กลยุทธ์การปรับตัวให้ไปต่อได้...บนช่องทางเดลิเวอรี่

ช่วงเวลาที่ท้าทายแบบนี้เจ้าของร้านอาหารทุกแห่งคงต้องพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส สร้างกลยุทธ์การขาย จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้อยู่หมัด และสร้างโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ วันนี้ คุณเสกสรร เฟื่องรบ เจ้าของร้านครัวลุงเสก คุณอุมาพร พัฒนโชติ เจ้าของร้านแม่กลองหัวปลาหม้อไฟ และคุณธนพร ภคนันท์วณิชย์ เจ้าของร้าน Hakuna Matacha จะมาร่วมแชร์เทคนิคขายดีบน Robinhood ที่ ไม่ได้มาจากความบังเอิญ แต่มาจากการวางแผน การลงมือทำ และการสู้ไม่ถอย อะไรคือเหตุซึ่งนำมาสู่ความสำเร็จลองมาดูกัน


How to เปิดครัวทำอาหารสไตล์ Home Kitchen


ร้านอาหารแบบ Home Kitchen มีข้อดีคือ สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ต้องไปเช่าพื้นที่ และยังไม่ต้องใช้แรงงานมาก อย่างในแพลตฟอร์ม Robinhood เองก็มีร้านอาหาร Home Kitchen อยู่พอสมควร และมองเห็นแนวโน้มการเติบโตมากขึ้น คุณเสกสรร เฟื่องรบ เจ้าของร้านครัวลุงเสก ที่เปิดครัวบ้าน ทำอาหารแบบ Home Kitchen ที่ขายดีมากๆ และยังจัดการทุกอย่างได้จบในคนเดียว แนะนำหัวใจสำคัญของ Home Kitchen คือ

· รักษาคุณภาพของอาหารให้ดีและถูกต้องตามที่ลูกค้าต้องการอยู่เสมอ

· วางแผนจัดการทุกอย่างไว้ล่วงหน้า ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องมีเมนูมากเกินไปจนบริหารเวลาไม่ได้

· รักษาความสัมพันธ์กับไรเดอร์ มีที่จอดรถที่สะดวก มีน้ำให้เขาดื่ม พูดกับเขาดีๆ ทำอาหารให้ไว

· ใช้เทคโนโลยี เช่น Line OA หรือ Facebook โดยกำหนดข้อความอัตโนมัติไว้ตอบคำถามที่ลูกค้ามักจะถามเสมอหรือเอาไว้ช่วยในการรับออเดอร์ ก็จะช่วยทุ่นแรงและเวลาของเราได้โดยที่เราไม่ต้องทำเองทั้งหมด

fast-changing-like-small-restaurant-01

ปรับตัวอย่างไร ให้ได้ใจคนสั่ง Delivery


ก่อนช่องโควิด-19 การไปนั่งทานอาหารที่ร้านนับเป็นเรื่องปกติ แต่หลังโควิด ทุกคนออกไปใช้ชีวิตไม่ได้เหมือนเคย ทุกร้านจึงต้องปรับตัวสู่เดลิเวอรี่ ซึ่งการขายหน้าร้านกับเดลิเวอรี่มีความแตกต่างกันในเรื่องรายละเอียด คุณเก๋ คุณอุมาพร พัฒนโชติ เจ้าของร้านแม่กลองหัวปลาหม้อไฟ แชร์เคล็ดลับแห่งความสำเร็จในการผันตัวเข้าสู่เส้นทางเดลิเวอรี่ ว่า

·  ต้องบริหารต้นทุนให้ดี ด้วยการใช้แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่ไม่เก็บค่า GP ทำให้ร้านค้าได้รายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น

·  การทำเดลิเวอรี่ต้องยิ่งละเอียดมากขึ้น หากขาดตกพร่องตรงไหนต้องแสดงความรับผิดชอบ เพราะทำให้ลูกค้ารู้ว่าเราใส่ใจ และยิ่งทำให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการร้านของเรา

·  เปลี่ยนวิธีคิดใหม่จากการคิดแต่กำไรให้คิดใหม่เป็น “จะทำอย่างไรให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด” พอลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ลูกค้าจะอยู่กับเรา


อาหารที่ส่งไปถึงลูกค้าแล้วต้องมีคุณภาพดีและถูกต้องตามที่สั่ง แต่เดิมถ้าลูกค้ามาทานที่ร้านแล้วเกิดขาดตกบกพร่องตรงไหน ก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันทีที่ร้าน แต่พอเป็นเดลิเวอรี่แล้วเกิดปัญหาอะไรขึ้น มีอยู่สองทางคือขอคืนเงินหรือไม่ก็ส่งไปให้ลูกค้าใหม่ แต่ทั้งหมดนั้น ร้านค้าต้องแสดงความรับผิดชอบ เป็นการให้ใจกับลูกค้าว่าสั่งอาหารกับร้าน แล้วร้านจะให้สิ่งที่ดีที่สุด


