นโยบายด้านความยั่งยืน
ดาวน์โหลด
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
กว่าศตวรรษที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของคนไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการบูรณาการมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance) ในกลยุทธ์ธุรกิจและการตัดสินใจลงทุน เพื่อร่วมเสริมสร้างระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
ธนาคารไทยพาณิชย์ระลึกอยู่เสมอว่าการดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยาวนานของธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผลมาจากความทุ่มเทพยายามของพนักงาน ความไว้วางใจที่ลูกค้ามอบให้ ความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตร รวมถึงการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงยึดมั่นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานจริยธรรมและมุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณค่าเพื่อทุกภาคส่วนเสมอมา
สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ ความยั่งยืนจึงมิใช่เพียงการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น หากหมายรวมถึงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การพัฒนาและดูแลพนักงาน การส่งเสริมคู่ค้าพันธมิตรให้เติบโตไปด้วยกัน ตลอดจนการมีส่วนร่วมสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth) รวมถึงการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals: UN SDGs) และข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement)
ธนาคารได้บูรณาการแนวทางความยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ และกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืน โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริม และปลูกฝังให้เป็นค่านิยมหลักขององค์กร ตลอดจนถ่ายทอดค่านิยมดังกล่าวเป็นความเชื่อและเป็นดีเอ็นเอของพนักงาน อันจะส่งผลให้เป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนและดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็น “ ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด” (The Most Admired Bank) ภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์ 3 เสาหลัก อันประกอบด้วย การเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) สังคมแห่งคุณค่า (Creating Social Impact) และสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต (Better Environmental Future)
รางวัลและความสำเร็จ
ดัชนีแห่งความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ในกลุ่ม World Index และกลุ่ม Emerging Markets Index ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 (2561 – 2566)
ดัชนี FTSE4 Good Emerging Index ในกลุ่ม FTSE4 Good Emerging Index
MSCI ESG Ratings ที่ระดับ A
ดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืน Carbon Disclosure Project (CDP) ได้รับการประเมินผลในระดับ C
การจัดอันดับอยู่ในรายชื่อดัชนีหุ้นยั่งยืน หรือ SET ESG Ratings ที่ระดับ AA
* หมายเหตุ สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมในหัวข้อรางวัลและความสำเร็จ คลิก
การกำกับดูแลด้านความยั่งยืน
เพื่อให้การบริหารจัดการงานด้านความยั่งยืนของธนาคารสอดคล้องตามนโยบาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ ธนาคารได้กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลด้านความยั่งยืนที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบตั้งแต่ระดับกรรมการธนาคารจนถึงระดับปฏิบัติงานเพื่อบูรณการแนวคิดด้านความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการและวัฒนธรรมการทำงานของธนาคาร
โครงสร้างการกํากับดูแลด้านความยั่งยืน
เป้าหมายด้านความยั่งยืน (2566 – 2568)
เป็นธนาคารชั้นนำด้านความยั่งยืนของประเทศไทย (The Leading Sustainable Bank in Thailand)
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน
การป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ธนาคารมุ่งยกระดับการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อให้สอดรับกับบริบทในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ซึ่งรวมถึงข้อเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้วยการพัฒนาระบบปฏิบัติการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจสอบตัวตนและพิสูจน์ทราบลูกค้า ตลอดจนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูงสุด
ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 'Prevention, Detection and Investigation' และนโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งมีผลบังคับใช้กับพนักงานทุกระดับ ภายใต้นโยบายดังกล่าว ธนาคารได้กำหนดกระบวนการตรวจสอบลูกค้า (Know Your Customer:KYC and Customer Due Diligence:CDD) กับลูกค้าทุกรายโดยทำการขอเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการตรวจสอบต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง ลูกค้าจะต้องรายงานแหล่งที่มาของรายได้และวัถุประสงค์ของการทำธุรกรรม
ยุทธศาสตร์ด้านภาษี
ธนาคารปฎิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ซึ่งธนาคารได้ประกาศใช้นโยบายด้านภาษี โดยมีผลบังคับใช้กับธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทในเครือทั้งหมด นโยบายดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์เชิงธุรกิจของธนาคาร และมุ่งปฎิบัติตามกฏและข้อบังคับตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
การเงินที่ยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคมยังคงเป็นประเด็นความท้าทายทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สูงขึ้น รวมถึงการขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
ความท้าทายข้างต้นนำมาสู่การขับเคลื่อนและส่งเสริม ‘การพัฒนาอย่างยั่งยืน’ ในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งภาคธุรกิจการเงินการธนาคาร ในฐานะตัวกลางในการระดมเงินทุนและจัดสรรทรัพยากรไปสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคมถือเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคม-เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำบนฐานความรู้ เทคโนโลยี และความร่วมมือ
ธนาคารไทยพาณิชย์ มุ่งมั่นเสริมสร้าง ‘การเงินที่ยั่งยืน’ ผ่านการบูรณาการปัจจัย ESG เข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการให้สินเชื่อ การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน และการส่งเสริมการลงทุน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันและบริหารจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมไปพร้อมกัน
สังคมแห่งคุณค่า
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อวิถีการดำเนินธุรกิจ การทำงาน และการดำเนินชีวิตของผู้คน ขณะที่ความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจและคุณภาพชีวิตของคนในสังคมถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมุ่งมั่นเสริมสร้างสุขภาพการเงินที่เข้มแข็งและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
สิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากทวีความรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งมั่นเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลในการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ-สังคมคาร์บอนต่ำและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
รากฐานความยั่งยืนที่แข็งแกร่ง
‘คน’ และ ’คุณธรรม’ เป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและการเติบโตอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ธนาคารไทยพาณิชย์เชื่อมั่นในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการองค์กรภายใต้กรอบจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม อันจะนำมาซึ่งความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียและการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้กำหนด นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ที่สอดคล้องตามหลักการของหน่วยงานกำกับดูแลและแนวปฏิบัติสากล
การป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ธนาคารมุ่งยกระดับการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อให้สอดรับกับบริบทในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ซึ่งรวมถึงข้อเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้วยการพัฒนาระบบปฏิบัติการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจสอบตัวตนและพิสูจน์ทราบลูกค้า ตลอดจนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูงสุด
ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 'Prevention, Detection and Investigation' และนโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งมีผลบังคับใช้กับพนักงานทุกระดับ ภายใต้นโยบายดังกล่าว ธนาคารได้กำหนดกระบวนการตรวจสอบลูกค้า (Know Your Customer:KYC and Customer Due Diligence:CDD) กับลูกค้าทุกรายโดยทำการขอเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการตรวจสอบต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง ลูกค้าจะต้องรายงานแหล่งที่มาของรายได้และวัถุประสงค์ของการทำธุรกรรม
การบริหารจัดการความเสี่ยง
โครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง
ธนาคารมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งทำหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับแนวทางที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด ตลอดจนกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในปี 2561 ธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง (Risk Oversight Committee) ซึ่งเป็นคณะกรรมการธนาคารชุดย่อยในระดับบริหาร ที่มีกรรมการอิสระและกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารหรือที่ปรึกษาของธนาคารเกินกึ่งหนึ่ง โดยมีกรรมการอิสระทำหน้าที่ประธานคณะ ซึ่งเป็นการยกระดับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิผลและเป็นอิสระมากขึ้น คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงมีบทบาทและหน้าที่ในการให้คำแนะนำคณะกรรมการธนาคารในการกำหนดทิศทางการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมกับกลยุทธ์เชิงธุรกิจของธนาคาร กำกับดูแลการปฏิบัติตามกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความเสี่ยงทั้งหมดภายในองค์กรได้ถูกควบคุมและติดตามให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ตลอดจนให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการธนาคารในการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง (Risk Culture) และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร พร้อมกันนี้ธนาคารยังมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในระดับจัดการ ทำหน้าที่ทบทวนและให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง กรอบการบริหารและควบคุมความเสี่ยง เพื่อให้คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงและคณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ รวมถึงกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงโดยภาพรวมของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
กรอบการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง
ธนาคารได้นำกรอบการกำกับดูแล “แนวป้องกัน 3 ชั้น” มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและตรวจสอบความถูกต้องในแต่ละกระบวนการ ซึ่งเป็นความร่วมมือจากทุกหน่วยงานภายในธนาคาร ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการธนาคารจนถึงระดับปฏิบัติงาน อีกทั้งยังใช้เครื่องมือการประเมินตนเองเพื่อควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Self-assessment: RCSA) สำหรับการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ก่อนจะนำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง และคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาและประเมินความเสี่ยงในระดับองค์กรต่อไป
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติตาม จรรยาบรรณธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มธุรกิจของธนาคาร อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ บริษัทโดยธนาคารไทยพาณิชย์ยังสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจปฏิบัติตาม จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB (SCB Supplier Code of Conduct) และกำหนดให้คู่ค้าธุรกิจทุกรายลงนามรับทราบก่อนที่จะเริ่มงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ด้วย
การเคารพสิทธิมนุษยชน
ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงมุ่งปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามที่ได้กำหนดไว้ในจรรยาบรรณ รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายและหลักสากลอย่างเคร่งครัด โดยได้นำหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาเป็นแนวปฏิบัติและบริหารจัดการองค์กร
นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังร่วมกับกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เพื่อให้สามารถบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก รายงานสรุปผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด