เจาะตลาดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ประเทศเพื่อนบ้าน

E-commerce ธุรกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2019 ในช่วงที่สถานการณ์โควิดที่กำลังแพร่ระบาด การจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ก็กลายเป็นกระแสเพียงชั่วข้ามคืน เนื่องจากการจำนวนประชากรที่มีความต้องการบริโภคสินค้าที่สูงขึ้น และการใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเข้าถึงการค้าออนไลน์และการจัดส่งสินค้ามีมากขึ้นไปด้วย ซึ่งมีแพลตฟอร์มเกิดใหม่มากมายโดยเฉพาะในประเทศ CLMV ที่นักลงทุนสามารถขยายและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และสินค้าที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด


วันนี้ เราจะพาไปรู้จักกับแพลตฟอร์มออนไลน์ยอดฮิตที่น่าสนใจทั้ง 3 ประเทศ พร้อมช่องทางสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดออนไลน์ผ่าน E-Commerce เพื่อประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจการค้าออนไลน์และการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก


ลาว

cambodia

ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยมีเป้าหมายการเติบโตของอัตรา GDP ที่จะเพิ่มขึ้นถึง 5.6 % ในปี 2565 ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีสำหรับการทำธุรกรรม e-Commerce ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษา คนวัยทำงาน และประชาชนทั่วไปที่ใช้สมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต คิดเป็นประมาณ 15 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด


แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลของลาว

Plaosme.com

เว็บไซต์ท้องถิ่นของรัฐ โดยรัฐบาล สปป.ลาว เริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการค้าออนไลน์ที่สามารถขยายมูลค่าการค้า เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ SMEs ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทั้งในและต่างประเทศผ่านระบบ e-Commerce โดยสินค้าที่นิยมค้าขายเป็นกลุ่มสินค้าเกษตร


Shopping-D

จำหน่ายสินค้าทั่วไปทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ทั้งสินค้าประเภทน้ำหอม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารเสริม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ โดยจะเน้นจำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารสด อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิค โดยปัจจุบันมีสินค้าไทยจำหน่ายอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป BETAGRO โดยกลุ่มลูกค้าหลักส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งภายหลังมีบริการจัดส่งสินค้าโดยรถส่งสินค้าของเว็บไซต์เอง


ช่องทางสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดออนไลน์ผ่าน E-Commerce ในลาว

เนื่องจากคนลาวนิยมเล่น Social Media รวมทั้งร้านค้าต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ในการโปรโมทสินค้าทั้งการ Live และรีวิวสินค้า เพราะเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีแพลตฟอร์มสากล เช่น Shopee, Lazada อย่างไรก็ตาม การซื้อขายผ่านช่องทางเว็บไซต์ยังได้รับความนิยมไม่มากนัก ดังนั้น Facebook จึงเหมาะสมมากที่สุดในการทำการค้าออนไลน์ ทั้งนี้สินค้าส่วนใหญ่ของร้านค้าทาง Facebook ได้แก่ สินค้าผ้าซิ่น เสื้อผ้าแฟชั่น รองเท้ากระเป๋า และเครื่องสำอางซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น ไทย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น


เมียนมา

กลุ่มเป้าหมายของชาวเมียนมาจำนวน 67 % ที่อายุระหว่าง 15-64 ปีนับว่าเป็นช่วงอายุที่มีโอกาสที่จะซื้อสินค้าออนไลน์เนื่องจากสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเข้าถึง e-Commerce แพลตฟอร์ม ปัจจุบัน ประชากรเมียนมากกว่า 39 % สามารถเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เหล่านั้นจะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์ เป็นต้น


แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลของเมียนมา

Shop.com.mm

เว็บไซต์ในเคลือ Alibaba Group แพลตฟอร์มใหญ่ของเมียนมา ปัจจุบันมีผู้ขาย 30,000 ราย มีสินค้าจำนวนกว่า 500 แบรนด์ และ 2 ล้านกว่ารายการ มีคนเข้ามาดูวันละ 3 แสนคน และมีลูกค้า 5 ล้านคน มีระบบชำระเงินที่ครบวงจร และมีแคมเปญรายสัปดาห์ให้กับลูกค้า โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นการขายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง เสื้อผ้า และนาฬิกา


Barlolo.com

จากบริษัท 3KO Ventures ซึ่งกรรมการบริหารล้วนมีประสบการณ์ด้านการค้าขายออนไลน์ เว็บไซต์จึงตอบสนองความต้องการของคนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในเมียนมาได้จำหน่ายสินค้าฟรี ในแต่ละเดือนมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคน และมีพ่อค้าเมียนมา มากกว่า 1,000 ราย


