ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME)
ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อธุรกิจ
สำหรับ SME
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การทำธุรกรรมที่เปลี่ยนไปในยุค New Normal ในมุมมองกฎหมาย
การมาถึงของความปกติใหม่ (New Normal) เนื่องจากวิกฤตโควิด ที่จำเป็นต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้รายละเอียดการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราเปลี่ยนไปหลายอย่าง หนึ่งในนั้นรวมถึงการทำธุรกรรมสำคัญในธุรกิจและการเงินด้วย โดยกฎหมายได้รับรองวิธีการทำธุรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไรบ้าง คุณเบญจ สุพรรณกุล Partner เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด และคุณสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) มาร่วมให้คำตอบในประเด็นนี้
ผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อตลาด
คุณเบญจอธิบายว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งให้นักลงทุนที่จากเดิมทีเก็บเงินในกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ เกิดความกังวลเรื่องเสถียรภาพในสภาพคล่องของกองทุนจึงหันมาเก็บเงินสดแทน ส่งผลให้เกิด Panic Sell เทขายสินทรัพย์การลงทุนต่างๆ เพื่อเก็บเงินสด ในส่วนสถาบันการเงินก็เกิดผลกระทบจากลูกหนี้ธุรกิจ SME และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ภาครัฐเห็นถึงกระทบของโควิด-19 ในภาพกว้างที่มีต่อผู้ลงทุน ผู้ประกอบการ SME ลูกค้ารายย่อย และสถาบันการเงิน จึงมีการออกมาตรการมาช่วยเหลือทั้งในส่วนตลาดทุนและตลาดเงิน
มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐในตลาดทุนและตลาดเงิน
สำหรับตลาดทุน ส่วนที่กระทบกับนักลงทุนโดยตรงคือการเทขายหุ้นเนื่องจาก Panic Sell จึงมี
การปรับเกณฑ์ การหยุดซื้อขายโดยอัตโนมัติชั่วคราว (Circuit Breaker)
จากเดิมที่จะหยุดซื้อขายหากราคาปิดตลาดหลักทรัพย์ลดลงมากกว่า 30% ของราคาปิดวันก่อนหน้า และหากในวันนั้นกลับมาซื้อขายใหม่ ราคาปรับลดลงอีกมากกว่า 15% ของราคาปิดช่วงก่อนหน้า ก็เบรคได้อีกหนึ่งรอบ มาเป็นหยุดซื้อขายหากราคาปิดตลาดหลักทรัพย์ลดลงมากกว่า 15% ของราคาปิดวันก่อนหน้า และจะเบรกได้อีกหนึ่งรอบ หากราคาในวันนั้นลดลงมาอีกมากกว่า 7% ของราคาปิดช่วงก่อนหน้า ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จะใช้เกณฑ์ Circuit Breaker ใหม่นี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 นี้
และจากข่าวที่มีการเทขายหน่วยลงทุนในสินทรัพย์ตราสารหนี้จนส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้หลายกองต้องปิดตัวไป จึงมี
กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF)
เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ธปท.ออกมาเพื่อช่วยให้องค์กรที่เป็นผู้ออกตราสารหุ้นกู้ (Issuer) สามารถระดมทุนได้เพียงพอที่จะนำเงินมารีไฟแนนซ์ชำระหนี้หุ้นกู้รุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้ที่ครบกำหนด โดยธปท.กำหนดให้ Issuer ต้องระดมทุนจากช่องทางปกติ เช่นออกหุ้นกู้ชุดใหม่ เงินกู้สถาบันการเงิน เพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% ของวงเงินที่ต้องใช้รีไฟแนนซ์ แล้วจึงสามารถขอความช่วยเหลือจากกองทุน BSF สำหรับเงินส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ด้วยการออกหุ้นกู้รุ่นเฉพาะ อายุไม่เกิน 270 วัน ได้รับการจัดอันดับ Investment Grade มาขายให้กองทุน BSF ทั้งนี้มาตรการ BSF ของธปท.เป็นการต่อสภาพคล่ององค์กรให้ผ่านวิกฤตไปได้
