ได้โอกาส ให้โอกาส หมอลูกชาวนา ผู้ต่อชีวิตเด็กชนบท

แม้จะมีต้นทุนชีวิตที่ไม่เหมือนอย่างคนอื่นแต่เด็กหญิงบ้านนอกลูกชาวนายากจนคนหนึ่งที่อาศัย อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาอ าเภอโกสุมพิสัยจังหวัดสกลนครก็มีความกล้าไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา แม้ตอนเรียนอยู่ชั้นป.4 จะยังอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้  แต่ก็ไม่ทำให้หยุดความตั้งใจที่จะเป็นหมอเพื่อช่วยต่อชีวิตและลมหายใจให้เพื่อนมนุษย์   ละครชีวิตของหมอป้อม แพทย์หญิง สาธิตา เรืองสิริภคกุล ไม่ได้สวยงามโรยด้วยกลีบกุหลาย  ทุกสิ่งล้วนมาจากหัวใจที่กล้าแกร่ง และเรี่ยวแรงของเลือดนักสู้กล้าที่จะทำในสิ่งที่ใครๆ มองว่าเหมือนความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง

ชีวิตดั่งถนนลูกรัง

ความฝันของ ด.ญ.ป้อมในวันนั้น   ดูเหมือนว่าจะไม่ได้มาง่ายๆ  เมื่อตระหนักรู้ว่าตนเองไม่ได้เป็นเด็กหัวไวเหมือนคนอื่น   จึงต้องพยายามที่จะขยันและพยายามมากกว่า  อ่านหนังสือหลายรอบ อ่านแม้ถุงกล้วยแขก และไปหาคุณครูที่บ้านขอให้ช่วยติวหนังสือให้  โดยแลกกับการช่วยครูทำงานบ้าน เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นต้องปั่นจักรยานกว่า  20 กิโลเมตร   บนถนนลูกรังอันขรุขระ ซึ่งความขุขระของถนนลูกรัง ช่างคล้ายกับชีวิตของเธอเหลือเกินหลังเลิกเรียนหรือวันหยุด ต้องทำงานทุกอย่างช่วยครอบครัว  ทั้งทำนา  ทำไร่  ปลูกผัก  เลี้ยงวัว  ครั้งถึงชั้นมัธยมปลายสอบเข้าโรงเรียนสาธิต ม. ขอนแก่นได้แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เรียน  เพราะปัญหาค่าใช้จ่ายที่ทางบ้านไม่มีเงินส่งเสีย

ฟ้าไม่เป็นใจ  แต่ใจไม่ยอมแพ้ฟ้า

เมื่อเรียนชั้นมัธยมปลายที่ขอนแก่นไม่ได้จึงไปสมัครเรียนที่โรงเรียนระดับจังหวัดอีก 2 แห่ง แต่โชคดีมักอยู่ตรงข้ามกับชีวิตของเธอ  ไปสมัครเรียนไม่ทันไม่มีที่ให้เรียนต่อ  แต่ในที่มืดย่อมมีแสงสว่าง เธอตัดสินใจกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนประจำอำเภอ  โดยสอบเข้าได้เป็นที่ 1 ระหว่างนั้น เธอต้องอดทนกับคำเสียดสีเย้ยหยัน  ถึงความฝันไกลเกินตัวเกิดเป็นแรงฮึดที่ทำให้สามารถสอบติดคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้สำเร็จ“ท่ามกลางความงงงวยของครูที่โรงเรียนไม่มีใครใครคิดว่าจะสอบได้   มีคนดยังดูถูกอีกเมื่อเห็นว่าเลือกสอบคณะแพทย์มีเพียงคุณครูวิชาชีววิทยา เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าจะต้องสอบได้แน่นอน” เป็นความสำเร็จหนึ่งขั้นที่ลูกชาวนายากจนคนหนึ่ง สามารถพลิกเปลี่ยนชีวิตได้   ละครชีวิตของหมอป้อมยังไม่จบเพียงแค่นี้  ยังมีบททดสอบที่คอยอยู่ ในฐานะกุมารแพทย์โรงพยาบาลประจำอำเภอ

แสงสว่างแห่งอำเภอที่ห่างไกล

การเป็นหมอนั้น ต้องเสียสละอุทิศความสุขส่วนตนช่วยเหลือผู้ที่เจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจนี่คือ สิ่งที่กุมารแพทย์หญิงหัวใจแกร่งตั้งปณิธานไว้เมื่อก้าวเข้าสู่วิชาชีพนี้   ทุกครั้งที่ได้เห็นผู้ป่วยตัวน้อยๆ หายจากอาการไม่สบาย   กลับมาแข็งแรงทำให้คุณหมอสุขใจมาก “การที่เราเป็นกุมารแพทย์ โรงพยาบาลประจำอำเภอการที่เราได้ดูแลคนไข้ตั้งแต่เค้ายังเล็ก  ดูแลกันมาเป็น 10 ปี ได้เห็นพัฒนาการของเด็กๆ จนกระทั่งพวกเค้าเติบโต ทำให้มีความรัก ความผกพัน ความภูมิใจที่ได้  ดูแลคนไข้อยู่ที่นี่ทำให้ไม่อยากย้ายไปไหน” หัวใจที่เปี่ยมล้นรักษาคนด้วยใจเมตตา เป็นสิ่งที่ทำให้คนไข้รักและศรัทธาคุณหมอมาก


ต่อลมหายใจคนไข้ตัวน้อย

การพัฒนาการรักษาให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม  เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากการดูแลคนไข้   แต่หมอป้อมจะทบทวนเคสอยู่เป็นประจำทำให้พบว่าสถิติเด็กที่มารักษาส่วนใหญ่เป็นโรคหอบและเกือบครึ่งต้องส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดทำให้เด็กบางคนพ่อแม่ไม่ส่งไปรักษาต่อเพราะต้องทำมาหากิน “จะมีทางไหนที่ไม่ต้องส่งตัวคนไข้อีก”   นี่คือสิ่งที่หมอป้อมบอกกับตัวเองจึงตัดสินใจทำหนังสือขออนุมัติซื้อเครื่องช่วยหายใจ แต่ก็พบกับความผิดหวัง   ด้วยความพยายามไม่ลดละจึงทำหนังสือฉบับที่ 2 ในที่สุดก็ได้รับอนุมัติจากจุดนี้ทำให้โรงพยาบาลระดับอำเภอมีเครื่องช่วยต่อลมหายใจให้เด็กที่ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม   ช่วยลดอาการแทรกซ้อน  และลดปริมาณคนไข้ที่ต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด   นับได้ว่าความเอาใจใส่ช่างสังเกตวิเคราะห์แก้ปัญหาเพื่อให้คนไข้ได้รับมาตรฐานการรักษาที่เท่าเทียมโรงพยาบาลประจำจังหวัด  เป็นตัวช่วยจุดประกายให้ โรงพยาบาลระดับอำเภออื่นๆ  นำไปเป็นแนวคิดพัฒนาการรักษาเพื่อคนไข้ที่ห่างไกลเฉกเช่นเดียวกัน

หมอผู้เสียสละกับรางวัลอันทรงเกียรติ

ด้วยการอุทิศตนเพื่อสร้างสรรค์งานด้านการแพทย์ของหมอป้อม แพทย์หญิงสาธิตา เรืองสิริภคกุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลบรบือ อ.บรบือ จ.สกลนคร ที่รักษาคนไข้อย่างไม่ย่อ ท้อต่อความยากลำบากทำให้ปัจจุบันได้รับการยกย่องเป็นแพทย์หญิงตัวอย่างของประเทศที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (ป.ม.)  เรื่องราวของหมอป้อม  นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของแพทย์ที่ควรค่าแก่การเชิดชูเกียรติเปรียบเสมือนนางฟ้เดินดินที่เสียสละความสุขส่วนตน   เพื่อรักษาเยียวยาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยอย่างแท้จริง  สิ่งที่หมอป้อมบอกกับเด็กๆ รุ่นหลังและคนไข้ตัวน้อยๆ ทุกคนคือ  “ต้นทุนชีวิตยิ่งน้อยเท่าไหร่   ยิ่งได้กำไรชีวิตมากเท่านั้น”