BEAT THE BENCHMARK SCB สร้างมาตรฐานใหม่สู่การเป็นผู้นำด้าน Private Banking

เปิดภาพรวมทิศทางธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในไทย และก้าวย่างใหม่ของ SCB PRIVATE BANKING มุ่งมั่นสู่การเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าและสร้างมาตรฐานใหม่ของ Wealth Management ยกระดับการให้บริการ เน้นการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนให้กับลูกค้า ภายใต้แนวคิด BEAT THE BENCHMARK ผ่าน 3 แกนสำคัญ 1) วางแผนความมั่งคั่งส่วนบุคคลให้ลูกค้า 2) บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ 3)ผสานความแข็งแกร่งของกลุ่มไทยพาณิชย์

ภาพรวมและทิศทางธุรกิจของ SCB Wealth Management

“Wealth Management เป็น S-Curve ตัวใหม่  ปี 2017 รายได้จาก Wealth Management มีสัดส่วนประมาณ 7% ของรายได้ทั้งหมดของ SCB หรือประมาณ 31% ของรายได้จากค่าธรรมเนียมทั้งหมด และวันนี้ธุรกิจเติบโตขึ้นมาก ปี 2020 ธุรกิจ Wealth สร้างรายได้ให้กับธนาคาร 15% และคิดเป็นสัดส่วน 56% ของรายได้ที่มาจากค่าธรรมเนียม และในอนาคตจะยังเติบโตต่อไปเรื่อยๆ และเชื่อว่าจะมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต” คุณสารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าว โดยพันธกิจที่สำคัญที่สุดคือการที่ธนาคารจะ BEAT THE BENCHMARK ให้กับลูกค้า นำเงินของลูกค้าไปบริหารและลงทุนเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนซึ่งชนะผลตอบแทนที่อยู่ในตลาดโดยทั่วไป เพราะ SCB เชื่อว่านี่คือสิ่งที่จะสร้างคุณค่า สร้างความแตกต่างให้กับลูกค้า และเพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

4 ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจ Wealth Management เป็นธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตและมีความสำคัญ

1. สภาพคล่องล้นตลาด ในยุคที่ภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ ทำให้นักลงทุนต้องหาทางเลือกในการลงทุนที่จะสามารถเอาชนะเงินเฟ้อ ผู้ลงทุนแสวงหาสินทรัพย์ที่เป็น Yield Play หรือกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าสภาพคล่องของเงิน ลูกค้าจึงปรับพอร์ตการลงทุนไปสู่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น

High volatility : ความผันผวนของการลงทุนสูงขึ้นมาก เป็นเหตุผลที่นักลงทุนบางส่วนไม่กล้าลงทุนด้วยตัวเองเพราะไม่สามารถติดตามตลาดได้อย่างใกล้ชิด จึงหันมาใช้มืออาชีพในการช่วยบริหารการลงทุนให้แทน

2. การเติบโตของทรัพย์สินที่มีอยู่ทั่วโลก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปี 2024 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตถึง 7% หรือ 2 เท่าของ GDP โดยเฉพาะกลุ่มประเทศใน Asia Pacific โตประมาณ 66% ในเมืองไทยก็ไม่ต่างกันมีการเติบโตถึง 5% หรือเกือบๆ 2 เท่าของ GPD เช่นกัน “ธุรกิจอะไรก็ตามที่เติบโตได้ถึง 2 เท่าของ GDP ถือว่าเป็นการเติบโตที่สูง” คุณสารัชต์กล่าว สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการทำ Wealth Management ในเมืองไทย ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับทั่วโลก

3.เป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของสินเชื่อ ไม่มีเรื่องของ Credit cost ไม่มีเรื่องของส่วนทุนที่ต้องเตรียมไว้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไม่ดี ปัจจุบัน SCB มีฐานลูกค้า Wealth อยู่ 16 ล้านราย ซึ่งเป็นปัจจัยที่เชื่อว่า SCB จะทำเรื่องของ Wealth Management ได้ดีมาก

4.ภาพโครงสร้างเศรษฐกิจของเมืองไทย จะเห็นว่าอัตราการออมของคนไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ยังต่ำ ซึ่งอยู่ประมาณ 31.8% ของ GDP ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่คนไทยจะสามารถเพิ่มการออมและการลงทุนให้มากขึ้น


