ขายของได้ แต่ไม่มีเงินหมุน ปัญหาของเถ้าแก่ที่มีทางออก

“โอ๊ยเบื่องานประจำ อยากออกมาทำธุรกิจเล็กๆ เป็นของตัวเองกับเขาบ้าง” เถ้าแก่ผู้เป็นคู่สนทนาตอบกลับด้วยน้ำเสียงล้าๆ ว่า “คิดดีแล้วเหรอ มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดหรอกนะ ปัญหาเยอะมาก” ชีวิตเถ้าแก่จำนวนมากต้องตกหลุมอากาศอยู่เป็นประจำ ยิ้มดีใจที่ยอดขายเยอะได้ไม่กี่วัน ก็ต้องมาเครียดหนักเพราะมีปัญหาเงินสดขาดมือ ขายของได้ แต่ไม่มีเงินหมุน นี่แหละปัญหาหนักอก ปวดใจของคนเป็นเถ้าแก่


“ตอนนี้มีแต่ซัพพลายเออร์โทรมาทวงเงินค่าของ เราขายของได้แต่ไม่พอกับที่ต้องจ่าย จนไม่กล้ารับโทรศัพท์แล้ว นี่ไม่มีเงินผ่อนบ้านมาสามเดือนแล้ว ท้อมาก” เจ้าของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินรายหนึ่งบ่น สถานการณ์แบบนี้เรียกว่าเป็นปัญหาที่คนทำธุรกิจขนาดเล็กหลายรายต้องเผชิญ ว่ากันว่าสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดจิ๋ว กำไร-ขาดทุนนั้นเป็นเรื่องรอง ขอให้เงินสดอย่าหมดก็แล้วกัน หลายธุรกิจต้องจ่ายค่าวัตถุดิบด้วยเงินสด ยิ่งลูกค้ามากขึ้นยิ่งต้องลงทุนมากขึ้น เก็บเงินลูกค้าเป็นเงินสดบ้าง เป็นเครดิตบ้าง แต่การลงทุนก็ต้องใช้เงินสด ลงทุนเพิ่มก็เป็นเงินสดเพิ่ม แต่หลายธุรกิจรายรับเป็นเครดิตสองเดือนบ้าง สามเดือนบ้างกว่าจะได้รับเงิน กลายเป็นว่าสิ้นเดือนหมุนเงินไม่ทัน ไม่มีเงินจ่ายลูกน้อง ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าร้าน ค่าผ่อนรถ เสียเครดิตไปอีก กลายเป็นดินพอกหางหมู แล้วปัญหาก็ใหญ่ขึ้นมาจนบางคนต้องหมดตัว คำว่า “สภาพคล่อง” เลยกลายเป็นภาพหลอนที่สลัดไม่ออกของคนทำธุรกิจ

กูรูหลายท่านอาจบอกว่า แล้วทำไมไม่ทำตามสูตร ซื้อเชื่อ-ขายสด แทนจะได้หมดปัญหานี้ แต่ในความเป็นจริงที่ธุรกิจรายเล็กต้องเจอคือ อำนาจในการต่อรองไม่มีได้มากขนาดนั้นไม่ว่าจะต่อรองกับซัพพลายเออร์เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ถูกที่สุด หรือต่อรองกับลูกค้าให้จ่ายเงินเร็วๆ ก็ตาม “ปัญหาของรายเล็กๆ อย่างเราคือมันสู้กับเจ้าใหญ่ๆ ยาก เราต่อรองอะไรไม่ได้มาก” จากที่ควรเป็นคือ ซื้อเชื่อ -ขายสด กลายเป็นตรงข้ามคือ ซื้อสด – ขายเชื่อ มันเลยจบที่เงินสดขาดมือ เจ้าของธุรกิจซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ระบายว่า “ปวดหัว ว่าเราจะหมุนเงินกันยังไง เพราะเวลาเราซื้อของกับซัพพลายเออร์ เราต้องซื้อเงินสด เพื่อให้ได้ราคาที่เราสามารถเอาไปทำกำไรต่อได้ แต่บริษัทใหญ่ๆ ที่เป็นลูกค้าเราเขาขอเครดิตที่ 90 วัน ก็สามเดือนโน่นกว่าเราจะได้ตังค์”


ทางรอดคือต้องหาแหล่งเงินกู้ แต่จะขอสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการทำธุรกิจก็ติดปัญหาหลายอย่าง ทั้งไม่มีการทำบัญชีอย่างเป็นระบบ ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน  เขียนแผนธุรกิจก็ไม่เป็น  ทำให้กู้ไม่ได้


เจ้าของร้านซ่อมคอมพิวเตอร์รายเดิมเล่าต่อว่า “เคยไปติดต่อกู้ธนาคารนึงเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่เขาบอกว่าต้องมีเงินเดินบัญชีไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาทต่อเดือน เฮ้อ! ถ้าผมมีเงินหมุนเวียนเยอะขนาดนั้นจะมากู้ทำไมครับ แถมกู้ครั้งแรกให้ไม่เกินเจ็ดหมื่น แต่คิดว่าน่าจะได้ประมาณห้าหมื่น เขาบอกว่าถ้าจะให้เยอะกว่านี้ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งผมก็ไม่มี ขนาดร้านยังเช่าเขาอยู่ บางทีก็ท้อครับ” เมื่อกู้ในระบบไม่ได้หลายรายจึงต้องหันไปพึงหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยมหาโหด เพราะคิดว่าเป็นทางรอดเดียวที่เหลืออยู่


แต่เดี๋ยวก่อน วันนี้เจ้าของกิจการมีทางเลือกที่ดีกว่าในการแก้ปัญหาสภาพคล่อง ให้คุณกู้ง่ายขึ้น ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน เพื่อช่วยให้คุณมีภาระน้อยลงและมีเงินเหลือไปหมุนเวียน ต่อยอดธุรกิจได้มากขึ้น สมัครเองง่ายๆ ได้ทันทีผ่าน SCB EASY App