั้งเดิม และได้รับความเชื่อถือเรื่องความถูกต้อง ซึ่งจุดเด่นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของธุรกิจ รวมถึงสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและนักลงทุนได้

4  เสต็ปสำคัญสำหรับการทำ Tokenization


1. กำหนดโครงสร้าง Token (Structuring)
ในการทำ Tokenization ขั้นตอนแรก คือ การออกแบบ Token เพื่อให้สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่ตั้งไว้ สำหรับการออก Token เพื่อการระดมทุนนั้น สามารถออกแบบให้ใช้เป็นเครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หรือเครื่องมือสำหรับทำการตลาด (Marketing Tools) ก็ได้ โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไข เช่น สิทธิการรับเงินปันผล หรือสิทธิจากส่วนแบ่งรายได้ ผลกำไรจากการลงทุนในโครงการ โดยสามารถพ่วงสินค้าหรือบริการเข้ามาเป็นหนึ่งในผลตอบแทนได้  ซึ่งวิธีนี้จะช่วยดึงดูดนักลงทุนมาเป็นลูกค้าขององค์กร และเป็นการระดมทุนในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับการทำ IPO หรือการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้สามารถนำหุ้นออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป เรียกได้ว่าเป็น Mini IPO อีกรูปแบบหนึ่ง  สำหรับการสร้างความผูกพันกับลูกค้า (Customer Engagement), การพัฒนาธุรกิจใหม่ขององค์กร

(New Business) และการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ (Optimization & Automation) นั้นต้องออกแบบ Token ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ทางการตลาดก่อนการนำไปสร้าง Token ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Utility Token, NFT เพื่อการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ


2. การศึกษาข้อมูล คัดกรองและสอบทานธุรกิจ
(Due Diligence & Development)


สำหรับขั้นตอนต่อมาในการทำ Tokenization เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานั้น คือการตรวจสอบจากฝ่ายกฎหมาย (Legal Adviser) ฝ่ายตรวจสอบบัญชี (External Auditor) และฝ่ายเทคโนโลยี (Technical Adviser) สำหรับโครงการที่มีความซับซ้อนทางวิศวกรรม ส่วนโครงการที่มีการใช้อสังหาริมทรัพย์มาสนับสนุนการออก Token นั้นจำเป็นต้องมีฝ่ายประเมินราคา (Appraiser) เข้ามาร่วมในขั้นตอนนี้ด้วย และสุดท้ายคือ ฝ่ายตรวจสอบ Smart Contract  (Smart Contract Auditor) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อตกลงของ Smart Contract ในการออก Token นั้น ๆ  ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่เปิดเผยในหนังสือชี้ชวนหรือไม


3. การร่างหนังสือชี้ชวน และขอนุญาตเสนอขาย (Regulatory Engagement & Approvals)


ในขั้นตอนนี้เริ่มตั้งแต่การร่างหนังสือชี้ชวน และส่งร่างหนังสือให้ ก.ล.ต. พิจารณา พร้อมเปิดเผยข้อมูลต่อ ก.ล.ต. โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับแผนธุรกิจ สิทธิในการออก Token ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออก Token และข้อมูลการเสนอขาย โดยในขั้นตอนนี้สามารถทำไปพร้อม ๆ การศึกษาข้อมูล คัดกรองและสอบทานธุรกิจ (Due Diligence & Development) และเมื่อจัดทำร่างหนังสือชี้ชวนเสร็จแล้ว สามารถส่งให้ ก.ล.ต. ตรวจสอบโดยใช้ระยะเวลา 90 วัน


4.การเสนอขาย (Offering)


หลังจากได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้เสนอขาย Token ได้แล้ว ผู้ลงทุนสามารถซื้อ Token ได้ผ่านทาง ICO Portal Application สำหรับการทำ Tokenization เพื่อระดมทุนนั้น โดย Token X  มีแอปพลิเคชันที่เตรียมพร้อมไว้ให้บริการในส่วนนี้ คือ  Token X ICO App โดยแอปพลิชันนี้นักลงทุนสามารถใช้ในการซื้อขาย Token Digital ต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มของ Token X  โดยมีขั้นตอนในการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้


- การยืนยันตัวตนหรือ KYC (Know Your Customer) หรือกระบวนการในการพิสูจน์ตัวตน โดยกรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมแสดงเอกสารยืนยันตัวตน เมื่อทำตามขั้นตอนในแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป


- ทำแบบทดสอบ Suitability & Knowledge Test เพื่อสำรวจความเหมาะสมและความเข้าใจในความเสี่ยงจากการลงทุนผ่าน Token ก่อนการเริ่มลงทุนจริง


- เปิด Wallet โดยแอปพลิเคชั่น Token X  จะมีฟังก์ชันการใช้งาน Token Wallet ด้วย และเมื่อถึงระยะเวลาเปิดให้ซื้อขาย Token แล้ว  โครงการต่าง ๆ จะแสดงอยู่ในแอป และนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในโครงการที่สนใจ


- การแจกจ่าย Token เมื่อระดมทุนสำเร็จ จะมีการสร้างและแจกจ่าย Token ให้นักลงทุนในแอป Token X


สำหรับการเสนอขายในส่วนของวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการระดมทุน Token X ได้ให้ความสำคัญกับ  Tech Implementation & Integration เพื่อสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการออก Token กับ Token X โดยเน้นในการหาช่องทางเสนอขายที่ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว เพื่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับลูกค้า

Token X กับบริการ Digital Token ครบวงจร


Token X ตั้งเป้าเป็น End to End Partner ของลูกค้าธุรกิจ และทลายกำแพงความยากในการใช้งานแบบเดิม ๆ  พร้อมให้บริการครบวงจรกับลูกค้าองค์กรในการก้าวเข้าสู่ระบบ Blockchain ได้อย่างง่ายดาย ลดขั้นตอนการทำงาน การใช้งบประมาณ และจำนวนทีมงานด้วย TKX Enterprise Solution ที่มาพร้อมโซลูชันการทำ NFT, CRM ,Voting, Auction รวมถึงโซลูชันอื่น ๆ ที่ Token X ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง โดยมี TKX API เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไปยังธุรกิจของลูกค้า เพียงแค่ส่งคำสั่งมา   Token X ก็พร้อมให้บริการในรูปแบบ One Stop Service



ที่มา : งานสัมมนา Tokenization Summit 2022 : Tokenization Step by Step : วันที่ 5 ตุลาคม 2565