ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ซื้อรถป้ายแดง ให้ถูกใจทั้งครอบครัว
รถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของหลายๆ คน ทั้งเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และการมีข้อจำกัดในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ รวมไปความปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายคนมองหารถมาใช้งานสักคัน
การซื้อรถใหม่สักคัน ถ้าไม่ใช่คนที่มีเงินมากมายที่อยากจะซื้อรถอะไร หรือจะซื้อสักกี่คันก็ซื้อได้ แต่คนที่จำเป็นต้องซื้อ หรือ มนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ควรจะต้องมองหาความคุ้มค่าที่สุด และที่สำคัญ ต้องไม่เป็นภาระมากเกินไป
การซื้อรถ มีปัจจัยหลายอย่างที่ใช้ประกอบในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สมรรถนะ ความสามารถในการใช้งาน รวมไปถึงความชื่นชอบส่วนตัว
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ ความเหมาะสมกับการเงิน
จะซื้อรถแต่ละครั้ง ควรดูความสามารถในการใช้จ่าย โดยไม่กระทบต่อการใช้จ่ายส่วนอื่นๆ หรือเงินออมเพื่ออนาคต
ที่สำคัญอย่ามองแค่ค่าใช้จ่ายก้อนแรกเท่านั้น คือ เงินดาวน์ แต่ต้องมองถึงค่าใช้จ่ายระยะยาว ซึ่งไม่ได้มีแค่ค่าผ่อนรายเดือนเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าต่อภาษีประจำปี ค่าประกันภัย ค่าบำรุงรักษาตามระยะ ค่ายาง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายรายวัน อย่างค่าเชื้อเพลิง ค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ จิปาถะ เหล่านี้ต้องนำมารวมกัน และคำนวณออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่ารับได้ไหม
ส่วนจะมีสัดส่วนเท่าไรของรายได้ ก็ตามแต่ความพร้อมของแต่ละคน แต่ก็มีคำแนะนำว่าทั้งหมดนี้ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้
เมื่อได้คำตอบแล้ว จากนั้นก็มาดูว่า มีรถกลุ่มไหนบ้างที่อยู่ในกรอบเงื่อนไขทางการเงินนี้ เลือกมาเป็นตัวเลือก แต่ขั้นตอนนี้ก็ไม่ง่ายเหมือนกัน เพราะปัจจุบันมีรถมากมายหลายรุ่น หลายยี่ห้อ และหลายรูปแบบ
มีคำแนะนำมาฝาก
“
ขั้นแรก”
ตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่า มีใครใช้บ้าง ใช้คนเดียว ใช้สองคน หรือว่าใช้หลายคนภายในครอบครัว รูปแบบการใช้เป็นอย่างไร ใช้เดินทางทั่วไป หรือ ใช้ประกอบการทำมาหากิน ซึ่งก็ต้องแยกย่อยไปอีกว่า ทำมาหากินเป็นหลัก หรือเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น ถ้าใช้หลักๆ ต้องบรรทุกหนัก ก็ต้องมองหารถที่รองรับได้ดี ทั้งความแข็งแกร่งของช่วงล่าง และความกว้างขวางของพื้นที่บรรทุก
ทีนี้มาว่ากันถึงการซื้อรถเพื่อใช้งานทั่วไป แต่ใช้งานหลายคน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเล็ก ครอบครัวขนาดกลาง หรือว่าครอบครัวใหญ่ก็ตาม ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบในการตัดสินใจเพิ่มเติมเข้ามา
ประการแรกควรหา
“ฉันทามติ”
ให้ได้ก่อน แม้ว่าหลักๆ แล้วรถที่ซื้อมีผู้ขับขี่แค่คนเดียวหรือไม่ก็ตาม
