PDPA คืออะไร? พ.ร.บ.เกี่ยวกับธุรกิจที่ผู้ประกอบการควรรู้

ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น  ชื่อ-นามสกุล   หมายเลขโทรศัพท์   ที่อยู่   อีเมล  หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน   รูปถ่าย   ประวัติการทำงาน   อายุ    และรวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว   เช่น  เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเห็นทางการเมือง ความเชื่อ  ลัทธิ  ศาสนา  พฤติกรรมทางเพศ  ประวัติอาชญากรรม  ข้อมูลด้านสุขภาพ   ข้อมูลทางพันธุกรรม และข้อมูลทางชีวภาพ  สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  หรือ  PDPA  ที่ย่อมาจาก  Personal Data Protection Act  ที่มีผลบังคับในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 โดยองค์กรหรือหน่วยงานไม่ว่าจะจากภาครัฐหรือเอกชนที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือประชาชน  ต้องไม่นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับความยินยอม


สำหรับผู้ประกอบการที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า  พนักงาน  ลูกจ้างภายในองค์กรไว้ จะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดของ  PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับนี้   เพราะถ้าหากจัดเก็บข้อมูลไม่ถูกต้อง  ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล  รวมไปถึงการนำข้อมูลไปใช้หรือเอาไปเปิดเผยโดยไม่ตรงตามข้อกฎหมาย    อาจมีความเสี่ยงที่จะทำผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษทั้งทางแพ่ง  อาญาและโทษทางปกครองอีกด้วย  ฉะนั้นจากนี้ไปไม่ว่าจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมาตั้งแต่ก่อนที่จะมี  พ.ร.บ. หรือเคยได้รับความยินยอมมาก่อนหน้าจะไม่ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมตลอดไป  หรือจะนำเอาไปใช้อย่างไรก็ได้เหมือนแต่ก่อน  ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการบังคับใช้กฎหมาย  PDPA  ดังนี้

pdpa-info

แม้ว่า PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ  พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะเป็นกฎหมายใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย   แต่เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องปรับตัวให้ทัน   เพราะถ้าหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ก็ตามจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กรในระยะยาวต่อไป

ข้อมูล :

https://www.everydaymarketing.co

https://www.fusionsol.com/blog/pdpa-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/