7 วิธี ปั้นชีวิตฟรีแลนซ์ให้ ‘มั่นคง’ และ ‘มั่งคั่ง’

วิถีปกติใหม่ได้เข้ามาพิสูจน์แล้วว่า ปัจจุบันมนุษย์งานจะใช้สถานที่ไหนสร้างผลงานก็ย่อมได้ ขอเพียงมีเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย ประกอบคนรุ่นใหม่ที่ชอบไลฟสไตล์แบบฟรีแลนซ์มากกว่างานประจำ ที่เหมาะเจาะพอดีอีกกับความต้องการจ้างงานแบบ On demand เป็นรายชิ้นหรือรายโปรเจ็กต์อีก


ทว่าขึ้นชื่อว่าฟรีแลนซ์ ความไม่มั่นคงทั้งงานและความไม่แน่นอนเรื่องเงิน ยังเป็นความเสี่ยงที่หลายคนมองเป็นอุปสรรค หากจะก้าวข้ามไปสู่วิถีใหม่ๆ มีอะไรที่เราต้องสำรวจและเตรียมพร้อมบ้าง ตามมาดูกัน
 

1. สำรวจตัวเองก่อนก้าวสู่วิถีฟรีแลนซ์


เป็นจุดสตาร์ทที่ต้องให้น้ำหนัก แม้ได้ชีวิตอิสระอย่างที่ฝัน แต่ความไม่แน่นอนในชีวิตย่อมสูงกว่าคนทำงานประจำ เพราะรายได้ไม่แน่นอนเหมือนเดิม ลองหันมองพฤติกรรมตัวเองก่อน แล้วทดลองลด ละ เลิกพฤติกรรมที่ไม่จำเป็น เช็คให้ชัวร์ว่าทำได้หรือไม่ เช่น ลดปาร์ตี้ทุกสุดสัปดาห์ งดสั่งของออนไลน์แบบใจด่วน และสำรวจว่ามีคอนเนคชั่นสำหรับหางานในอนาคตมากพอหรือยัง เมื่อมีสัญญาณดี ก็เริ่มปฏิบัติได้เลย
 

2. เปิดตารางค่าใช้จ่ายออกมาให้ชัดเจน


แบ่งค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทให้ชัดเจน ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่แน่นอน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ผันแปร เช่น ค่าโทรศัพท์รายเดือน หรือค่าใช้จ่ายภาษีสังคม เช่น งานช่วยต่างๆ ลองดูว่ามีรายรับที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากพอหรือยัง
 

3. รับผิดชอบเต็มเหนี่ยวและเพิ่มทักษะเสมอ


ต้องรู้จักผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับอย่างถึงที่สุด เพราะเป็นการรักษาคุณภาพงานและชื่อเสียงของเราไปในตัว ต้องรู้จักเพิ่มทักษะให้ตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ที่เข้ามาเสมอ หรือพัฒนาทักษะในด้านที่แข็งแกร่งของตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง
 

4. มีรายได้มากกว่า 1 ทางเสมอ


หมดยุคที่จะทำงานหรือใช้ทักษะเดียวตลอดไปแล้ว เพราะโลกปัจจุบันมีอะไรให้ทำตั้งมากมาย โดยไม่ยึดติดกับบริบทต้องเรียนจบตรงสายเท่านั้น เพียงแค่มี Mindset ที่พร้อมเรียนรู้ เพื่อหารายได้มากกว่า 1 ทาง เช่น กลางวันมุ่งทำงานฟรีแลนซ์ที่ให้สำเร็จด้วยดี กลางคืนอาจแบ่งเวลาตัดต่อคลิปงานหรือผลิตคอนเทนต์ขายของออนไลน์ สอนคลิปทำอาหารลงโซเชียล ต่อยอดสิ่งที่รักเพื่อสร้างรายได้อีกทาง

freelance-get-rich-01

5. ต้องสร้างเครดิตให้ตัวเอง


ต้องรักษาความเป็นมืออาชีพด้วยผลงานที่ได้มาตรฐานและได้คุณภาพตามความคาดหวัง เพราะเมื่อเป็นฟรีแลนซ์แล้ว คุณภาพของงานจะพูดแทนตัวคุณในทุกเรื่อง ไม่มีความสัมพันธ์ในที่ทำงานเข้ามาสร้างคะแนนเห็นใจ และยังต้องสร้างเครดิตทางการเงินให้ตัวเองด้วย เพราะไม่มีฐานรายได้แน่นอน หากจะขอกู้เงินจากธนาคารย่อมยากกว่าพนักงานกินเงินเดือน ดังนั้น ต้องเก็บเอกสารรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่ละงานให้ดี ทำบัญชีให้ชัด แยกบัญชีรายรับที่เข้ามากับบัญชีส่วนตัว คิดว่าลำบากแค่ช่วงต้นเพื่อมีหลักฐานเห็นแหล่งรายได้ชัดเจนที่พร้อมยื่นภาษี และยังใช้เพื่อสร้างเครดิตทางการเงินให้ตัวเอง
 

6. วางแผนรับมือเมื่อเจ็บป่วย


ทำประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพเผื่อสวัสดิการรัฐไม่ครอบคลุม ประกันบางประเภทยังมีข้อตกลงชดเชยรายได้ที่หายไปเมื่อยามเจ็บป่วยด้วย และอย่าลืมจัดการให้ชัดว่าจะใช้สิทธิประกันสังคมอย่างไรเลือกส่งตัวเองตามมาตรา 39 ต่อ และมาตรา 40 เพื่อมีสิทธิได้รับเงินบำนาญหรือเงินบำเหน็จชราภาพตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด หรือจะหยุดแค่นี้เพื่อไปใช้สิทธิบัตรทองแทน
 

7. ออมและลงทุนมากกว่าตอนมีเงินเดือนประจำ


ยิ่งเป็นฟรีแลนซ์ยิ่งต้องเก็บเงินออมมากกว่าตอนมีเงินเดือนประจำ และต้องเร่งเชื่อมโลกลงทุนให้เงินทำงานแทนเรา จากการทยอยสะสมหุ้นหรือกองทุน เพื่ออย่างน้อยจะได้เงินปันผลหรือเงินจากส่วนต่างราคาหน่วยลงทุนหรือหุ้น จะให้ดีออมแบบถั่วเฉลี่ยเป็นประจำทุกเดือน (DCA) เพราะจะได้กำหนดเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องทำทุกเดือ ช่วยสร้างวินัยในการออมและลงทุนด้วย โดยเลือกยึดหลักความเสี่ยงก่อนจะพุ่งเป้าไปที่ผลตอบแทน เพื่อให้เราระมัดระวังกับการลงทุนมากขึ้น


อย่าให้ใครมาปรามาสว่าเป็นฟรีแลนซ์แล้วกระเป๋าแบน และชีวิตแขวนอยู่กับความไม่แน่นอน เพราะแม้จะทำงานแบบอิสระ แต่ก็สามารถสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งได้ไม่แพ้กัน ขอเพียงทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ซึ่งการเป็นฟรีแลนซ์ก็สามารถขอสินเชื่อซื้อบ้าน ซึ่งเป็นสินทรัพย์สร้างความมั่นคงให้ชีวิตได้ไม่แตกต่างจากการทำงานประจำ สนใจรายละเอียดสินเชื่อบ้าน คลิกดูที่นี่


ที่มา
https://www.set.or.th/set/education/html.do?name=preretire_isp_preretire-15&innerMenuId=48
https://aommoney.com/stories/ฉลาดใช้-ฉลาดช็อป/ชีวิตฟรีแลนซ์-บริหารเงินอย่างไรให้มีเงินเหลือ-มีชีวิตดี๊ดี/3055#kqmhbxqc72
https://workpointtoday.com/saving-guru-07/
https://tasknjoy.com/2020/01/10/6-เทคนิคจำเป็น-อาชีพฟรีแ/
https://www.youtube.com/watch?v=Nu92bLiPFPE
https://www.youtube.com/watch?v=vmvuuci4GR8