365Myanmar.com

แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของเมียนมา ที่มีบริการส่งตรงถึงบ้านฟรี ด้วยระบบเก็บเงินปลายทางที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ พร้อมบริการชำระเงินออนไลน์ที่รวดเร็ว หากผู้ประกอบการมีร้านค้าออนไลน์ที่จะนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สามารถจัดจำหน่ายสินค้าได้ที่ 365myanmar เพราะโดดเด่นด้านความไวในการจัดส่ง


ICT.com.mm

ผู้ค้าปลีกเทคโนโลยีออนไลน์อันดับ 1 ในเมียนมาร์ จำหน่ายสินค้าไอทีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ล่าสุด อีกทั้งยังมีการชำระเงินที่ปลอดภัยและสะดวกด้วย KBZPay, WavePay, CBPay, OnePay, AYAPay, M-PiteSan และการจัดส่งที่รวดเร็ว ทั้งยังมีบริการจัดส่งฟรี หากอาศัยภายในพื้นที่ของย่างกุ้งและสถานีขนส่งในเมียนมา


ช่องทางสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดออนไลน์ผ่าน E-Commerce ในเมียนมา

ผู้ประกอบการควรศึกษาตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าที่ตอบสนองความต้องการต่อตลาดเมียนมา และผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดราคาที่สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับกำลังซื้อของชาวเมียนมา เนื่องจากปัจจุบันสินค้าจีนเข้ามายังตลาดเมียนมาจำนวนมาก ทำให้สินค้าไทยอาจเสียเปรียบทางการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์ เพื่อให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างในเมียนมา โดยสินค้าที่นิยมซื้อออนไลน์ ได้แก่ สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า รองเท้า หมวก กระเป๋า) เครื่องสำอาง ตั๋วรถยนต์ตั๋วเครื่องบิน หนังสือ เครื่องดื่มและอาหาร เป็นต้น


เวียดนาม

ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดของประเทศเวียดนามทำให้ถูกคาดการณ์ว่า GDP จะสูงถึง 7.4 % ในปี 2565 นี้ 99.5 % ของคนเวียดนามใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือ ทำให้เวียดนามเป็นประเทศโดดเด่นที่สุดใน CLMV ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 31% และแตะ 57 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 ซึ่งบ่งชี้ว่ากลุ่มลูกค้าดิจิทัลจำนวนมหาศาลของเวียดนามจะมีการใช้จ่ายโฆษณาดิจิทัลที่อาจเกิดขึ้น 934 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้


แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลของเวียดนาม

Coc Coc

เบราว์เซอร์ที่ถูกพัฒนาในเวียดนาม แม้ว่า Cốc Cốc จะสนับสนุนทั้งภาษาเวียดนามและภาษาอังกฤษ แต่ก็เลือกที่จะเน้นที่ตลาดในท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ ปัจจุบัน มีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคน / เดือน และผู้ใช้งาน 9 ล้านคนจาก 6 เมืองชั้นนำของเวียดนาม โดยคาดว่าจะได้รับส่วนแบ่งที่มากขึ้นในตลาดในปีนี้ หากคุณกำลังหาช่องทางการจัดนำหน่ายสินค้าที่มีกำลังซื้อสูง Cốc Cốc เป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การตลาดดิจิทัลของเวียดนามในปี 2022 นี้


Zalo

แอปพลิเคชันสัญชาติเวียดนาม มีผู้ใช้งานกว่า 62 ล้านคน / เดือน ชาวเวียดนามพึ่งพาแอปพลิเคชันมือถือนี้เป็นอย่างมากเพื่อสื่อสาร และมองว่า Zalo เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี ที่เข้าใจเทคโนโลยีและเปิดใจรับเทรนด์ โดยฟังก์ชันสามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แชทประจำวัน คุยงาน นอกจากนี้ ยังมีเกม ข่าวสารและความบันเทิง รวมถึงบริการต่าง ๆ เช่น ชำระค่าไฟฟ้า ตารางนัดหมายในแอป กิจกรรมอีคอมเมิร์ซตั้งแต่การสั่งซื้อไปจนถึงการชำระเงิน และการจัดส่งจะได้รับอนุญาตบน Zalo