วันนี้ SCB มีความพร้อมที่จะ SET BENCHMARK ใหม่ จากการที่ธนาคารได้ลงทุนเรื่องของการ Transformation มาตลอดระยะเวลา 5 ปี SCB เชื่อว่าจะ BEAT THE BENCHMARK ในเรื่องของอัตราผลตอบแทน นอกจากนั้นยังมุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานเพราะเชื่อว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่เป็น High Touch ลูกค้ายังต้องการพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ และ SCB ยังมีสินค้าและบริการซึ่งครบถ้วนและหลากหลายที่สุด ทั้งเรื่องการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมายสูงสุดคือต้อง BEAT THE BENCHMARK ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะเป็น Top of Mind ของลูกค้าใน Segment นี้ ” คุณสารัชต์ย้ำถึงความมั่นใจในการก้าวขึ้นมาเป็นที่หนึ่งในธุรกิจ PRIVATE BANKING

Wealth Management Transformation ก้าวย่างสู่การเป็นที่หนึ่ง

“วันนี้ SCB มีลูกค้ากลุ่ม wealth ประมาณ 340,000 ราย แต่มูลค่า AUM ที่ถืออยู่ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็น Market share ประมาณ 12%  ดังนั้นฐานลูกค้าจึงค่อนข้างใหญ่  เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว CEO คนปัจจุบันคือคุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ต้องการผลักดันธุรกิจนี้ให้เติบโต แต่เนื่องจากมี Digital Disruption รวมทั้งเรื่องผลิตภัณฑ์ ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และความรู้ของลูกค้าในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นที่มาของ Wealth Transformation” คุณณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth เผย

ในการทำ Transformation มีอยู่ 4 เรื่องคือการพัฒนาคน Advisory capability, เรื่อง Operating Model, เรื่อง Solution และเรื่อง Platform  มีการดึงคนเก่งจากสาขาพันกว่าคนมาเสริมทัพ เพราะทีมงานและคนเป็นเรื่องสำคัญ ต่อจากนั้นเริ่มปรับ Operating Model และสร้างศักยภาพของ RM ให้มีความรู้ ความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนอย่างมืออาชีพ และพัฒนา Digital Advisory Tools เพราะการลงทุนเป็นเรื่องยากถ้าไม่มีเครื่องมือช่วยการอธิบายลูกค้าจะเข้าใจและเห็นภาพได้ยาก สุดท้ายในปี 2020 เพิ่มในส่วนที่เรียกว่า Brain คือ CIO Office และมีการเพิ่มการใช้ AI เข้ามาด้วย นอกจากนี้ ยังเน้นเรื่อง Customer-centric solutions ออกแบบโซลูชั่นที่ตรงใจและถูกใจลูกค้า และสุดท้ายคือ Redefine business strategies ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อเตรียมพร้อมกับ 'Digital Disruption'  คุณณรงค์กล่าวว่า ปัจจุบัน SCB มี RM จำนวนมากที่สุด คือประมาณกว่า 800 คน ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลลูกค้าด้านการบริหารความมั่งคั่งโดยเฉพาะแบบ Dedicated นอกจากนี้ยังมีทีมสมองส่วนกลางที่คอยซัพพอร์ตในเรื่องการลงทุนที่ซับซ้อนขึ้นอีกด้วย ในเรื่องของ Solution มีการทำ Open architecture เพื่อให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด วันนี้ SCB มีพาร์ทเนอร์ทั้งหมด 30 กว่าราย เป็น Open architecture สมบูรณ์แบบ ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดจะคัดสรรหามาให้ลูกค้า รวมทั้งจัด Asset allocation ให้เป็นแบบ Personalize มากที่สุดอีกด้วย พร้อมกันนี้ ยังมีเครื่องมือ DIGITAL WEALTH PLANNING PLATFORM ซึ่งเป็นหัวใจของการทำ Asset allocation ให้ลูกค้า แบบ 360 ด้วยเครื่องมือนี้ลูกค้าสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าสินทรัพย์ตัวใดได้ผลตอบแทนสูงหรือต่ำ Portfolio เป็นอย่างไร สิ่งที่ SCB Wealth ทำการ Transformation สร้างรากฐานตั้งแต่ปี 2017 ช่วยให้รายได้ของธุรกิจ Wealth management เติบโตถึง 25%

