ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME)
ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อธุรกิจ
สำหรับ SME
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
7 กลยุทธ์การลงทุนด้วย ESG
การลงทุนที่คำนึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) นั้น มีกลยุทธ์หลากหลายรูปแบบ วันนี้ผมขอนำ 7 กลยุทธ์การลงทุนบนประเด็น ESG มาแบ่งปันให้ทุกท่านพิจารณา ดังนี้ครับ
กลยุทธ์ที่ 1 Negative Screening
หรือ การคัดกรองเชิงลบ วิธีนี้จะเน้นคัดกรองบริษัทเฉพาะรายหรือเฉพาะกลุ่มออกไปจากกองทุนหรือพอร์ตโฟลิโอ โดยกำหนดเกณฑ์การยกเว้นไม่ลงทุนในบริษัทหรือกลุ่มใดเอาไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้า เช่น กิจการที่อาจขัดต่อหลักจริยธรรม ไม่ว่าจะเป็น ยาสูบ การพนัน การค้าอาวุธ การใช้แรงงานบังคับ หรือกิจการที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่สูง รวมถึงกิจการที่มีผลการดำเนินงานด้าน ESG ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ 2 Best-In-Class Screening
หรือ การคัดเลือกบริษัทที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือตลาดเดียวกัน หรือกำหนดหลักเกณฑ์ ESG ในการคัดกรองที่เฉพาะเจาะจง เช่น ต้องการลงทุนใน 10 บริษัทเครื่องแต่งกายที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด
กลยุทธ์ที่ 3 Portfolio Tilt
หรือ การให้น้ำหนักบนพอร์ตโฟลิโอโน้มเอียงไปยังสินทรัพย์ที่มี ESG มากกว่าสินทรัพย์ที่ไม่มี ESG โดยวิธีการนี้ จะยังเน้นรักษาสัดส่วนน้ำหนักในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ใกล้เคียงกับดัชนีเป้าหมายเอาไว้ เช่น กรณีลงทุนในดัชนี Russel3000 ด้วยวิธีนี้ ก็จะยังลงทุนในบริษัททั้งหมดในดัชนีเพื่อบริหารความเสี่ยงให้ได้เท่ากับดัชนีโดยรวม เพียงแต่จะให้น้ำหนักลงทุนในบริษัทที่มีคะแนน ESG สูง มากกว่าบริษัทที่มีคะแนน ESG ต่ำ
กลยุทธ์ที่ 4 ESG Integration
หรือ การบูรณาการประเด็น ESG ก็คือ แทนที่จะคัดกรองบริษัทที่ไม่ใช่ออกไป หรือเลือกบริษัทที่ใช่ที่สุด ก็ใช้วิธีการนำเอาประเด็น ESG เข้าไปผนวกอยู่ในกระบวนการลงทุนของบริษัทด้วยเลย ภายใต้ความเชื่อที่ว่า การลงทุนในบริษัทที่มีคะแนน ESG สูง จะช่วยเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนให้พอร์ตลงทุนได้
กลยุทธ์ที่ 5 Shareholder Action หรือ การมีส่วนร่วมหรือใช้อำนาจในฐานะผู้ถือหุ้น สำหรับการสนับสนุนโครงการริเริ่มสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ ESG ที่บริษัทลงทุนอยู่ เพื่อค้นหาโอกาสจาก ESG
กลยุทธ์ที่ 6 Activist Investing
หรือ การลงทุนเชิงรุกโดยการเข้าซื้อหุ้น เพื่อเข้าไปเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน โน้มน้าวให้บริษัทมีการดำเนินการโครงการริเริ่มด้าน ESG
กลยุทธ์ที่ 7 Sustainability-Themed Investing
หรือ การลงทุนภายใต้ธีมความยั่งยืน ซึ่งก็จะมีความคล้ายคลึงกับการคัดกรองเชิงบวกเล็กน้อย แต่สิ่งที่แตกต่างออกไป คือ จะเน้นการลงทุนตามเทรนด์ ESG แทนที่จะคัดเลือกบริษัทหรือกลุ่มอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ เราไม่จำเป็นต้องเลือกใช้กลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งไปเลย แต่สามารถใช้หลายกลยุทธ์ผสมผสานกันได้ อย่างเช่น SCB CIO ที่ในปัจจุบัน เราใช้กลยุทธ์การลงทุนทั้ง Negative Screening, ESG Integration รวมไปถึง Sustainability-Themed Investing โดยเราจะกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปลงทุนในธุรกิจลักษณะใด รวมทั้งนำประเด็น ESG บูรณาการอยู่ในทุกกระบวนการลงทุน ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มโอกาสด้วยการลงทุนที่เฉพาะเจาะจงบนธีมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น พลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ดี หากท่านไม่ได้เป็นผู้ลงทุนในสินทรัพย์นั้นเองโดยตรง แต่ลงทุนผ่านกองทุนรวม แล้วต้องการลงทุนโดยใช้ประเด็น ESG ท่านก็สามารถพิจารณาจากนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ที่นำเสนอกองทุนรวมนั้น ๆ ว่า มีกลยุทธ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ลงทุนอย่างไร มีการพิจารณาประเด็น ESG ด้วยกลยุทธ์ใดบ้าง และนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมนั้นที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน แสดงหลักการพิจารณาประเด็น ESG ไว้เช่นไร เพียงเท่านี้ ท่านก็จะทราบแล้วว่า แนวทางในการคัดเลือกหลักทรัพย์ บริหารจัดการกองทุนรวมนั้น ตรงกับความต้องการของท่านที่คำนึงถึงประเด็น ESG หรือไม่ อย่างไร
Source :
· https://online.hbs.edu/blo/post/esg-investment-strategies
คำเตือน
· การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
· สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777
ข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 2567
บทความโดย
คุณศรชัย สุเนต์ตา, CFA
SCB Wealth Chief Investment Officer รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Investment Office and Product Function กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)