หากคุณกำลังฝันที่จะต่อเติมห้องครัวสวยๆ ที่บ้าน แต่ยังขาดประสบการณ์ มีความกังวลใจว่าควรต่อเติมแบบไหน มีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องระวัง ข้อสำคัญทำอย่างไรให้ตรงใจทุกคนในครอบครัว วันนี้เรามีคำตอบที่คุณตามหามาฝากกัน
สำรวจขนาดพื้นที่ว่างของบ้าน
บ้านส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ว่างเหลือด้านหลังกับด้านข้าง ซึ่งการต่อเติมห้องครัวมักจะนิยมใช้ด้านหลังมากกว่า เพราะสะดวกต่อการเชื่อมต่อของระบบต่างๆ รวมถึงการเข้าออกที่สะดวก แถมส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ซักล้างทำให้การประยุกต์ใช้เป็นห้องครัวสะดวกกว่าด้านข้าง
เลือกรูปแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์
ควรสำรวจการใช้งานของสมาชิกในครอบครัวว่า ปกติแล้วใช้กันมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้ตัดสินใจเลือกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกคน
ห้องครัวแบบนี้จะระบายอากาศและกลิ่นควันจากการปรุงอาหารได้ดี จึงเหมาะกับบ้านที่ชอบทำอาหารทานเองบ่อย ๆ ลักษณะครัวส่วนใหญ่จะทำเป็นผนังทึบช่วงล่างแล้วปล่อยโล่งช่วงบน ข้อดี คือ โครงสร้างมีน้ำหนักเบาจึงทำให้เกิดการทรุดตัวได้ยาก ใช้วัสดุปริมาณน้อย ทำให้ราคาในการก่อสร้างประหยัดกว่าครัวแบบทึบ ข้อเสีย คือ เรื่องของสัตว์ที่เข้ามาหาเศษอาหาร เช่น หนู, แมลงสาบ , นก , แมว เป็นต้น รวมถึงไม่มีผนังป้องกันฝุ่นที่ลอยเข้ามา ทำให้ครัวสกปรกได้ง่าย ควรหมั่นทำความสะอาด และเก็บจานชามอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มิดชิดก็จะช่วยป้องกันได้
ครัวแบบนี้มีผนังล้อมรอบ 4 ด้านมีหลังคาปิดมิดชิด เหมาะกับบ้านที่ไม่ค่อยได้ทำกับข้าว หรือบ้านที่มีเนื้อที่หลังบ้านน้อยหรือชิดติดกับบ้านข้างๆ มาก ทำให้ไม่สามารถเปิดโล่งได้ ข้อดี คือ สามารถทำชั้น Built-In จัดเก็บจานชามอุปกรณ์ต่างๆ ป้องกันสัตว์และฝุ่นจากภายนอกได้ดี รวมทั้งมีความเป็นส่วนตัว ข้อเสีย คือ ไม่ค่อยระบายอากาศหรือควัน ควรติดตั้งเครื่องดูดควันและมีพัดลมระบายอากาศก็จะช่วยลดปัญหาได้มาก อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะใช้วัสดุ โครงสร้าง และการเตรียมระบบงานมากกว่า ยังมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่าครัวแบบโปร่งเพราะน้ำหนักที่มากกว่า
โครงสร้าง เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เมื่อทราบสาเหตุและพบจุดที่เกิดปัญหาแล้ว เรามาดูวิธีในการซ่อมหลังคารั่วว่ามีวิธีไหนบ้าง