พลังแห่ง Big Data วิเคราะห์อย่างไรให้มัดใจลูกค้า


โควิด-19 ระลอก 3 ที่เข้ามาส่งกระทบกับธุรกิจซ้ำแล้วซ้ำอีก บางร้านมีหลายสาขาที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือพื้นที่ย่านออฟฟิศ พอคน Work From Home  และยังมีความไม่มั่นใจที่จะออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ยอดขายของร้านก็กระทบไปด้วย คุณวิว ธนพร ภคนันท์วณิชย์ เจ้าของร้าน Hakuna Matacha แชร์เคล็ดลับในการพุ่งเข้าชนปัญหาในครั้งนี้ว่า ทางร้านต้องปรับแผนใหม่ โดยใช้ช่องทางเดลิเวอรี่เป็นหลัก และยอมเช่าพื้นที่เพิ่มในบริเวณชั้นซูเปอร์มาร์เก็ตที่ยังพอมีคนเดินอยู่บ้างเพื่อให้มียอดขายเข้ามาบ้าง อย่างน้อยลูกค้ายังได้เห็นแบรนด์ของเราอยู่ว่าไม่หายไปไหน และให้พนักงานของเรายังมีงานทำ มีรายได้ มีคุณค่าอยู่”


นอกจากนี้ที่ร้านยังเก็บ Data พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าผ่าน Facebook หรือ LINE มาใช้ในการทำธุรกิจเสมอ โดยจะมีบันทึกไว้เลยว่าใครเคยมาเป็นลูกค้าของร้าน ทำให้เช็กได้ว่าใครเป็นลูกค้าประจำ หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าประจำในอนาคต ซึ่งสามารถที่จะมีสิทธิพิเศษเพื่อตอบแทนได้ ไปจนถึงแนะนำให้สั่งผ่าน Robinhood เพราะจะทำให้ลูกค้าได้อาหารในราคาที่ถูกกว่าแพลตฟอร์มอื่น และร้านก็ไม่โดนหัก GP ไปด้วย ซึ่งหลายครั้งลูกค้าเองก็ไม่เคยรู้ และสั่งจากแพลตฟอร์มอื่นด้วยความเคยชิน การที่ร้านคอยแนะนำสิ่งที่ดีกับลูกค้า ลูกค้าจะรู้ว่าจริงใจและก็อยู่กับร้าน ไม่ไปไหน

เคล็ด (ไม่) ลับ การขายเดลิเวอรี่ให้ปังสไตล์ร้านเล็ก


1. รูปสวย : ต้องถ่ายรูปให้สวย ไม่จำเป็นต้องกล้องราคาแพง ใช้เพียงโทรศัพท์มือถือถ่ายแต่ต้องรู้มุมดีๆ จัดจานให้ดูน่าทาน และ อย่าลืมใส่รายละเอียดในการสั่งอาหารไปด้วย

2. รวยโพสต์ : ขยันโพสต์ตามกรุ๊ป และซื้อ Ad เพิ่ม เพื่อเรียกลูกค้ามาหาร้านมากขึ้น

3. แจกส่วนลด :  ทางร้านต้องมีส่วนลดให้ลูกค้าบ้างเพื่อจูงใจลูกค้าให้อยากสั่งอาหารกับทางร้าน

4. สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า : ทำอาหารให้มีคุณภาพ ใส่ใจรายละเอียดทุกเมนู อย่าลดปริมาณเด็ดขาด

5. ต่อยอดเมนูใหม่ : คิดเมนูใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทางร้าน แบบหาทานที่อื่นไม่ได้นอกจากร้านเรา

6. วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า : คอยเก็บข้อมูลลูกค้า สอบถามความคิดเห็น และนำความต้องการของลูกค้ามาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น การเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์จะช่วยต่อยอดธุรกิจในอนาคต

7. รักษาลูกค้าประจำให้ดีที่สุด : ใช้ระบบสะสมแต้มเข้าช่วย ทำให้ลูกค้าอยากสั่งเราไปเรื่อยๆ และทุกครั้งที่ลูกค้าซื้อของของเรา ต้องทำให้ลูกค้าประทับใจเสมอ

8. พนักงานคือทีมเดียวกัน : ทำให้เขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของร้าน สร้างบรรยากาศการทำงานให้กระตือรือร้น และรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ให้เขาช่วยเราคิดแก้ปัญหาต่างๆ และเติบโตไปด้วยกัน

9. ให้เพจรีวิวอาหารมาช่วย :  เพจเหล่านี้ถ่ายรูปสวย ทำคอนเทนต์น่าสนใจ และมี Follower ที่ตรงกับลูกค้าที่เราต้องการ สามารถเพิ่มยอดขายให้เราได้

10. บริหารต้นทุนให้ดี :  ด้วยการใช้แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่ไม่เก็บค่า GP


จากที่ทั้งสามท่านได้แบ่งปันประสบการณ์และวิธีการทำธุรกิจร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าร้านอาหารขนาดเล็กและ Home Kitchen ก็สามารถมียอดขายที่เพิ่มขึ้นได้จากการวางแผนที่ดี ไม่ใช่แค่ทำอาหารอร่อยได้อย่างเดียว แต่ต้องรู้จักนำข้อมูลของลูกค้ามาปรับปรุง เอาเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาร้านอาหาร และหมั่นสื่อสารให้ลูกค้าไม่มีทางลืมเราได้ ที่สำคัญ ทั้งสามร้านพูดตรงกันหมดเลยว่า การใส่ใจลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ


ที่มา : งานสัมมนา Restaurant Warrior กับ 7 วิทยากรตัวจริง ผู้พิชิตธุรกิจร้านอาหาร ออกอากาศทาง Facebook SCB Thailand วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ดูย้อนหลังได้ที่นี่