ส่วนอีกมาตรการตลาดทุนที่ธปท. ออกมาเนื่องจากที่เกิดเหตุการณ์นักลงทุนขาดความมั่นใจและอยากถือเงินสดนำมาสู่การเทขายหน่วยลงทุนตราสารหนี้จนกองทุนต้องปิดตัว ทั้งๆ ที่กองทุนถือสินทรัพย์คุณภาพดี ได้แก่ การขยายขอบเขตมาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน (Mutual Fund Liquidity Facility: MFLF) โดยธนาคารสามารถนำเงินเข้าไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ (Daily Fixed Income Fund) หรือทำการซื้อหน่วยลงทุนโดยมีสัญญาว่าจะขายคืนในอนาคต (Repo) ซึ่งมาตรการนี้ส่งผลให้กองทุนได้รับเงินจากธนาคารนำมาจ่ายให้ผู้ลงทุนที่อยากไถ่ถอนคืนหน่วยลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องปิดกองไป ในส่วนเงินที่ธนาคารจะนำมาซื้อหน่วยลงทุนนี้ ก็สามารถทำ Repo เอาหน่วยลงทุนที่ซื้อมาให้ธปท.แล้วนำเงินจากธปท.ไปจ่ายกองทุน โดยมีข้อกำหนดว่าหน่วยลงทุนของกองทุนที่ขอ Repo ได้ จะต้องลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี (เรทติ้ง A- ขึ้นไป) ไม่ต่ำกว่า 70% คุณเบญจมองว่าทั้งมาตรการ BSF และ MFLF มีประสิทธิภาพในการช่วยลด Panic Sell เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาด และเป็นการช่วยเหลือตลาดทุนที่ภาครัฐเข้าช่วยเหลือผ่านธปท.โดยมีธนาคารพาณิชย์เป็นตัวกลาง
ในด้านตลาดเงิน ตั้งแต่ช่วงปีนี้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ธปท.ลดจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FDIF) จากเดิม 0.46% ของฐานเงินที่รับจากประชาชน เหลือ 0.23% รวมถึงยังช่วยเรื่องสภาพคล่องของธนาคาร โดยผ่อนปรนหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Liquidity Coverage Ratio) จากเดิมต้องมีเพียงพอไม่ต่ำกว่า 10% ให้ต่ำกว่า 10% ได้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีกำลังและสภาพคล่องเพียงพอในการช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชน
ในส่วนผู้ประกอบการธุรกิจ SME คุณภาพดีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ก็สามารถของสินเชื่อ Soft Loan ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือนแรก จากนั้นจึงมีดอกเบี้ย 2% ต่อปีเป็นระยะเวลา 2 ปี โดย Soft Loan นี้มาจากที่ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมจากธปท.ในอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี นอกจากนี้ผู้ประกอบการ SME ที่มีคุณสมบัติตามที่ทางการกำหนดสามารถขอพักชำระหนี้ได้ทั้งต้นและดอกเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่ถูกขึ้นลิสต์ผิดนัดชำระหนี้ที่กระทบต่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่แท้จริง
มาตรการการทำธุรกรรมในยุค New Normal
คุณเบญจอธิบายถึงรูปแบบวิธีการทำธุรกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงให้คล่องตัว สืบเนื่องจากภาวะโควิด-19 โดยมีหลักสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่
1. การทำธุรกรรมไร้การสัมผัส (Contactless Transaction)
2. การระดมทุนรูปแบบใหม่ (Alternative Routes for Fundraising)
*ข้อ 1 และ 2 มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายแล้ว
3. การพัฒนาการบริหารจัดการกองทุน (Development of Fund Management)
*ข้อ 3 อยู่ระหว่างการพิจารณา
จากผลกระทบที่โควิด-19 มีต่อตลาดและทุกภาคส่วนในสังคม นำมาซึ่งมาตรการช่วยเหลือ แนวคิดวิธีการใหม่ที่ปรับเปลี่ยนให้การทำธุรกรรมคล่องตัวสอดรับกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คลิกดู LIVE SCBTV โอกาสในวิกฤตโควิด-19 ตอนที่ 4 : ปรับตัวสู่ New Normal ผ่านมุมมองทางด้านกฎหมายได้ -ที่นี่-
ที่มา : LIVE SCBTV โอกาสในวิกฤตโควิด-19 ตอนที่ 4 : ปรับตัวสู่ New Normal ผ่านมุมมองทางด้านกฎหมาย ออกอากาศทาง Facebook SCB Thailand วันที่ 21 พฤษภาคม 2563