เพราะหากให้ผู้ที่ขับขี่เป็นประจำเป็นผู้เลือกรถ ก็จะเลือกรถที่ตนเองชอบ และมักเลือกจากความสวยงาม และสมรรถนะในการขับขี่ บางคนชอบความเร็วแรง อัตราเร่งดี ความเร็วปลายมาต่อเนื่อง บางคนชอบรถอารมณ์สปอร์ต ช่วงล่างแข็งๆ เกาะถนนหนึบแน่น พวงมาลัยคมกริบ
รถบางคันขับคนเดียวสนุก แต่เมื่อมีคนในครอบครัวมาเป็นผู้โดยสาร ก็อาจจะไม่ชอบอารมณ์ที่ว่ามาสักเท่าไร เช่น ช่วงล่างสปอร์ตที่มาพร้อมกับความกระด้างนั้น คนขับไม่มีปัญหา แต่คนนั่งรู้สึกว่าไม่สบายตัว ยิ่งถ้ามี
“เด็ก”
หรือ
“ผู้สูงอายุ”
ด้วย ลืมรถกลุ่มนี้ไปได้เลย
ถ้ามีเด็ก หรือผู้สูงอายุ ควรเลือกรถที่มีความนุ่มนวล นั่งสบาย และควรมีห้องโดยสารที่กว้างขวางพอควร รวมไปถึงต้องเข้า-ออก หรือ ขึ้น-ลง ได้ง่าย
ถ้าเป็นครอบครัวย่อมๆ ก็อาจะเลือกรถเก๋งทั่วไป หรือ รถเอนกประสงค์ ที่มีให้เลือกมากมาย
ทั้ง “เอสยูวี ครอสโอเวอร์ หรือ เอ็มพีวี”
แต่ถ้าเป็นครอบครัวที่ใหญ่ขึ้นมา ควรมองไปที่รถ 6 หรือ 7 ที่นั่ง ซึ่งก็มีหลากหลายรูปแบบ หลายรุ่น ให้เลือกเช่นกัน กรณีนี้ไม่พูดถึงครอบครัวใหญ่มากเพราะคงต้องไปว่ากันที่รถตู้เป็นหลัก
แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ก่อนจะตัดสินใจซื้อ ควรจะต้องไปลองดูของจริงเสียก่อน อย่าลืมว่าการซื้อของหลักร้อยหลักพัน เข่น เสื้อผ้า รองเท้า เรายังต้องลอง ไม่ใช่แค่ให้มีขนาดพอดี แต่ลองเพื่อดูความสบายในการสวมใส่ หรือมองในภาพรวม ว่าเข้ากับตัวเราไหม
รถยนต์ เป็นสินค้าราคาแพง ยิ่งต้องลอง ถ้ายี่ห้อไหน หรือโชว์รูมไหน ไม่ให้ลอง ก็ไม่ต้องไปซื้อ เรามีทางเลือกมากมาย
การลองรถ ให้ลองเหมือนการใช้งานจริง ใครมีหน้าที่ขับ ก็ลองขับ ใครนั่งประจำตรงไหน ก็ลองนั่งดู ทั้งเบาะหน้า เบาะหลัง รวมไปถึงเบาะนั่งแถว 3 กรณีเป็นรถ 6 หรือ 7 ที่นั่ง ดูว่านั่งแล้วสบายไหม ทั้งความรู้สึกโปร่งโล่ง ไม่อึดอัด พื้นที่วางเท้าเพียงพอหรือไม่ หรือว่าพื้นที่ช่วงเข่า นั่งแล้วเข่าต้องไม่ติดเบาะหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาะนั่งแถวที่ 3 ที่มักจะมีขนาดเล็ก และแคบ แต่ก็มีรถบางรุ่น ที่ออกแบบมาได้ค่อนข้างดี ต้องลองให้มากเป็นพิเศษ รวมถึงการลองเข้า-ออก ผ่านเบาะแถวที่ 2 ด้วย ว่าสะดวกไหม
แต่กรณีที่เบาะแถวที่ 3 นี้ นานๆ ใช้ครั้ง และเดินทางไม่ไกลนัก เช่น ไปทานข้าวร่วมกัน เป็นการซื้อเผื่อไว้เฉยๆ ก็อาจจะพอมองข้ามมันไปได้
จากนั้นให้ลองขับขี่โดยให้ทุกคนในครอบครัวอยู่บนรถด้วย เพื่อดูว่าเมื่อรถเคลื่อนที่แล้ว ความพึงพอใจมีมากน้อยแค่ไหน ความนุ่มสบายของรถ การโยนตัว อาการโคลงของตัวถัง หรือ อาการหน้ายุบ ท้ายยก เมื่อเบรก หรือหน้ายกท้ายยุบเมื่อออกตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้นั่งไม่สบาย และเกิดอาการมึนศีรษะได้ง่าย การลองแบบนี้จะทำให้ผู้ขับรู้สมรรถนะ ขณะที่ผู้โดยสารก็รู้ถึงความสะดวกสบาย
แน่นอนว่าท้ายที่สุด รถแต่ละคัน คงไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ครบทุกคน หรือตอบสนองความต้องการของแต่ละคนได้ 100% แต่อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นการหาจุดร่วมของความพึงพอใจร่วมกันให้ได้มากที่สุดนั่นเอง