Disruptive World: เมื่อโลกเปลี่ยนไว ธุรกิจต้องเปลี่ยนให้ไวกว่า!

ความจริงในโลกแห่งการดิสรัปที่เทคโนโลยีกวาดล้างธุรกิจที่เคยมีแต่เดิมล้มหายตายจากไป การทำความเข้าใจเทคโนโลยีโลกดิจิทัลที่เกิดขึ้นจริงแล้ว และจะเกิดในอนาคตอันใกล้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการรู้ทิศทางที่จะปรับเปลี่ยนธุรกิจให้รอดจากการเปลี่ยนแปลงได้ คุณอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด แบ่งปันมุมมองนักบริหารต่อธุรกิจในโลกดิจิทัล

 

Digital Venture ก้าวแรกในโลกที่เปลี่ยนแปลง


Digital Venture (DV) เป็นบริษัทลูกของ SCB X ก่อตั้งปี 2016 มีจุดประเสงค์เริ่มแรกเพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่จะใช้ยกระด้บธุรกิจการเงิน เช่น Blockchain IOT โดยธนาคารเชื่อว่าในอนาคตบริการทางการเงินจะเปลี่ยนไปอย่างมาก สิ่งที่เคยทำมาจะถูกดิสรัป ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และตั้งแต่ปี 2020 DV แยกตัวออกมาเป็นสตาร์ทอัพ


สิ่งที่ DV ทำมี 3 เรื่องได้แก่ 1) Venture Capital (VC) ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีในต่างประเทศ 2) R&D นำเทคโนโลยีมาทดลองใช้บริการลูกค้า ทำให้เห็นภาพว่าการให้บริการการเงินจะเปลี่ยนไปอย่างไร  3) Incubator เอาความรู้ที่ได้จากการลงทุนประเทศต่างๆ มาช่วยพัฒนาสตาร์ทอัพในไทย


จากการทำ Digital Transformation ของธนาคาร คุณอรพงศ์มองเห็นภาพการเปลึ่ยนแปลงของโลกธุรกิจปัจจุบันที่ยากกว่าเดิมมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นลูกคลื่นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ Alexander Graham Bells คิดค้นโทรศัพท์ จนมาถึงยุคอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย Content Streaming อย่าง Netflix  โดยสเกลการรับเอาเทคโนโลยีใหม่ และสเกลของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมมาก ถ้ามีสิ่งใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และธุรกิจเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ไม่ว่าจะเคยยิ่งใหญ่แค่ไหน ก็สามารถล้มหายตายจากไปได้ เช่นที่เกิดกับเโทรเลข แฟ็กซ์ Blockbuster  Kodak ToyrUS เป็นต้น และ Cycle นี้ก็เกิดเร็วและแรงขึ้น

disruptive-world-changes-business-01

Before & After ในโลกดิจิทัล


เทคโนโลยีใหญ่ๆ สำคัญของโลก มีอัตราเติบโตที่จะส่งผลต่อโลกพร้อมกัน เช่น เมื่อมี 5G ก็มี IOT, Smart Machine เกิดตามมา และทำให้มี Data จำนวนมาก ถ้าผู้ประกอบการไม่รู้จักวิธีการนำ Data มาใช้คู่กับ AI ก็ไม่สามารถนำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นแล้วยังเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ในอีก 1-2 ปีข้างหน้าถ้าเทคโนโลยีเหล่านี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ธุรกิจจะเปลี่ยนไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

สิ่งที่เคยเป็น

โลกปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลง

1) เทคโนโลยีเป็นหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจ

Technology คือธุรกิจ ไม่ใช่หน่วยงานสนับสนุน

เปลี่ยนวิธีบริหาร จากที่ธนาคารจ้าง vendor แต่ธนาคารในอนาคตเป็น Technology Company

2) แข่งขันกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม

คู่แข่งจริง คือบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ (Digital Born)

คู่แข่งที่เกิดในโลกดิจิทัล เข้ามาแข่งในสเปซเดียวกับที่เรา ได้เปรียบในการทำธุรกิจ เพราะไม่ต้องแบกภาระโครงสร้างต้นทุน Physical Space ใช้คนน้อย ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บางครั้งบริษัทที่ตั้งอยู่มานาน แข่งขันสู้บริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ไม่ได้

นอกจากบริษัทที่เป็น Digital Born ยังมี Digital Nation เช่น จีน ที่มีบริษัท Digital Born แพลตฟอร์มดิจิทัลแข็งแรง และประสบความสำเร็จมาก เช่น Alibaba Taobao Tencent ฯลฯ ยิ่งในธุรกิจค้าปลีก จีนก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว มีสเกลการผลิตใหญ่มาก  เมื่อโลกดิจิทัลมาถึงจริงๆ ประเทศที่ดิจิทัลไม่แข็งแรงจะอยู่ไม่ได้ ในอนาคตคู่แข่งจะไม่ใช่สตาร์ทอัพเล็กๆ อีกต่อไป แต่อาจเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง Alibaba

3) ความสัมพันธ์ลูกค้ากับธุรกิจ

ความสัมพันธ์ลูกค้ากับแพลตฟอร์ม

จากปัจจุบันที่ลูกค้ารู้จักเรา ลูกค้ารักเรา เมื่อเข้าสู่โลกดิจิทัลแล้ว ลูกค้าจะยิ่งไม่รู้จักเรา ธุรกิจจะเป็นผลจากการ search หาสินค้า ข้อมูลลูกค้าไปอยู่ที่แพลตฟอร์ม กลายเป็นแพลตฟอร์มรู้จักลูกค้า ไม่ใช่ธุรกิจรู้จักลูกค้า

