จดทะเบียนสมรสดีมั้ย? รวมเช็กลิสต์สิ่งที่ควรรู้ก่อนไปจดทะเบียนสมรส

‘จดทะเบียนสมรสดีมั้ย?’ น่าจะเป็นคำถามของใครหลายคนที่กำลังวางแผนแต่งงานอยู่ อันที่จริงการแต่งงานนั้นไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรส กล่าวคือ การจดทะเบียนสมรสขึ้นอยู่กับความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แล้วเราจะตัดสินใจอย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมาดูข้อดี ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรสกันก่อน

marriage-certificate

ประเด็น

จดทะเบียนสมรส

ไม่จดทะเบียนสมรส

1. สิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย

  • การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  • สิทธิที่ภรรยาจะได้ใช้ชื่อสกุลสามี และเปลี่ยนสัญชาติตามสามีได้ (หรือไม่เปลี่ยนก็ได้)
  • สิทธิที่จะได้รับมรดกหากอีกฝ่ายจากไปก่อน (เป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดก)
  • สิทธิที่จะหึงหวงคู่สมรสอย่างถูกกฎหมาย ถ้ามีชู้ สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายจากคู่สมรสและชู้ได้
  • ถ้าหย่าร้าง มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้
  • มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเอาผิดแทนกันได้
  • มีสิทธิรับเงินสินไหม หรือเงินชดเชยจากราชการ กรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ
  • ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้ตามกฎหมาย
  • ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ยกเว้นมีชื่อเป็นทายาทตามพินัยกรรม (พินัยกรรมระบุให้รับมรดก)

2. ทรัพย์สิน

  • สินสมรส ได้แก่ รายได้ ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังสมรสแล้ว รวมถึงดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งต่างก็มีอำนาจจัดการสินสมรสเองได้ ไม่ต้องขออนุญาตต่อกัน เว้นแต่เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว ตามที่กฎหมายบัญญัติควบคุมไว้ จะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน
  • ต่างฝ่ายมีสิทธิในสินสมรสกึ่งหนึ่ง
  • หากพิสูจน์ได้ว่ามีการอยู่กินฉันท์สามีภรรยา มีทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จะถือว่ามีสิทธิร่วมกันในทรัพย์สินนั้น โดยจะมีสิทธิในทรัพย์คนละครึ่ง แต่หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมให้แบ่งทรัพย์สิน อาจต้องฟ้องร้อง (และต้องหาหลักฐานมายืนยัน)

3. การทำนิติกรรมต่างๆ

  • ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ทำให้มีความยุ่งยากในการจัดการทรัพย์สิน
  • ถ้าเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีสิทธิร่วมกัน ต้องได้รับความยินยอมเช่นกัน แต่ถ้าเป็นนิติกรรมส่วนตัว ไม่ต้องขอความยินยอม

4. หนี้สิน

  • หนี้ส่วนตัว ใช้สินส่วนตัวชำระก่อน ถ้าไม่พอจึงใช้สินสมรสในส่วนของตน
  • หนี้ร่วม (หนี้สมรส) เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกบังคับชำระหนี้ได้จากสินสมรส หากไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกเอาจากสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย
  • ถ้ามีหนี้สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน ใช้ทรัพย์สินที่มีสิทธิ์ร่วมชำระ
  • ถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ก็เป็นภาระส่วนตัว

5. บุตร

  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งบิดาและมารดา
  • ในกรณีเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย บิดาหรือมารดา มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าสินไหม แทนกันและกัน ตัวอย่างเช่น รับเงินชดเชย ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่ผู้เยาว์ มีบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองยังมีชีวิตอยู่
  • เป็นทายาทโดยธรรมของทั้งบิดาและมารดา
  • บิดามารดาก็เป็นทายาทโดยธรรมของบุตรเช่นกัน
  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของมารดาเท่านั้น และจะไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดา เว้นแต่บิดาจดรับรองบุตร หรือรับรองโดยพฤติการณ์ (เชิดชู ให้ใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู) บุตรจึงจะมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของบิดา และสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูได้   (แต่บิดาไม่มีสิทธิรับมรดกจากบุตร เพราะไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย)

6. การลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนคู่สมรส*
  • ลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรส*
  • ลดหย่อนประกันชีวิตของคู่สมรส*
  • ลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดามารดาคู่สมรส*
  • ลดหย่อนบุตร
  •  มีสิทธิเลือกที่จะแยกยื่นแบบหรือรวมยื่นแบบกับคู่สมรสได้ เพื่อการวางแผนภาษีที่เหมาะสม

   * กรณีรวมยื่นหรือคู่สมรสไม่มีรายได้

  • ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้

6. ผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต

  • เงินคืนรายงวด เงินปันผล และเงินครบสัญญาจากกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นสินสมรส
  • หากเป็นผู้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต เช่น พ่อแม่ทำประกันชีวิตไว้ และให้คู่สมรสเป็นผู้รับผลประโยชน์ หากพ่อแม่เกิดเสียชีวิต ผลประโยชน์ที่ได้จากกรมธรรม์ถือเป็นสินส่วนตัว
  • ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว

7. หากต้องการเลิกรากัน

  • ต้องไปจดทะเบียนหย่า ซึ่งหากอีกฝ่ายไม่ยินยอม ต้องฟ้องร้องกัน
  • สามารถเลิกรากันได้เลย

กล่าวโดยสรุป ความรักไม่ได้อยู่ที่ทะเบียนสมรส หรือกฎหมาย แต่อยู่ที่หัวใจของคู่รัก ทำให้การจดทะเบียนสมรสจะดีกับเราหรือไม่ ก็อยู่ที่การพูดคุยของทั้ง 2 ฝ่าย และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และหาข้อตกลงร่วมกันบนพื้นฐานของความสุขในครอบครัวจะดีกว่า

 

บทความโดย :  นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร