ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
เช็กให้ดีก่อนยื่นภาษี ปี 2566 นี้ ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
1. ลดหย่อนส่วนตัว
60,000 บาท
2. คู่สมรส
60,000 บาท
3. บุตร
คนละ 30,000 บาท (คนที่ 2 ขึ้นไป เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท)
4. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส
คนละ 30,000 บาท รวมไม่เกิน 120,000 บาท
5. ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ
คนละ 60,000 บาท
6. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่เมื่อรวมกับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ผู้มีเงินได้และคู่สมรสได้รับแล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
กลุ่มประกันและลงทุน
1. ประกันชีวิต และประกันสะสมทรัพย์ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2. ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ
หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
3. ประกันสังคม
หักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
4. ประกันสุขภาพบิดามารดา
หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
7. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
9. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
10. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
หักลดหย่อนได้ตามจริง (ปัจจุบันคือ 30,000 บาท) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ : ประกันชีวิตแบบบำนาญ + RMF + SSF + PVD + กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน + กบข. + กอช. รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
11.
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มเงินบริจาค
1. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่า สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น
2. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ 1 เท่า
สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น
3. เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง
ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
1. ช้อปดีมีคืน
หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
2. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เห็นแบบนี้แล้วอย่าลืมเช็คอีกครั้งว่ามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีตัวไหนที่มีอยู่แต่ยังไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่เต็มสิทธิ จะได้ใช้สิทธิให้คุ้มค่า และใครที่ยังไม่ได้ลงทุนในกองทุน RMF หรือ SSF อาจต้องรีบตัดสินใจลงทุนให้ทันสิ้นปี เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย
วางแผนลดหย่อนภาษีด้วย RMF/SSF ดูรายละเอียดที่นี่
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
#SCBWEALTH #tax #วางแผนภาษี
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด