แอ่วเหนือสุดแดนสยาม ทำบุญ 5 วัด เพิ่มโชคเสริมดวง

คำขวัญประจำจังหวัดที่น้องมีบุญจะพาไปเยือนในวันนี้คือ “เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ผดุงวัฒนธรรม รสล้ำข้าวสาร หอมหวานลิ้นจี่ สตรีโสภา ชาเลิศรส สับปะรดนางแล แหล่งแพร่ปลาบึก” ใช่แล้ว... น้องมีบุญจะพาไปเที่ยววัดทำบุญกันที่เชียงราย จังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนมา และประเทศลาว ถือเป็นรอยต่อของ 3 ประเทศ จึงมีชื่อเรียกบริเวณรอยต่อนั้นว่าสามเหลี่ยมทองคำซึ่งเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดด้วย

Chiangrai-5temples-01
วัดขัวแคร่

วัดแรกของทริปนี้ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อยู่คู่เมืองเชียงรายมาช้านาน แต่ไม่มีการระบุประวัติที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด หากอิงจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 8 กล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439

คำว่า “ขัว” หมายถึง สะพาน และคำว่า “แคร่” หมายถึง ไม้ไผ่ที่นำมาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาปูพื้น เมื่อรวมกันเป็นคำว่า “ขัวแคร่” จึงน่าจะหมายถึงสะพานที่สร้างจากไม้ไผ่ซีกเล็กๆ ปูเป็นพื้นทางเดิน สันนิษฐานว่าในอดีตอาจเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่สันดอนใกล้หนองน้ำ บริเวณนี้มีโบราณสถาน และซากอิฐโบราณอยู่หลายแห่งเช่นกัน และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของบ้านขัวแคร่ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มอู่ข้าว อู่น้ำ และทิศตะวันตกเป็นภูเขา จึงเป็นดินแดนที่กลุ่มชนต่างๆ อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ทั้งจากสิบสองปันนา เชียงรุ้ง เชียงตุง เข้ามาสร้างบ้านเรือน ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมามีกลุ่มชนจากเชียงใหม่ ได้มาสร้างบ้านเรือน ไร่นา ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในปัจจุบัน เมื่อมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านขัวแคร่ถูกใช้เป็นคลังเสบียง คลังน้ำมัน โดยบริเวณวัดถูกใช้เป็นค่ายที่พักของทหารไทย จนเมื่อสงครามยุติลง ก็ได้มีกลุ่มชนจากพะเยาเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนเพิ่มเติม

จุดเด่นของวัดขัวแคร่ คือ พระมหาวิหารหลวงพญาเจ้ามังรายมหาราช สร้างตามแบบศิลปะล้านนาประยุกต์ ตุงมหาชัยมงคล และซุ้มประตูหลวงพญาเจ้ามังรายมหาราชที่ครอบด้วยสแตนเลส ผนังด้านนอกบุด้วยหินอ่อนทั้ง 4 ด้าน ทิศใต้มีพญานาค 2 ตน รักษาประตู มีนามว่าเจ้าสุวัณณคำแดง และเจ้าแสนหิรัญเมือง ภายในประดับด้วยตุงชัยมงคล 12 ราศี 14 ตัว เสาภายในทั้งหมด 14 ต้น เขียนลายคำพฤกษาล้านนา และเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระเข้าต๋นหลวง เป็นพระพุทธปฎิมาประธาน ประจำพระมหาวิหาร ภายในบริเวณวัด ยังมีพระอุปคุตเถระ หรือพระบัวเข็ม หอพระแก้วพันธุมติรัตนอะณาเขรษบุรี เรือนไทยหอเจ้าหลวง กาญจนาภิเษก 50 ปี ทั้งหมดล้วนงดงามประทับใจเมื่อได้มาเยี่ยมชม

ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/dhncxmBm7ej6Y1cx6

522 ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 1 บ้านขัวแคร่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100