- พื้นห้องครัว หากตำแหน่งนั้นเป็นพื้นดิน สามารถเทพื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab on ground) ได้เลย โดยไม่ต้องมีคานรองรับ (การถ่ายเทน้ำหนักของพื้นแบบนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรง) ควรบดอัดดินหรือทรายให้แน่นก่อนที่จะเทคอนกรีตเพื่อป้องกันการแตกร้าวหากดินหรือทรายเกิดยุบตัว และพื้นแบบนี้ไม่ควรเอาไปติดกับโครงสร้างเดิมเพราะจะมีโอกาสทรุดตัวลงตามดินได้ หากต้องการชะลอการทรุดตัวควรลงเสาเข็มสั้นแบบปูพรม
- โครงสร้างหลังคา ควรทำโครงสร้างใหม่ขึ้นมาอีกชุด โดยไม่ต่อกับโครงสร้างบ้านเดิม เวลาส่วนต่อเติมทรุดจะได้ไม่ดึงโครงสร้างเดิมให้เสียหาย ถ้าหากจำเป็นต้องยึดโครงหลังคาใหม่เข้ากับโครงสร้างเดิม ควรทำจุดเชื่อมต่อให้สามารถขยับได้จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง
- วัสดุมุงหลังคา ควรใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพราะจะไม่ทำให้โครงสร้างส่วนต่อเติมรับน้ำหนักมากจนเกินไป โดยอาจเลือกหลังคาแบบทึบแสง เช่น เมทัลชีท, ไวนิล, UPVC หรือ หลังคาแบบโปร่งแสง เช่น โพลีคาร์บอเนต, อะคริลิก , ไฟเบอร์กลาส ก็จะช่วยให้ห้องครัวได้รับแสงธรรมชาติที่มากขึ้น
เรื่องปลีกย่อยที่ควรรู้
- ระยะห่างระหว่างห้องครัวกับรั้วบ้าน ควรมีระยะถอยร่นอย่างน้อย 2 เมตร (ตามกฎหมาย) หรือ ถ้าจะต่อเติมจนชิดแนวเขตที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร
- ควรเว้นระยะห่างระหว่างส่วนต่อเติมกับกำแพงบ้าน จะช่วยให้มีการถ่ายเทอากาศที่ดียิ่งขึ้น
- เคาน์เตอร์ครัว ควรสูงระหว่าง 80-85 เซนติเมตร เพราะเคาน์เตอร์ที่เตี้ยเจนกินไปจะทำให้ต้องก้มตัวเวลาทำอาหารอาจทำให้ปวดหลังได้ ส่วนความกว้าง ควรวัดจากขนาดของเตาแก๊สและอ่างล้างจาน โดยเฉลี่ยจะกว้างประมาณ 60-65 เซนติเมตร
- ตำแหน่งเตาแก๊สและอ่างล้างจาน ควรตั้งให้ห่างกันอย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อสะดวกเวลาที่ต้องใช้งานพร้อมกันหลายคน
- ก่อนสร้างเคาน์เตอร์ ควรวัดขนาดตู้เย็น เตา และอ่างล้างจานก่อน เพื่อให้กะขนาดให้เหมาะกับเนื้อที่
- อย่าลืมกำหนดตำแหน่งปลั๊กไฟ สำหรับเครื่องไฟฟ้าในครัวเพื่อที่ช่างจะได้เว้นระยะได้อย่างเหมาะสม
- หากต่อเติมครัวชิดรั้วบ้าน (หลังจากได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านแล้ว) อย่าลืมทำรางน้ำฝนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลไปรบกวนบ้านข้างเคียงด้วย
เห็นมั้ยล่ะว่า การต่อเติมห้องครัวหลังบ้านนั้น ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากจนเกินไป หากคุณได้มีการศึกษา วางแผน สำรวจไลฟ์สไตล์ของสมาชิกภายในครอบครัว คุณก็จะได้ห้องครัวในฝัน ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานได้อย่างแท้จริง สนใจต่อเติมห้องครัว แต่ยังขาดเงินก้อน ลองสมัครใช้สินเชื่อ Speedy Loan ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ ที่สำคัญผ่อนนานสูงสุด 72 เดือน อย่าช้าครัวในฝันรอคุณอยู่ - สมัครสินเชื่อ Speedy Loan-