ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
21-02-2568
การเริ่มต้นชีวิตคู่อย่างเป็นทางการด้วยการจดทะเบียนสมรส นอกจากเรื่องฤกษ์งามยามดีที่หลายๆ คู่ให้ความสำคัญเพื่อเป็นสิริมงคลในการเปลี่ยนสถานะจากคู่รักให้มีสถานะเป็นคู่สมรสตามกฎหมายแล้ว ยังมีอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผมอยากชวนให้คู่รักที่กำลังจะแต่งงานได้ร่วมพิจารณากัน นั่นคือ “สัญญาก่อนสมรส” ที่อาจเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาสมดุลระหว่างความรักและความมั่งคั่งของครอบครัวได้
จากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับหลายท่าน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่มีธุรกิจ (กงสี) ส่วนใหญ่คิดว่าสัญญาก่อนสมรสถือเป็นเรื่องที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทรัพย์สินที่ถือครองนั้นเป็นของตระกูลไม่ได้เป็นของส่วนตัวเพียงคนเดียว การจะให้ทรัพย์สินนั้นต้องกลายเป็นสินสมรสก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เช่น มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีที่ใช้เพื่อลงทุนโดยเงินในบัญชีนั้นเป็นของกงสี เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วเงินที่มีอยู่แต่เดิมในบัญชีที่ใช้เพื่อการลงทุนจะถือเป็นสินส่วนตัว แต่ดอกผลที่เกิดจากการลงทุนนั้นจะถือเป็นสินสมรส ตามกฎหมายสินสมรสนั้นจะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจากการจดทะเบียนสมรส แต่ก็จะมีข้อยกเว้นบางกรณีสำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจากจดทะเบียนสมรสจะไม่ถือว่าเป็นสินสมรส เช่น การได้รับมรดก การได้รับโดยการให้โดยเสน่หา สำหรับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส คู่สมรสจะมีสิทธิในทรัพย์สินนั้นอยู่คนละครึ่งหนึ่ง
ถึงแม้หลายท่านจะตระหนักถึงความสำคัญของการทำสัญญาก่อนสมรสแต่ท้ายที่สุดผมก็พบว่าส่วนใหญ่กลับลังเลที่จะพูดคุยกับคู่รักของตนเองและปล่อยให้เวลาผ่านไป เปลี่ยนสถานะความสัมพันธ์จากคู่รักเป็นคู่สมรส จนกระทั่งถึงวันที่ไม่รักกันแล้ว การแบ่งทรัพย์สินกลับกลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งมากมาย เกิดเป็นคำถามว่าจะแบ่งกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถ หรือทรัพย์สินอื่นๆ ที่ได้มาระหว่างสมรส ดังนั้นหากท่านพิจารณาแล้วเห็นว่าสัญญาก่อนสมรสมีความสำคัญกับท่านและครอบครัว การเริ่มต้นพูดคุยกันก่อนจดทะเบียนสมรสจึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจกับคู่รักของท่าน ก่อนที่จะตัดสินใจจรดปากกาจดทะเบียนสมรสด้วยกัน
สาระสำคัญของสัญญาก่อนสมรสที่ควรรู้:
สำหรับท่านที่จดทะเบียนสมรสไปแล้วและไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรส หากท่านมีความต้องการที่จะทำสัญญาเพื่อจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ท่านก็อาจจะพิจารณาทำสัญญาระหว่างสมรสได้ แต่ในเรื่องของการทำสัญญาระหว่างสมรสก็อาจจะไม่ได้มีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับสัญญาก่อนสมรส เนื่องจากสัญญาระหว่างสมรสนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตลอดระยะเวลาที่ยังจดทะเบียนกัน หรือ ภายใน 1 ปีนับจากวันที่หย่า การตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง หรือการที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสด้วยเหตุที่บอกเลิกสัญญากันได้ สัญญาระหว่างสมรสก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับท่านที่ถือทรัพย์สินของกงสีสักเท่าไร เพื่อเป็นการป้องกันความไม่เข้าใจกันในเรื่องของการจัดการทรัพย์สินของกงสีและเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แต่แรกของคู่รักการทำสัญญาก่อนสมรสอาจเป็น Solution ที่ดีกว่าการทำสัญญาระหว่างสมรส
บทความโดย : ดร.นิติ เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการอาวุโส Wealth Planning and Family Office
ลูกค้า SCB PRIVATE BANKING ที่สนใจในเรื่องบริหารสินทรัพย์ครอบครัวเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น สามารถติดต่อ Wealth Planning and Family Office Division ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ที่อีเมล familyofficeteam@scb.co.th หรือที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน (RM) ของท่าน