วัดร่องเสือเต้น

ไม่ไกลจากวัดขัวแคร่ เราจะได้พบวัดแห่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นไม่นาน โดยสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ. 2559 นั่นคือ “วัดร่องเสือเต้น” ซึ่งอาจไม่เป็นที่รู้จักนัก แต่หากเรียกว่า “วัดสีน้ำเงิน” หลายๆ คนต้องร้องอ๋อ แม้ภายนอกจะดูเป็นวัดใหม่ แต่เมื่อย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 80 - 100 ปีก่อน ที่แห่งนี้เคยเป็นวัดร้างมาก่อน มีการค้นพบซากอิฐโบราณเป็นจำนวนมาก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันว่า บริเวณนี้ไม่มีบ้านเรือนหรือผู้คนอาศัยอยู่เท่าใดนัก แต่กลับมีสัตว์ป่าจำนวนมากโดยเฉพาะเสือที่กระโดดข้ามร่องน้ำไปมา จึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้กันว่า “ร่องเสือเต้น” และชื่อนี้ก็ได้กลายมาเป็นชื่อของหมู่บ้านเช่นกัน

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2539 ชาวบ้านในหมู่บ้านต้องการบูรณะวัดร้างแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมจิตใจ และประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา โดยได้ศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงราย คือ คุณพุทธา กาบแก้ว หรือ สล่านก (ช่างนก) ซึ่งเคยเป็นลูกมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในการสร้างวัดร่องขุน และที่นั่นทำให้สล่านก มีโอกาสได้เรียนรู้งานศิลปะปูนปั้น เมื่อมีโอกาสจึงได้ใช้ความรู้ และประสบการณ์ทั้งหมดมาสร้างวัดร่องเสือเต้นให้มีความสวยงามตามแบบพุทธศิลป์ เนื่องจากเคยบวชเรียนจนเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และต้องการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า จึงสร้างจุดเด่นของวัดโดยใช้ความงามของศิลปะเป็นสะพานเชื่อมให้คนเข้าหาธรรมะ เข้าวัดวาอาราม โดยใช้สีน้ำเงินตัดกับสีทองที่แสดงถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้เผยแผ่ไปทั่วโลก เป็นหลักคำสอนที่อิงความจริงตามหลักเหตุ และผล ที่สำคัญยังคงความสวยงามอยู่

ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติด้วยลายเส้นที่สวยงามชดช้อย ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธานสีขาวมุก หน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 6.5 เมตร ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มาบรรจุบริเวณพระเศียร รวมถึงพระราชทานนามว่า “พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ” อันหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงมงคล เป็นเจ้าในความเป็นราชา เป็นที่พึ่งในสามโลก ด้านหน้าของพระวิหารมีพญานาค 2 ตนซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลป์ของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี อีกหนึ่งศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พญานาคที่วัดร่องเสือเต้นจึงดูน่าเกรงขาม แต่ก็คงไว้ซึ่งความวิจิตรตระการตาไม่แพ้ศิลปะภายในพระอุโบสถ ส่วนด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติสีขาวองค์ใหญ่ และภายในบริเวณวัดยังมีพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์ ที่มีความสูง 20 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เช่นกัน

ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/fQJaY4tqxknWXSiUA

306 หมู่ที่ 2 ถนนแม่กก ตำบล ริมกก อำเภอ เมืองเชียงราย เชียงราย

วัดพระสิงห์

ใกล้ๆ กันกับวัดร่องเสือเต้น คือวัดพระสิงห์ พระอารามหลวงเก่าแก่แห่งเชียงราย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.1928 ในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม ซึ่งเสวยราชย์ ณ เชียงราย ช่วงปี พ.ศ.1888 - พ.ศ.1943 และเป็นพระอนุชาของพญากือนา ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ชื่อวัดพระสิงห์นั้น คาดว่า ที่นี่เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยในปัจจุบัน คือ พระพุทธสิหิงค์ แต่ทางภาคเหนือล้านนานิยมเรียกว่า พระสิงห์ นั่นเอง ปัจจุบันยังมีพระสิงห์จำลอง ปางมารวิชัย แบบศิลปะเชียงแสนสร้างด้วยสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 37 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 66 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่บนบุษบกในกุฏิเจ้าอาวาส ถือเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองเชียงราย โดยประชาชนสามารถกราบไหว้สักการะได้

