เรียนต่ออังกฤษ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าไร?

สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดฮิตของการเรียนต่อในระดับปริญญา ด้วยความที่เป็นแหล่งรวมสถาบันการศึกษาเก่าแก่ ได้รับการรับรองความเป็นเลิศทางวิชาการติดอันดับโลก เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษแบบต้นตำรับที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลก ในแต่ละปีจึงมีนักเรียนไทยหลายพันคนไปเรียนต่ออังกฤษ ซึ่งแต่ละคนก็ต้องเตรียมตัวเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะใช้ตลอดทั้งปีเพื่อให้เรียนจบหลักสูตรตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยการเรียนต่ออังกฤษมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างจำนวนเท่าไร สามารถดูข้อมูลได้ตามด้านล่าง

2107153184

ค่าเรียน (Tuition Fee)


ค่าใช้จ่ายหลักที่ต้องคิดเป็นสิ่งแรกในการวางแผนเรียนต่อเมืองนอก หลักสูตรปริญญาที่อังกฤษ ปริญญาตรีเรียน 3 ปี ปริญญาโทเรียน 1 ปี อัตราค่าเรียนจะขึ้นอยู่แล้วแต่หลักสูตรที่คอร์สวิชาสายมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์จะย่อมเยากว่าคอร์สสายวิทยาศาสตร์วิศวกรรม ยิ่งมีคอร์สที่มีแลปปฏิบัติการค่าเรียนยิ่งสูง ตามข้อมูลของ SI-UK ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อประเทศอังกฤษให้ข้อมูลว่าค่าคอร์สเรียนปริญญาตรีอยู่ที่ประมาณ 1.2 – 1.5 ล้านบาทต่อปี ค่าคอร์สเรียนปริญญาโทอยู่ที่ 1.2-1.8 ล้านบาท


ถ้าตอนที่เราทำเรื่องสมัครเข้าเรียน และคะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษ IELTS ไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางคอร์สตั้งไว้ (เกณฑ์ภาษาอังกฤษของคอร์สปริญญาโทส่วนใหญ่อยู่ที่ 6.5) เราต้องเรียนคอร์สปรับระดับภาษาอังกฤษช่วงซัมเมอร์ก่อนเริ่มเรียนคอร์สวิชาหลัก เรียกว่า Pre-sessional English ซึ่งระยะเวลาที่ต้องเรียนขึ้นอยู่กับระดับคะแนน IELTS ที่ยื่นสมัครไปว่าต่ำอยู่กว่าเกณฑ์รับสมัครมากน้อยขนาดไหน เช่นถ้าเกณฑ์คะแนน IELTS ของคอร์สเรียนอยู่ที่ 6.5 แต่คะแนน IELTS เราได้ 5.5 จะถูกกำหนดให้เรียนคอร์สปรับภาษา 8 สัปดาห์ โดยค่าเรียน Pre-sessional อยู่ที่ประมาณ 6,000 - 16,000 บาทต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายก็คำนวณตามสัปดาห์ที่ต้องเรียน ดังนั้นถ้าได้คะแนนภาษาอังกฤษดีตั้งแต่ต้น ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ดี การเรียน Pre-sessional English ก็มีประโยชน์ตรงช่วยปรับระดับภาษา เสริมความรู้ด้าน Academic English การเขียนบทความ เปเปอร์รายงานให้เราก่อนเข้าไปเรียนคอร์สหลักแล้ว ยังเป็นช่วงที่เราจะได้ปรับตัวให้คุ้นเคยกับบรรยากาศในห้องเรียน เตรียมใจก่อนเริ่มคอร์สตอนเปิดเทอมด้วย


ค่าที่พัก (Accommodation Fee)


ที่พักมหาวิทยาลัยในอังกฤษ แบ่งได้เป็นหลายประเภท ตั้งแต่ ที่พักของมหาวิทยาลัย (University Accommodation) ที่มักจะเป็นตัวเลือกแรกของนักเรียนต่างชาติ ด้วยเหตุผลที่มักจะอยู่ในเขตแคมปัสมหาวิทยาลัย อยู่ไม่ไกลจากบริเวณอาคารเรียน ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย แบบเดินเท้าได้ เพื่อนร่วมหอก็เรียนอยู่ที่เดียวกัน แต่อาจตั้งอยู่ไกลจากตัวเมือง ในกรณีที่แคมปัสตั้งอยู่นอกตัวเมือง ทำให้ห่างจากร้านค้า ร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง


ลักษณะห้องพักของหอมหาวิทยาลัย ก็มีให้เลือกแบ่งเป็น 1) Flat-Shared เป็นห้องพักเดี่ยว 4-6 ห้องอยู่ในบล๊อคเดียวกัน แชร์ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำกับห้องครัวกับเพื่อนร่วมแฟลต ห้องพักแบบนี้จะราคาย่อมเยาที่สุด 2) Ensuite ห้องพักที่มีห้องน้ำ ห้องอาบน้ำในตัว แต่ยังแชร์ครัวกับคนอื่น 3) Deluxe หรือ Studio ห้องพักที่มีห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และห้องครัวในตัว คล้ายคอนโดเล็กๆ 1 ห้อง ซึ่งห้องพักแบบนี้จะสะดวกสบายสุดและราคาสูงที่สุด ทั้งนี้ ห้องพักสองแบบแรกนี้ พบได้ทั่วไปในหอพักมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ แบบที่สามจะมีไม่มากนัก