เพิ่มขีดความสามารถ มุ่งสู่การเป็น Top of Mind SCB PRIVATE BANKING

แม้ในปี 2020 ที่ผ่านมาจะเป็นปีแห่งความท้าทายสำหรับการลงทุน แต่ SCB PRIVATE BANKING ยังสร้างผลงานที่น่าประทับใจในการบริหารทรัพย์สินสุทธิ (AUM) ของลูกค้ามูลค่า 850,000 ล้านบาท ได้ผลตอบแทนสูงถึง 14.9%* ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน PRIVATE BANKING กล่าวถึงเป้าหมายของ SCB Wealth ในปี 2021 เป็นต้นไปที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ครองใจลูกค้า PRIVATE BANKING ด้วย 3 หลักการ ได้แก่

  • Wealth Preservation การวางแผนต่อยอดความมั่งคั่ง ด้วยแผน Personalized Asset Allocation จัดพอร์ตบริหารการเงินการลงทุนให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย เหมาะกับ Stage of Life ของแต่ละท่านบนความเสี่ยงที่รับได้ ทั้งนี้ SCB PRIVATE BANKING ใช้เครื่องมืออันชาญฉลาดเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ประกอบกับงานวิจัยจากพันธมิตร Research House ชั้นนำ สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดจากพอร์ตลงทุนครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลากหลายครบถ้วนทั้งในและนอกประเทศ กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุนจาก 19 บลจ.ในไทย 23 ตลาดหลักทั่วโลก ในปี 2020 ที่ผ่านมา หุ้นกู้อนุพันธ์ (Structure Note) การลงทุนตรงในต่างประเทศ (Direct Offshore) ให้ผลตอบแทน 15% และ 30% ตามลำดับ และยังมีลงทุนในสินทรัพย์ Discretionary Portfolio Management (DPM)  รวมทั้งการลงทุนใน Private Asset ซึ่งเป็นโอกาสให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสินทรัพย์ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดซื้อขายสาธารณะและยังเป็นการกระจายความเสี่ยงจากสินทรัพย์เดิมในช่วงเวลาผันผวนอีกด้วย

  • Wealth Creation บริการที่ปรึกษาธุรกิจอย่างครอบคลุม ไม่จำกัดเฉพาะความมั่งคั่งส่วนบุคคล แต่ยังรวมถึงความมั่งคั่งทางธุรกิจด้วย โดยใช้โซลูชั่นใหม่เพื่อเสริมสร้างสภาพคล่อง สร้างเม็ดเงินใหม่ เพิ่มโอกาสการลงทุน

  • SCB Financial Business Group ผสานความแข็งแกร่งของกลุ่มไทยพาณิชย์ ที่ครบเครื่องทั้งความรู้ความชำนาญในการลงทุน ครอบคลุมเรื่องธุรกิจเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ ตั้งเป้าหมายสร้างมาตรฐานใหม่ เพิ่มขีดสามารถในการทำธุรกิจ สร้างมูลค่า Portfolio แตะระดับ 1 ล้านล้านบาท สร้างผลตอบแทนการลงทุนสูงสุดที่เหมาะกับความเสี่ยงของลูกค้า และก้าวสู่ความการเป็น Top of Mind ในใจลูกค้า PRIVATE BANKING ของเมืองไทย

“หนึ่งเป้าหมายสำคัญของ SCB คือการขยายฐานลูกค้า PRIVATE BANKING ให้เติบโตไปพร้อมกับก้าวใหม่ของธนาคาร โดยมุ่งมั่นพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และบริการแบบครบวงจร บริการด้านที่ปรึกษาจากบุคลากรระดับมืออาชีพ เชื่อมั่นว่าความแข็งแกร่งของกลุ่มไทยพาณิชย์จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นำไปสู่มาตรฐานใหม่ที่ครองใจกลุ่มลูกค้า PRIVATE BANKING ของไทย” ดร.เมธินี กล่าวเสริม

*เป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนความเสี่ยงปานกลางตามนิยาม AIMC