TikTok

โซเชียลมีเดียที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในการใช้งาน แพลตฟอร์มดังกล่าวจึงเปิดตัว TikTok for Business เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลยุทธ์ทางการตลาด นอกจากนี้ 97.6% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวเวียดนามที่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี บริโภควิดีโอออนไลน์เป็นประจำ โดยเคล็ดลับการโฆษณาสามารถใช้ TikTok In-Feed Ads คือการแสดงโฆษณาวิดีโอใน “หน้าสำหรับคุณ” ที่ปรับแต่งโดยผู้ใช้ อีกหนึ่งวิธี คือโฆษณาวิดีโอที่จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบในฟีดเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมและคลิกเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมบนหน้า Landing Page และการใช้แฮชแท็กสำหรับธุรกิจ ที่ผู้ใช้ไม่เพียงแต่สามารถดูโฆษณาวิดีโอเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมในแคมเปญด้วยการบันทึกวิดีโอและโพสต์พร้อมแฮชแท็ก


ช่องทางสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดออนไลน์ผ่าน E-Commerce ในเวียดนาม

แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจและดิจิทัลในเวียดนามจะเอื้ออำนวยต่อการขยายธุรกิจ แต่ก็ยังมีความท้าทายด้านตลาดมากมาย เช่น ความไม่คุ้นเคยกับนโยบายการโฆษณาของเวียดนาม แนวโน้มการโฆษณาของเวียดนามที่ไม่รู้จัก และกำแพงภาษา ดังนั้น ผู้ประกอบการไทย SMEs สามารถเลือกใช้ตัวแทนจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญ หรือ ผ่านเว็บไซต์ E-Commerce ที่ได้รับความนิยมในเวียดนาม ได้แก่ Lazada, Shopee, TIKI, LOTTE, Sendo.VN หรือ การใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook และ Instagram เป็นต้น


สำหรับลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html


แหล่งอ้างอิง

1. AsiaPac Net Media. “3 Killer Vietnam แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลเพื่อเข้าสู่ตลาด” . https://www.asiapacdigital.com/th/digital-marketing-insight/3-killer-vietnam-digital-marketing-platforms (สืบค้นเมื่อ 1/7/2565)

2. RYT9. “เคล็ด (ไม่) ลับ...เจาะตลาด E-Commerce ใน สปป.ลาว” . https://www.ryt9.com/s/exim/3244633 (สืบค้นเมื่อ 1/7/2565)

3. DITP. “การทำธุรกรรมดิจิทัลที่กำลังเติบโตของเมียนมาในปี 2563 และการออกใบอนุญาตทางการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วง COVID-19” . https://www.ditp.go.th/contents_attach/658759/658759.pdf (สืบค้นเมื่อ 4/7/2565)

4. DITP. “เจาะลึกสถานการณ์ตลาดออนไลน์ในกัมพูชา” . https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/754098/754098.pdf&title=754098&cate=949&d=0 (สืบค้นเมื่อ 5/7/2565)

5.DITP. “เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจกัมพูชา” . https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/735395/735395.pdf&title=735395&cate=947&d=0 (สืบค้นเมื่อ 5/7/2565)

6. Marketingoops. “พร้อมหรือยัง? เมื่อโควิดจาง จะบุกตลาด ‘เวียดนาม-ลาว-กัมพูชา’ อย่างไรให้สำเร็จ ด้วย Digital Marketing” . https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/digital-marketing-clv/ (สืบค้นเมื่อ 5/7/2565)

7. DITP. “ข้อมูลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” . https://www.ditp.go.th/contents_attach/584554/584554.pdf (สืบค้นเมื่อ 5/7/2565)

8. DITP. “เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสปป.ลาว” . https://ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/730673/730673.pdf&title=730673&cate=994&d=0 (สืบค้นเมื่อ 5/7/2565)

9. DITP. “ข้อมูลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ประเทศเมียนมา” . https://www.ditp.go.th/contents_attach/583734/583734.pdf (สืบค้นเมื่อ 6/7/2565)

10. “วิเคราะห์ข้อมูลตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวของเมียนมา (Myanmar)” . https://www.dft.go.th/Portals/42/APi-DataIntelligentCenter/20809_0_Myanmar.pdf (สืบค้นเมื่อ 8/7/2565)

11. DITP (ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย). “ตลาดอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในเวียดนาม” . https://www.ditp.go.th/contents_attach/730981/730981.pdf (สืบค้นเมื่อ 8/7/2565)

12. Ad addict. “รู้จักธุรกิจ E-Commerce และข้อดี-ข้อเสีย ที่ผู้ประกอบการควรรู้ ก่อนจะก้าวไปสู่การทำการตลาดยุคใหม่” . https://adaddictth.com/knowledge/What-is-E-Commerce (สืบค้นเมื่อ 8/7/2565)