IEP 16: พลิกเกมธุรกิจกับคนทำอาหารตัวจริง

ปัจจุบันธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและระดับการแข่งขันสูงมาก เพื่อให้รู้เท่า-ก้าวทัน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว พัฒนาธุรกิจให้ทันกับยุคสมัย ทั้งด้านนวัตกรรม การนำข้อมูลมาใช้เพื่อประกอบในการแข่งขันในธุรกิจ การลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มกำไร การสร้างแบรนด์เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและเชื่อมต่อเครือข่ายพันธมิตรที่เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

“ไม่ว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไร อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ผู้บริโภคยังต้องการอยู่เสมอ”

คุณพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม SME ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวในงานเปิดห้องเรียนจำลองของหลักสูตร SCB IEP16: Food & Beverage GAME CHANGER ว่าธนาคารอยากมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัว ปรับองค์ความรู้ให้ทันสมัย เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้นไปตามที่ตั้ง Purpose ไว้ จึงจัดหลักสูตรนี้ขึ้นมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมหลักสูตร สิ่งที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมหลักสูตรจะได้รับนั้น “คุ้มเกินคุ้ม” จริง ๆ เพราะหลักสูตรนี้เข้มข้นไปกับ 13 คลาสเรียนอัดแน่นด้วย 19 เนื้อหาจากวิทยากรที่คัดสรรมาแล้ว 25 ท่าน พร้อมด้วย 6 โค้ชทางธุรกิจที่ประกบตลอดหลักสูตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้ใหม่ๆ ต่อยอดธุรกิจ รวมถึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจที่สามารถนำมาปรับใช้การบริหารกิจการต่อไป 


“รู้ทันเทรนด์ จึงจะเป็นผู้นำเกม”
 

คุณโชติกา ชุ่มมี, นักวิเคราะห์อาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้กล่าวถึง 4 เทรนด์ของอาหารที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ดังนี้ 

  • Healthy Choice อาหารสุขภาพ

ผู้บริโภคหันมาทานอาหารที่มีประโยชน์ดูแลสุขภาพมากขึ้น อาหารจำพวก Clean Food หรือ No Trans Fat ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยตลาดใหญ่อยู่ที่ยุโรป (รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น) ผู้เล่นในตลาดก็ต้องเริ่มปรับตัวให้ตามกระแส เช่น McDonalds มีการทำ Burger Organic ออกมาเป็น Organic Beef ที่มาจาก Austria หรือ Germany ส่วนคนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องลดมัน ลดหวาน ลดเค็ม และใส่ใจสุขภาพมากขึ้น Healthy Choice จึงยังเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจเพราะผู้บริโภคพร้อมที่จะจ่ายแพงขึ้น เพื่อคำว่า Organic
 

  • Elderly’s Choice อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ประชากรกลุ่มนี้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว  โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตไปถึง 28% หรือ 3.1 พันล้านคนในปี 2100 ซึ่งอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน จากการวิจัยประชากรที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2559 จะมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 100 ปี และในปี พ.ศ.2564 ไทยเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ คือมีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ ตลาดอาหารสำหรับผู้สูงอายุจึงน่าจับตามอง เพราะมีกำลังซื้อที่จะใช้จ่าย มีเวลา และมี Loyalty สูงมาก
 

  • Convenience Food

ด้วยสภาพความเป็นอยู่ของสังคมที่เปลี่ยนไป ความวุ่นวาย ความเป็นสังคมเมือง และการที่ผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้น ทำให้ร้านสะดวกซื้อกลายเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจที่มีตัวเลขการเติบโตรวดเร็วไม่แพ้ธุรกิจอาหารอื่น ๆ กระทั่งมีธุรกิจส่งวัตถุดิบในกาทำอาหารเกิดขึ้น เรียกว่า Meal Kit Delivery Service ที่จะจัดส่งกล่องที่บรรจุอาหารเกือบจะสำเร็จรูปได้ภายใน 24 ชม. เมื่อได้รับของผู้บริโภคก็สามารถนำวัตถุดิบนั้นทั้งหมดลงหม้อลงกระทะได้เลย เพราะหั่นล้างเตรียมให้หมดแล้ว สะดวกมาก คาดว่าธุรกิจนี้ยังจะเติบโตต่อไปในอนาคต

 

