สปป.ลาว ปลด “แลนด์ล็อค” สู่ “แลนด์ลิ้งค์” อย่างสมบูรณ์แบบ

สปป.ลาว กำลังเติบโตในทุกด้านอย่างก้าวกระโดด ด้วยปัจจัยจากอัตราการขยายตัวของ GDP ที่มีกราฟพุ่งอย่างต่อเนื่อง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญคือ แรงหนุนจากรัฐบาลที่วางยุทธศาสตร์ยกระดับศักยภาพของประเทศ นำประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน และพัฒนาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนาในปี 2563 โดยอาศัยการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเป็นประตูการค้า “Land Link” ที่สามารถเชื่อมต่อตลาดการค้าไปอีกหลายประเทศ ทั้งจีน กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา และไทย ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสทางการค้าที่ประเมินค่าไม่ได้ในอนาคตของ สปป.ลาว โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว

โครงการรถไฟไฟ้ความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ได้เชื่อมจากคุนหมิงไปยังเวียงจันทน์ และจะเชื่อมต่อเข้ามายังไทยที่ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 ผ่านทางจ.หนองคาย-โคราช ผ่านไปยังมาเลเซีย และปลายทางคือสิงคโปร์ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเหนือเข้าด้วยกัน โดยมีชื่อว่า “โครงการแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” หรือ “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” (One belt, One road - OBOR) ซึ่งล้อกับ “เส้นทางสายไหม” ในอดีตที่ Marco Polo พ่อค้าและ  นักสำรวจชาวอิตาลีได้เดินทางไปยังจีนเพื่อหาซื้อผ้าไหมนำไปขายให้กับกลุ่มชนชั้นสูงในยุโรปจนเส้นทางสายไหมกลายเป็น เส้นทางการค้าสำคัญระหว่างเอเชียและยุโรป

“เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” นั้น ครอบคลุมพื้นที่ 65 ประเทศ 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป แบ่งออกเป็นทางบก (One belt) และทางทะเล (One road) โดยเส้นทางที่มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบกับไทยมากที่สุด ได้แก่ เส้นทางคุนหมิง-เวียงจันทน์ ซึ่งมีความยาวประมาณ 400 กิโลเมตร โดยเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟที่เชื่อมตลอดภูมิภาคหรือที่เรียกว่า ทางรถไฟ “คุนหมิง-สิงคโปร์” ระยะทางทั้งหมดประมาณ 3,000 กิโลเมตร


ความมุ่งหวังของ สปป.ลาว กับการสร้างทางรถไฟสายนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร จึงรายล้อมไปด้วยแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ ดังนี้


1. เขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมบ่อเต็นบ่อหาน แขวงหลวงน้ำทา
ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้า และแหล่งธุรกิจบันเทิงที่มีชื่อเสียงของลาว และใกล้กับแหล่งอารยธรรมสิบสองปันนา ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก


2. เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว
มีโครงการ “นาคราชนคร” เป็นศูนย์รวมธุรกิจครบวงจร ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 และในบริเวณเศรษฐกิจแห่งนี้ก็เป็นศูนย์กระจายสินค้า และศูนย์รวมธุรกิจบันเทิงที่สำคัญ


3. เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในนครหลวงเวียงจันทน์
มี จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษไชยเชษฐา , เขตเศรษฐกิจพิเศษ บึงธาตุหลวง (ใกล้กับสถานี รถไฟความเร็วสูง)  , เขตเศรษฐกิจพิเศษ Vita Park 

นับเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทยทุกภาคส่วน ที่จะวางแผนลงทุนใน สปป.ลาว สำหรับภาคการผลิตนั้น  จะได้ขยายฐานการผลิตไปยัง สปป. ลาว ซึ่งมีต้นทุนค่าแรงงานถูก ส่วนภาคการค้าก็สามารถกระจายสินค้าไทยไปยัง สปป. ลาว ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ภาคการท่องเที่ยวก็ได้รับอานิสงส์จากเส้นทางรถไฟผ่านแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ สปป.ลาว แล้วนักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางมาเที่ยวต่อในไทยได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น และที่สำคัญ สปป. ลาว จะกลายเป็นประตูสู่มหาอำนาจทางการค้าอย่างจีนได้สะดวก สามารถย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าทางบกไปยังจีนได้มากขึ้น คนลาวจะได้รับการจ้างงานและมีรายได้เพิ่มขึ้น สปป.ลาว จะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากเดิมที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและมีภูมิประเทศเป็นภูเขาทำให้การคมนาคมลำบาก แม้จะมีอาณาเขตติดกับจีน กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาและไทย ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว จะได้เปลี่ยน สปป.ลาว จาก “แลนด์ล็อค (Land Lock) สู่แลนด์ลิงค์ (Land Link)” โดยสามารถเชื่อม CLMV เข้าไว้ด้วยกันอย่างแน่นเฟ้นด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูง

สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีความสนใจต้องการทำการค้าและการลงทุนใน สปป.ลาว ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเวียงจันทน์ พร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนทุกธุรกรรมทางการเงินแก่ลูกค้า เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจให้แก่คุณ


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
: ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเวียงจันทน์


ข้อมูล

1. ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว – จีน ของสปป. ลาว https://globthailand.com/laos-24102019/ (27/4/2020)

2 RYT9. “Share โลกเศรษฐกิจ: รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว...อีกหนึ่งเส้นทางเชื่อมจีนสู่อาเซียน .” https://www.ryt9.com/s/exim/2672530 (27/4/2020)

3.Sanook. “รถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว ดัน แลนด์ล็อค สู่ แลนด์ลิงค์ โอกาสกระจายสินค้าสู่ตลาดที่ 3.” https://www.sanook.com/money/733903/ (27/4/2020)

4.​ธนาคารแห่งประเทศไทย. “รถไฟจีน-ลาว โอกาสและความท้าทาย ที่ไทยต้องเตรียมพร้อม.” https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article17Sep2019.aspx (27/4/2020)

5. AEC 10 News. “ลาวมั่นใจรถไฟความเร็วสูงอุ้มเศรษฐกิจ.” http://aec10news.com/?p=19484 (27/4/2020)

6.ศูนย์วิเทศอาเซียน. “ทิศทางจังหวัดหนองคายในยุครถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 ประเทศ ไทย สปป.ลาว จีน.” https://acc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/9187/iid/158951 (27/4/2020)

7.สุมาลี สุดานนท์. “เส้นทางสายไหมใหม่ เส้นทางการค้าแห่งอนาคต.http://www.cuti.chula.ac.th/triresearch/saimai/2/saimai.html (24/4/2020)

8.Thai Biz Lao.co. “สรุปความคืบหน้าการก่อสร้างเส้นทางรถไฟลาว-จีน.” http://www.thaibizlao.com/lao/knowledges/detail.php?cate=news-hilight&id=20868 (27/4/2020)