ภายในวัด มีพระอุโบสถ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2432 - 2433 รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาสมัยเชียงแสน โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2504 ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถเพื่อให้มีสถาพที่สมบูรณ์ สวยงามยิ่งขึ้น โดยทำการบูรณะครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ.2533 ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน พระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทองรูปแบบศิลปะล้านนา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 หน้าตักกว้าง 204 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 284 เซนติเมตร ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมล้านนาว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา” อันหมายถึง ปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ในทางพระพุทธศาสนาที่ระบุว่า สภาวะธรรมทั้งปวงมี 3 ประเภท คือ

1. ธรรมทั้งหลายที่เป็น “กุศล” ก็มี

2. ธรรมทั้งหลายที่เป็น “อกุศล” ก็มี

3. ธรรมทั้งหลายที่อยู่นอกเหนือจาก “กุศลและอกุศล” ก็มี

และยังมีบานประตูหลวง ออกแบบโดย อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี และแกะสลักโดย อำนวย บัวงาม หรือสล่านวย และช่างอีกหลายท่านในการร่วมกันแกะสลักบานประตูนี้ บานประตูมีขนาดกว้าง 2.40 เมตร ยาว 3.50 เมตร และหนา 0.20 เมตร ใช้เวลาแกะสลักเกือบ 1 ปี นอกจากนี้ ก็ยังมีพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณ ว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา” สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช และวัดนี้เคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา จุดสุดท้ายที่ไม่ควรพลาด คือหอระฆัง สถาปัตยกรรมแบบล้านนาประยุกต์ มีระฆังทรงใบระกา หล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง สูง 25 นิ้ว ยาว 29 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ขุดพบในบริเวณวัดเมื่อปี พ.ศ. 2438 หาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ส่วนด้านล่างของหอระฆังเป็นหอกลอง และต้นไม้สำคัญทางพระพุทธศาสนาอีก 2 ต้น คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งนำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย และต้นสาละลังกา ที่นำมาจากศรีลังกา

ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/r8DV85rUeb4D1fAD6

        ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

วัดเจดีย์หลวง

วัดพระเจ้าตนหลวง เป็นอีกชื่อที่รู้จักกันดีของวัดเจดีย์หลวง ที่นี่เป็นวัดโบราณ สร้างแบบสถาปัตยกรรมล้านนาเก่าแก่ โดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาไท โดยในตำนานมีการกล่าวถึงปีพ.ศ.ที่สร้าง 2 แบบ คือ การสร้างในปี พ.ศ. 1834 หลังจากที่ทรงสร้างกำแพงเมืองเชียงแสนแล้ว 3 ปี แต่อีกตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1887 หลังจากนั้นพระเจ้าแสนภูเสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่แทนพระราชบิดา ซึ่งเสด็จกลับมาประทับยังเมืองเชียงรายพร้อมทั้งนำอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราชกลับมายังเชียงรายด้วย ชื่อ “เจดีย์หลวง” มีที่มาจากเจดีย์ทรงระฆังกลมฐานแปดเหลี่ยมแบบล้านนาแห่งนี้ สูง และใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน และทางเหนือจะเรียกของที่มีขนาดใหญ่ว่า “หลวง” โดยมีขนาดสูง 88 เมตร มีฐานกว้าง 24 เมตร ด้วยความเก่าแก่ สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.2478