  • Halal อาหารฮาลาล

ด้วยตัวเลขประชากรมุสลิมที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ  แต่การลงมาเล่นสนามนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีความเฉพาะตัวและเคร่งครัดสูงมาก ตั้งแต่อาหารนั้นต้องได้รับใบ Certificate ว่าเป็น Halal Food นอกจากนั้น การจัดส่งไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม เช่น เรือ ตู้คอนเทนเนอร์  ท่าเรือ ต้อง Halal ทั้งหมด ถ้าหากใครสนใจในอาหารกลุ่มนี้ ก็ต้องเตรียมความพร้อมให้ดีทุกกระบวนการ 


นอกจากนี้ เทคโนโลยีของอาหารก้าวไปไกลมากจะเห็นได้จากข่าวเกี่ยวกับ Biotechnology ที่มีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใน Lab เพื่อให้เป็นอาหารที่ทานได้ หรือ เครื่องพิมพ์อาหาร 3 มิติ ที่แค่สร้างภาพว่าอยากได้อาหารหน้าตาแบบไหน แล้วกด Print เท่านั้นก็จะได้อาหารที่หน้าตาเหมือนในรูปออกมาทันที เราจะต้องปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้

The Future is Here, Move Now!

“ยกระดับธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี”

คุณพีชยา จิระธรรมกิจกุล ผู้จัดการ งานอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และสุขภาพ ฝ่ายสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมภาคเอกชน (ITAP)  ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าปัจจุบันมีผู้ประกอบการ ที่มีวัตถุดิบเหลือจากการผลิตก็สามารถเอามาแปรรูปเพื่อนำไปขายได้ เพียงแค่รู้ว่าตนเองสนใจด้านไหน อยากวิจัยอะไร เดินเข้ามาปรึกษาได้ หน่วยงานพร้อมสนับสนุนเต็มที่โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเริ่มด้วยการลงทุนเอง สามารถติดต่อ pilot plant เพื่อทดลองทำดูก่อนได้

คุณอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอาหารได้กล่าวย้ำว่า สถาบันอาหารก็เป็นอีกหน่วยงานที่พร้อมให้การสนับสนุน  โดยหน่วยงานจะช่วยแปลงไอเดียออกมาเป็นเชิงพาณิชย์ และหลังจากผลิตแล้วก็ให้ SCB ช่วย Matching ให้ต่อไป 

 

“พลิกเกมการผลิต สร้างสรรค์ product ให้โดนใจลูกค้าด้วย Data”

คุณชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์ -CEO Diamond Grain  กราโนล่าคลีนเจ้าแรกและมียอดขายอันดับ 1 ในประเทศไทยเล่าถึงที่มาของความสำเร็จว่า เดิมทีมุ่งหมายจะผลักดันแบรนด์สู่โมเดิร์นเทรด แต่ด้วยความไม่พร้อมทำให้ต้องลงเล่นในสนามออนไลน์ไปก่อน แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ดีสุดเพราะสามารถสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงได้ด้วยข้อความที่เธอต้องการบอกทั้งหมด จากการขายได้ 1 กล่อง สู่หลายหมื่นหลายแสนกล่อง รวมทั้งส่งออกต่างประเทศเพราะมองตัวเองเป็นฐานพิรามิดที่จะต้องไปให้ถึงความต้องการของลูกค้าบนจุดสูงสุด และความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวว่าทุกปัญหาในโลกนี้มีทางแก้ เมื่อเป็นนักธุรกิจที่เป็นนักแก้ปัญหา ทำให้ทุกวันนี้โมเดิร์นเทรดต่างวิ่งเข้าหาเธอ 

สร้างความต้องการของลูกค้าให้เพิ่มขึ้น ด้วย Content ที่แตกต่าง”

คุณอาริยะ คำภิโล-CEO & Founder Jones Salad –จากชายหนุ่มผู้ชื่นชอบงานวาดรูปที่บังเอิญไปได้สูตรน้ำสลัดสุดอร่อยมา ทำให้คุณก้องทดลองหาผักจากเพื่อนคุณแม่ และต้มไก่เองในคอนโดเพื่อนำมาขายเป็นสลัด จนวันนึงได้เปิดร้านเต็มตัวครั้งแรก แต่ก็ต้องเจออุปสรรคที่ท้าทาย โดยถูกขึ้นค่าเช่า 10 เท่า และขอแบ่งเปอร์เซ็นต์ยอดขายด้วย คุณก้องจึงตัดสินใจออกจากการเช่าที่แห่งนั้น และสร้างแบรนด์ขึ้นมา!