อย่างไรก็ดี ถ้าเราเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมืองขนาดกลาง-ใหญ่ อย่างลอนดอน เบอร์มิงแฮม แมนเชสเตอร์ ที่มีสถาบันการศึกษาใหญ่ตั้งแต่ 2-3 แห่งขึ้นไป เราจะมีหอพักนักศึกษาที่ดำเนินการโดยธุรกิจเอกชน (Private Student Accommodation) เป็นทางเลือกนอกเหนือจากหอพักมหาวิทยาลัย ข้อดีของหอพักเอกชน คือ ห้องพักทันสมัย หรูหรา ห้องพักเกือบทั้งหมดเป็นแบบ Deluxe หรือ Studio เลือกทำเลที่ตั้งได้มีทั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยมากนัก (แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้รถโดยสารประจำทาง) หรืออยู่ในตัวเมือง ใกล้ร้านค้าร้านอาหาร การพักหอพักเอกชนยังเป็นโอกาสให้เราได้เจอเพื่อนจากต่างสถาบันการศึกษาด้วย


ในส่วนของราคา โดยทั่วไปค่าหอพักเอกชนมักจะสูงกว่าหอพักของมหาวิทยาลัย และแน่นอนว่าค่าที่พักในลอนดอนย่อมสูงกว่าเมืองอื่นๆ ตามข้อมูลจาก SI-UK ราคาค่าหอพักในลอนดอนคิดเป็นรายสัปดาห์ตกอยู่ที่ 300-800 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ค่าหอพักนอกลอนดอน จะอยู่ที่ประมาณ 200 – 500 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หลักสูตรปริญญาโท 1 ปี 48 สัปดาห์ ก็ต้องเตรียมเงิน 9,600 – 38,400 ปอนด์ ขึ้นอยู่กับเมืองที่เราจะไปเรียนและประเภทของที่พักที่เราเลือก

ค่ากินค่าอยู่


ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของเราเลย ถ้าเป็นคนไม่กินไม่เที่ยวบ่อย ทำอาหารกินเอง ก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก แล้วอย่างมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด อย่างค่าเสื้อผ้า ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ ค่าหนังสือ ค่าของใช้ที่จำเป็น แล้วเมื่อมีโอกาสไปเรียนที่เมืองนอกทั้งที จะเรียนอย่างเดียว ไม่ออกไปท่องเที่ยวหาประสบการณ์ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ค่าท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวก็เป็นอีกหนึ่งรายการที่ต้องคิดเผื่อไว้ในการคำนวณค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่รายจ่ายอย่างเดียว นักเรียนที่ลงคอร์สเรียนระดับปริญญาในมหาวิทยาลัย วีซ่าจะอนุญาตให้ทำงานพาร์ทไทม์ในช่วงเปิดภาคเรียนได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจากที่วันที่ 1 เมษายน 2023 เป็นต้นไป ค่าแรงขั้นต่ำที่นักเรียนต่างชาติได้จะตกอยู่ที่ชั่วโมงละ 10.42 ปอนด์* ก็จะได้เงินจากการทำพาร์ทไทม์สัปดาห์ละประมาณ 200 ปอนด์หรือคิดเป็นเงินประมาณ 800 ปอนด์ต่อเดือน การทำงานพาร์ทไทม์สามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

*https://leapscholar.com/blog/uk-minimum-wage-per-hour-know-about-salary/

อีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ก็คือการใช้บัตร PLANET SCB บัตรเติมเงินสกุลต่างประเทศ 13 สกุลเงินยอดนิยม* ที่ทำให้เราแลกเงินปอนด์ รวมถึงเงินสกุลอื่นๆ ในเรทพิเศษเทียบเท่าร้านแลกเงิน แล้วยังเลือกล็อกเรทได้ เมื่อเรทดีถูกใจ ก็แลกเงินไว้ได้ทันทีผ่านแอป SCB EASY นอกจากจะเอาไปรูดซื้อสินค้าที่ร้านค้าที่ต่างประเทศโดยไม่มีชาร์จเรทอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% ได้สูงสุดเทียบเท่า 500,000 บาทต่อวัน ซึ่งช่วยให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก แต่ถ้าเราจะต้องใช้เงินสดจริงๆ ก็ใช้บัตร PLANET SCB กดเงินสดได้ที่ตู้ ATM ที่มีสัญลักษณ์ VISA (กดได้สูงสุดเทียบเท่า 100,000 บาทต่อวัน) กรณีที่บัตรหายก็สามารถอายัดบัตรได้ด้วยตัวเองผ่านแอป SCB EASY ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญบัตร PLANET SCB ฟรีค่าธรรมเนียมรายปีตลอดชีพอีกด้วย
 

สนใจสมัครบัตร PLANET SCB ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

*13 สกุลเงินต่างประเทศ ได้แก่ USD, EUR, GBP, JPY, AUD, CHF, SGD, HKD, NZD, CAD, CNY, KRW และ TWD