เมื่อเดินผ่านกำแพงแก้วรอบวิหารแล้วจะพบกับความสงบร่มเย็นจากต้นไม้ขนาดใหญ่ วิหารปัจจุบันได้เสริมหลังคาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาสักการะ ซึ่งภายในมีหลวงพ่อเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เป็นพระประธานประดิษฐานบนฐานที่ยกสูงขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิหารอีกหลายแห่งอยู่ภายในบริเวณวัด แต่ด้วยระยะเวลาที่ล่วงเลยมากว่า 700 ปีแล้ว ทำให้ส่วนต่างๆ ปรักหักพังลงไปบ้าง แต่ทางวัดก็พยายามบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอเพื่อให้สมกับเป็นวัดสำคัญแห่งเมืองหิรัญนครเงินยาง ในสมัยอาณาจักรล้านนาไทย

ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/q2rtGVCD12LiCV8u5

        635 หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง

วัดพระเจ้าตนหลวง เป็นอีกชื่อที่รู้จักกันดีของวัดเจดีย์หลวง ที่นี่เป็นวัดโบราณ สร้างแบบสถาปัตยกรรมล้านนาเก่าแก่ โดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาไท โดยในตำนานมีการกล่าวถึงปีพ.ศ.ที่สร้าง 2 แบบ คือ การสร้างในปี พ.ศ. 1834 หลังจากที่ทรงสร้างกำแพงเมืองเชียงแสนแล้ว 3 ปี แต่อีกตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1887 หลังจากนั้นพระเจ้าแสนภูเสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่แทนพระราชบิดา ซึ่งเสด็จกลับมาประทับยังเมืองเชียงรายพร้อมทั้งนำอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราชกลับมายังเชียงรายด้วย ชื่อ “เจดีย์หลวง” มีที่มาจากเจดีย์ทรงระฆังกลมฐานแปดเหลี่ยมแบบล้านนาแห่งนี้ สูง และใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน และทางเหนือจะเรียกของที่มีขนาดใหญ่ว่า “หลวง” โดยมีขนาดสูง 88 เมตร มีฐานกว้าง 24 เมตร ด้วยความเก่าแก่ สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.2478

เมื่อเดินผ่านกำแพงแก้วรอบวิหารแล้วจะพบกับความสงบร่มเย็นจากต้นไม้ขนาดใหญ่ วิหารปัจจุบันได้เสริมหลังคาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาสักการะ ซึ่งภายในมีหลวงพ่อเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เป็นพระประธานประดิษฐานบนฐานที่ยกสูงขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิหารอีกหลายแห่งอยู่ภายในบริเวณวัด แต่ด้วยระยะเวลาที่ล่วงเลยมากว่า 700 ปีแล้ว ทำให้ส่วนต่างๆ ปรักหักพังลงไปบ้าง แต่ทางวัดก็พยายามบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอเพื่อให้สมกับเป็นวัดสำคัญแห่งเมืองหิรัญนครเงินยาง ในสมัยอาณาจักรล้านนาไทย

ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/q2rtGVCD12LiCV8u5

        635 หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

น้องบุญมี พาท่องเที่ยวสุขใจ ไหว้พระ ทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล ขอชวนมาบริจาคเงินทำบุญแบบ E-Donation บำรุงศาสนสถานสร้างบุญกุศลผ่านแอป SCB EASY มีขั้นตอนดังนี้
>> สแกน QR Code ทำบุญทันใจ
>> กด ‘ยอมรับ’ ให้ธนาคารที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลรายการนี้ ให้แก่กรมสรรพากร และ/หรือหน่วยรับบริจาค เพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
>> ใส่จำนวนเงินบริจาค กดปุ่มยืนยัน เงินก็ส่งไปเข้าบัญชีวัดโดยตรง

ข้อมูลบริจาคที่ส่งไปกรมสรรพากรจะถูกนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยเราสามารถคลิกดูรายละเอียดข้อมูลที่บริจาค E-Donation ไปแล้วที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ง่ายสะดวกทันใจสายบุญยุคดิจิทัล