“ธุรกิจที่ยั่งยืน คือธุรกิจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นด้วย” ด้วย Concept ในการทำธุรกิจเช่นนี้ คุณก้องจึงวาดการ์ตูน “โจนส์สลัด” การ์ตูนที่ให้ความรู้เรื่องสุขภาพ โดยหาความรู้จากบทวิจัย สอบถามจากเพื่อนที่เป็นหมอ โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามมากว่า 1,000,000 คน Facebook Jones Salad

 “เป็นที่ 1 ในเกม ด้วยการ Spin Content ให้โดนใจ”


คุณรุจิภาส ฝันเซียน Community Manager Starving Time–
คุณนิคและเพื่อนผู้ก่อตั้งเพจตัดสินใจเลือกสนาม Facebook และ Instagram ในการทำรีวิวอาหารแบบ Local และ Street Food เพราะเป็นช่องทางที่จะสื่อสารถึงคนได้มากที่สุด โดยทุกบทความมาจากการเลือกร้านที่ใช่ เมนูที่เป็นกระแสได้  รีวิวและถ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด เพจที่เริ่มจากคนสองคน แต่มี followers ถึง 4.2 ล้านคน ผลิต content เพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้อ่านโดยเฉพาะ

คุณนิคเล่าว่า เราต้องเลือกใช้ platform ให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกใจคน เช่น ร้านเค้กที่แต่งหน้าเค้กได้สวยงาม เราอาจจะเลือกลงใน Instagram แต่ถ้าเป็นร้านอาหารที่มี activity ก็อาจจะเลือก Facebook ที่มีเครื่องมือในการติดต่อพูดคุยและเก็บข้อมูลลูกค้าได้ง่ายกว่า อีกทั้งต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มา disrupt พวกเราในทุกวันนี้  ผู้ประกอบการทุกคน พร้อมจะเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่? 

“ดีไซด์แบรนดิ้งให้โดดเด่น และเป็นที่รู้จักมากขึ้น”

คุณนภนีรา รักษาสุข กรรมการผู้จัดการ Yindee Design – การสร้างแบรนด์ต้องใช้เวลาเหมือนค่อยๆ หยอดเงินสะสมในกระปุก รอวันที่ลูกค้าจดจำเราได้ และมีความต้องการอยากจะใช้บริการของเรา ลองถามตัวเองดูว่า “เรามีแบรนด์หรือยัง แล้วแบรนด์ของเราคืออะไร” บอกกันตรงนี้ว่าแบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้เท่ๆ แต่จะเป็นอะไรนั้น ต้องมาเรียนกับห้องเรียนจำลอง


ยุคแห่ง Data Evolution ขับเคลื่อนองค์กร

คุณกุลวัชร ภูริชยวโรดม กรรมการผู้จัดการร้านอาหารญี่ปุ่นโชนัน ที่มี 19 สาขา ทั้งกรุงเทพ และปริมณฑล กล่าวว่า การนำข้อมูลที่ได้มาใช้วิเคราะห์จะช่วยทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ และทำยอดขายได้มากขึ้น ทั้งนี้การจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจก็ช่วยส่งเสริมให้แบรนด์สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ จากลูกค้าได้ 

คุณมิตรดนัย สถาวรมณี กรรมการผู้จัดการ Farm Coro Field ฟาร์มสไตล์ญี่ปุ่นแห่งสวนผึ้ง จ. ราชบุรี เล่าว่าที่ฟาร์มมีกิจกรรมให้ทำมากมาย อีกทั้งยังมีร้านอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมผลิตผลทางการเกษตรให้เลือกซื้อกลับบ้าน ซึ่งการใช้เครื่องมือ OKR (Objective & Key Result)  จะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย และเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอปีถัดไป
 

สำหรับผู้ที่สนใจ หลักสูตร “SCB IEP 16: Food & Beverage GAME CHANGER” สามารสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2562 - 10 กันยายน 2562 (ภายในเวลา 17.00 น.)  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมลงทะเบียนได้ที่ https://scbsme.scb.co.th/seminar-detail/196  ฟรี! รับจำนวนจำกัด