4) Digital อยู่ส่วน Digital  Physical อยู่ส่วน Physical

Digital แทนที่ Physical

สถานการณ์ Covid เปลี่ยนเรื่องนี้อย่างรุนแรง สิ่งที่เป็นPhysical ร้านค้า ร้านอาหาร หายไปหมด ถูกทดแทนด้วยแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับ Physical และผลกำไรไปอยู่ที่ แพลตฟอร์มหมด


คุณอรพงศ์มองว่าการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนเลย คนที่ตามไม่ทันคือตกขบวนไป เดิมคิดว่าบริษัทที่มั่นคง เป็นTraditional Company มีเวลาที่จะเปลี่ยนแล้วอยู่รอดแล้ว แต่กลายเป็นว่าบริษัทดั้งเดิมถ้าเปลี่ยนแปลงไม่ทันก็ตายได้เพราะฉะนั้นทุกคนต้องลงทุนรับมือความเปลี่ยนแปลง จะมารอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วมาคิดว่าจะทำอะไร ถึงตอนนั้นก็ช้าไปแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนเร็วและแรงกว่าเดิม

 

ธุรกิจควรไปทางไหน?


ในมุมมองคุณอรพงศ์ สถานการณ์ปัจจุบันมีปัจจัยด้านลบมากมาย อย่างสงครามยูเครน การขาดแคลนพลังงาน ภาวะเงินเฟ้อ จีนล็อกดาวน์โควิด การขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินดอลลาร์แข็งค่า การดึงสภาพคล่องออกจากระบบ ความขัดแย้งเรื่องไต้หวัน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงสูงมาก การที่ต้องตัดสินใจเลือกระหว่างลงทุนด้านเทคโนโลยี เพราะเป็นทิศทางที่ต้องไป หรือควรถือเงินสดไว้ก่อน พร้อมรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ถ้าเป็น 6 เดือนที่แล้ว คุณอรพงศ์จะแนะนำให้กระโดดลงไปในคลื่นความเปลี่ยนแปลงเพื่อเรียนรู้ นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในบริษัท แต่มาถึงวันนี้ที่ความไม่แน่นอนสูงมาก จึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นการตัดสินใจที่ถูก การถือเงินสดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือเปล่า?

Success Case ธุรกิจโลกดิจิทัล


บริษัทใหญ่ที่อยู่รอดและ success จากการคลื่นการดิสรัปมากที่สุด คือ Microsoft  ทุกบริษัทต้องมองตัวเองเป็นบริษัทเทคโนโลยี มองว่าจะทำธุรกิจอย่างไรในโลกของเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่การซื้อ Solution ทำระบบ แต่มองเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Mobile Banking ที่ไม่กี่ปีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน การจ่ายผ่าน QR , Blockchain ช่วยให้เราทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยสูงได้ง่ายเหมือนการส่งอีเมล ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีจะมาช่วยให้ธุรกิจทำได้ง่าย และโมเดลธุรกิจจะเปลี่ยนไปอีกมาก


รูปแบบธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล อย่าง Cashless Society, 24X7 Real Time, Bank as a Platform, Tokenization & Securitization ต่อเนื่องจาก Blockchain, Peer to Peer Lending, CBDC (Central Bank Digital Currency), Metaverse ฯลฯ จะกลายเป็น norm ของธุรกิจ ถ้าผู้ให้บริการเปลี่ยนไม่ทันก็ยากที่จะอยู่ได้


ในส่วน SCB และ Digital Venture ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้พัฒนาแพลตฟอร์มให้บริการระบบปฏิบัติการด้านการเงินของบริษัทลูกค้า ให้คล่องตัว รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และแก้ Pain Point ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ได้แก่


· Blockchain for Procure to Pay (P2P) : แพลตฟอร์มที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชน  มาจัดการเอกสารการค้า เช่น ใบสั่งซื้อ ใบเรียกเก็บเงิน ฯลฯ ให้เป็นระบบ automate ตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องมีเอกสารกระดาษ ข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมดตั้งแต่ต้น ช่วยลดภาระงาน และกำลังคน เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีคู่ค้าในระบบซัพพลายเชนจำนวนมาก


· PayZave : แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจที่เป็นซัพพลายเออร์ขนาดเล็ก ที่ต้องการสภาพคล่องและเงินทุน โดยไม่ต้องไปกู้ยืมนอกระบบให้ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น ด้วยการให้บริษัทและคู่ค้าทำ Trade Discount บนแพลตฟอร์ม PayZave ซึ่งระบบจะช่วยปรับปรุงแก้ไขงานเอกสารหลังบ้านทั้งหมด ให้ระบบปฏิบัติงานสะดวก รวดเร็วขึ้น


· มีตังค์ : แพลตฟอร์มที่ช่วยบริษัทแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของพนักงาน ให้พนักงานเบิกเงินค่าแรงตามวันที่ทำงานไปแล้ว (แต่ยังไม่ครบเดือน) ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อจะได้มีสภาพคล่องระหว่างเดือน และไม่ต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบ


สำหรับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงควรต้องมีคำตอบว่าธุรกิจเราจะเปลี่ยนไปอย่างไรในโลกเทคโนโลยี เพราะสิ่งนี้เป็นโจทย์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากตอบไม่ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อโลกเปลี่ยนไป ธุรกิจก็จะยืนอยู่บนเส้นทางแห่งความเสี่ยง

ที่มา : การสัมมนาหลักสูตร “Mission X” The Boot Camp pf Advanced Corporate Transformation รุ่นที่ 4 :  CEO Talk คุณอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด วันที่ 5 กรกฎาคม 2565