สื่อสารเจน อัลฟ่าอย่างไร เข้าใจโลกเผชิญวิกฤต

การอุบัติขึ้นของโรคติดต่ออย่างโควิด-19 ไม่ได้เลือกว่าจะสร้างผลกระทบต่อคนรุ่นไหน ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใหญ่ที่ต้องเผชิญการปรับวิถีชีวิตใหม่ แต่กระทั่งเด็กวัยประถมศึกษาลงไป หรือ Gen Alpha ต่างหนีไม่พ้นต้องจารึกเหตุการณ์นี้เข้าสู่บทหนึ่งของชีวิต แต่พวกเขาจะเรียนรู้ เข้าใจ และฝ่าความท้าทายนี้ไปได้อย่างไร ย่อมต้องมีมือของผู้ใหญ่จูงให้ก้าวผ่านไปด้วยกัน


อันดับแรก ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้จากอดีต เพื่อทำนายสิ่งที่ “อาจเกิดขึ้น” กับเด็กที่โตในช่วงนี้ เมื่อประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เคยผยให้เห็นแล้วว่า เด็กที่เติบโตมายุคดังกล่าว หรือ Silent Generation ต้องรับรู้และอยู่ในโลกแห่งความสับสนและสูญเสีย พฤติกรรมที่เกิดขึ้นคือ การก้มหน้าใช้ชีวิตอย่างอดทน บ่มเพาะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เติบโต แกร่งกว่าคนที่เกิดในช่วงอื่นๆ


แม้ว่าไวรัสโควิด-19 จะไม่ได้สร้างภาพทำลายล้างสะเทือนจิตใจเท่าสงคราม แต่สภาวะเครียดของผู้ใหญ่ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจหรือจิตใจนั้น มักถูกส่งต่อมาให้เด็กในครอบครัวได้อย่างง่ายดายหากไม่ระวัง อีกทั้งข้อมูลข่าวสารในแง่ลบ การเผชิญทุกข์ยากของผู้คนบนโลกที่ไหล่บ่าในโลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่ไม่อาจปิดกั้นพ้นการรับรู้ แม้ว่าบทวิจัยยังสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่า พวกเขาจะเติบโตเป็น Silent Generation ด้วยหรือไม่ แต่อย่างน้อย ก็บ่งชี้ได้ว่าเด็กๆ ย่อมได้รับผลกระทบในเชิงพฤติกรรม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง


แนวทางสร้างตาข่ายที่ปลอดภัยไว้โอบอุ้มพวกเขานั้น มี 5 หัวใจหลักที่ต้องใช้พร้อมๆ กัน เริ่มจากเรื่อง “การศึกษา” พยายามลดช่องว่างให้เด็กไม่รู้สึกแตกต่างหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะช่วงพวกเขาต้องห่างโรงเรียนและมาล็อกดาวน์ที่บ้าน ต้องใช้สื่อการสอนออนไลน์ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

communicate-covid-crisis-to-gen-alpha-01

แม้ว่าผู้ปกครองต้องทำงานช่วงกลางวัน ขอให้ทำข้อตกลงชัดเจนว่า เด็กๆ ต้องติดตามบทเรียนออนไลน์และวัดผลด้วยการทำแบบฝึกหัด เพื่อแลกกับชั่วโมงการเล่นเกม และหมั่นโทรถามระหว่างวัน เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยว ยามที่ต้องผละจากสังคมโรงเรียนอันสนุกสนาน มาอยู่ตามลำพังกับญาติหรือพี่เลี้ยง


จากนั้นเพื่อพ่อแม่กลับบ้านช่วงเย็น “สร้างสมดุลการใช้สื่อ” ด้วยการปลดเครื่องมืออิเลคโทรนิคส์ และหันมาใช้เวลาสื่อสารพูดคุยระหว่างครอบครัวแบบเผชิญหน้า เพราะธรรมชาติของเด็กใน Gen Alpha เติบโตมาภายใต้การเลี้ยงดูของผู้ใหญ่ยุค Gen Z นั้น มีแนวโน้มถอดแบบพฤติกรรมกันมาอยู่แล้ว ชื่นชอบกิจกรรมแอคทีฟ การเรียนรู้กลางแจ้ง ควรใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการพาพวกเขาไปรู้จักสภาพแวดล้อม สร้างสมดุล ไม่ให้ชีวิตติดหน้าจอมากเกินไป


ลำดับต่อไปคือการ “พลิกวิกฤตเป็นโอกาส” ปั้นให้เด็กรุ่นนี้เติบโตเป็นฟันเฟืองที่ดีในอนาคต เพราะโดยพื้นฐานของพวกเขา แม้เด็กยุคนี้มีอายุสูงสุดแค่ 10 ขวบ แต่มีความเป็นนักปฏิวัติในตัวเอง มีสายตาที่มองเห็นสังคมรอบตัวตามความเป็นจริง อาทิ เห็นความเหลื่อมล้ำ ความยากลำบากของผู้คน และเริ่มต้องการมีส่วนสร้างสังคมที่ดีดังนั้น จึงควรค่อยๆ ใช้โอกาสนี้บอกเล่าถึงปัญหาจากการระบาดของไวรัส ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และทิ้งเมล็ดพันธุ์ให้เขาครุ่นคิดได้ว่า หากเติบโตขึ้นไป จะมีส่วนแก้ปมเหล่านี้อย่างไรบ้าง


สุดท้ายคือส่งเสริมให้พวกเขาสร้าง “เครือข่ายเพื่อนฝูง” ผ่านวิธีการแบบออนไลน์อย่างเหมาะสม เพราะการเข้าสังคม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนวัยเยาว์ แม้จะไม่อาจพบปะหรือมีกิจกรรมแบบพบหน้ากัน แต่การได้พูดคุยระหว่างช่วงเวลาที่ยากลำบาก จะสร้างความรู้สึกผูกพันกับกลุ่มเพื่อนได้ในอีกรูปแบบ


วัยเด็กนั้นเป็นช่วงอายุที่ “ล้มแล้วลุกเร็ว” เพราะสายตายังเห็นเรื่องแปลกใหม่รออยู่ข้างหน้าอีกมาก จึงไม่จมอยู่กับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หากค่อยๆ ประคองพวกเขาผ่านช่วงเวลาอัน “ไม่ปกติ” นี้ไปได้ ลูกหลานตัวน้อยของคุณจะไม่มีอะไรต้องเสียเลย ในบทเรียนของชีวิตที่มีค่าบทนี้


ดูแลครอบครัวคนที่รักด้วย ประกัน Covid-19 Extra คุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด) ซื้อได้ที่แอป SCB Easy ตลอด 24 ชั่วโมง  พิเศษ! สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต SCB รับคะแนนสะสมพิเศษรวมสูงสุด 3 เท่า วันที่ 25 มกราคม 2564 – 31 กรกฎาคม 2564 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม - ที่นี่ -


ที่มา
https://kidscreen.com/2020/04/24/gen-alpha-will-never-be-the-same-and-thats-okay/
https://mccrindle.com.au/insights/blog/a-defining-pandemic-for-the-next-generation/
https://www.weforum.org/agenda/2020/03/4-ways-covid-19-education-future-generations/