7 บทเรียนชีวิตที่ได้จากโควิด 19

โควิดได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนบนโลกใบนี้อย่างมากมาย รวมทั้งเปลี่ยนรูปแบบในการทำงาน การดำเนินชีวิตของเราแต่ละคนทั้งการใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงการเป้าหมายของชีวิต หลายคนกล่าวว่าโควิดได้เปลี่ยนโลกใบนี้ไปแล้วแบบไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิมได้อีก แต่ถ้าวัคซีนได้ผลและสามารถควบคุมการกลายพันธุ์ของโรคได้ใครจะรู้ว่าเราอาจกลับไปมีชีวิตแบบเดิมได้อีกครั้งก็ได้ เพราะความจำของมนุษย์นั้นสั้น เมื่อสิ่งเลวร้ายผ่านไปความทรงจำเก่าๆก็สามารถเลือนหายไปได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์หน้านี้เป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้และจดจำเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการใช้ชีวิตว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ แต่เราจะผ่านมันไปอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป แต่ในรอบเกือบสองปีที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากไวรัสเปลี่ยนโลกตัวนี้


1.หน้ากากอนามัยเกราะป้องกันโรค


เมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการหายใจหรือการสัมผัส เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องช่วยกันรับผิดชอบต่อสังคมและป้องกันตัวเองจากการติดโรค การสวมใส่หน้ากากทั้งในขณะที่อยู่กลางแจ้งหรืออยู่ภายในอาคารเป็นเรื่องจำเป็น การใส่หน้ากากเป็นการป้องกันตัวเองขั้นพื้นฐานที่ต้องทำ รวมทั้งการเว้นระยะห่างและการล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันตัวเองจากไวรัสก็เป็นพฤติกรรมที่ผู้คนเคยชินจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว การใส่หน้ากากอนามัยเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยเป็นโล่ป้องกันการรับเชื้อและการแพร่เชื้อ ในสหรัฐอเมริกาพบว่าการติดโรคไข้หวัดใหญ่ลดลงมาก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการใส่หน้ากากอนามัย ในฤดูหนาวที่สหรัฐอเมริกาก็เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้คนในการสวมใส่หน้ากากเวลาออกจากบ้าน ในประเทศที่มีอากาศหนาวอย่างญี่ปุ่นผู้คนใส่หน้ากากกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อาจมีอาการน้ำมูกไหลซึ่งการใส่หน้ากากช่วยได้มากในการป้องกันทั้งการรับและการแพร่เชื้อ และนั่นเป็นพฤติกรรมที่ควรทำต่อเนื่องให้เป็นนิสัย เพราะใครจะรู้ว่าหลังโควิดแล้วอาจมีเชื้อโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีกก็ได้

communicate-covid-crisis-to-gen-alpha-banner

2.Telehealth จะกลายเป็น New Normal

ปัจจุบันทั้งแพทย์และผู้ป่วยใช้การแพทย์จากระยะไกลหรือ telehealth โดยทำการนัดหมายเวลาระหว่างแพทย์และผู้ป่วยโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางออกจากบ้าน telehealth สามารถใช้ในการตรวจวินิจฉัยรวมทั้งการสั่งยาได้ในหลายโรค นี่เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องเรียนรู้ว่าเราจำเป็นต้องพบแพทย์แบบเจอกันตัวต่อตัวหรือไม่ ในสถานการณ์ที่ต้องการการรักษาหรือให้คำปรึกษาอย่างเร่งด่วน telehealth สามารถช่วยได้มาก  แพทย์ท่านหนึ่งที่โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย Yale กล่าวว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล แม้กระทั่งอยู่อีกซีกหนึ่งของประเทศ หรือผู้ป่วยจากประเทศอื่นๆ คุณหมอ Sharon Stoll จากมหาวิทยาลัย Yale กล่าวว่าทำให้การนัดหมายเพื่อตรวจดูอาการเป็นประจำง่ายขึ้น ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม เพราะทั้งแพทย์และคนไข้สามารถติดต่อกันได้รวดเร็ว นอกจากนั้นแพทย์ยังแนะนำให้คนไข้ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ง่ายๆ เช็คสุขภาพของตัวเองได้ที่บ้าน เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องตรวจสอบการนอนหลับ หรือแม้กระทั่งการตรวจรักษาโรคมะเร็งแพทย์ก็สามารถตรวจวินิจฉัยเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาแบบทางไกลได้เช่นกัน และคาดว่าการรักษาแบบทางไกลนี้จะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต


3.วัคซีนตัวช่วยที่สำคัญในการหยุดยั้งโรค

ถึงแม้ตอนนี้วัคซีนอาจจะยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ต้องยอมรับว่าวัคซีนมีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันโรคหรือถ้าหากเกิดติดเชื้อขึ้นมาอาการก็จะไม่รุนแรงมาก ถึงแม้ว่าหลายคนอาจไม่พอใจกับอาการข้างเคียงซึ่งเกิดจากการฉีดวัคซีน แต่เมือเทียบกับอาการที่ป่วยจากการติดเชื้อจริงนั้นเทียบกันไม่ได้เลย

4.ทุกคนไม่ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน

ต้องยอมรับความจริงว่ามีคนบางกลุ่มไม่ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เช่น คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ห่างไกล คนที่ฐานะยากจน หรือประเทศที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอย่างสหรัฐอเมริกา เช่น กลุ่มคนที่ไม่ใช่คนขาวที่เป็นคนกลุ่มน้อยอาจได้รับการดูแลที่น้อยกว่า หรือคนทำงานบางอาชีพที่ไม่สามารถทำแบบ work from home ได้ก็มีความเสี่ยงในการติดโรคมากกว่าเนื่องจากต้องเดินทางออกไปนอกบ้านเป็นประจำเป็นต้น
 

5.ต้องดูแลสุขภาพใจอย่างจริงจัง

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 คือมีคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น จนมีการกล่าวว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นการแพร่ระบาดอันดับที่สอง ดังนั้นการดูแลเรื่องสุขภาพใจในภาวะวิกฤตจึงเป็นสิ่งจำเป็น หลายคนประสบปัญหาตกงาน ขาดรายได้ หรือความรู้สึกเหงาและโดดเดียวจากการต้องทำงานที่บ้านไม่ได้เจอผู้คนหรือแม้กระทั่งคนที่ต้องสูญเสียคนที่รักจากโรคร้ายนี้ ในสหรัฐอเมริกาพบว่าจำนวนผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นจาก 36% เป็น 46% ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด ดังนั้นการดูแลสุขภาพใจของผู้คนจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องทำควบคู่กับการดูแลสุขภาพกาย
 

6.ความสามารถในการเอาตัวรอดอยู่ใน DNA

ในภาวะวิกฤตสถานการณ์ในชีวิตของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนได้รับผลกระทบน้อย แต่บางคนได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางคนสามารถรับมือกับวิกฤตได้ดี สิ่งที่พบคือผู้คนมีความสามารถในการดูแลตัวเองในหลายรูปแบบในช่วงของการแพร่ระบาดเพราะถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องปรับตารางการทำงานและการใช้ชีวิตใหม่ งดการปาร์ตี้ งดการเข้าสังคมรวมกลุ่มกันของคนจำนวนมาก การปรับเปลี่ยนมาออกกำลังกายที่บ้านแทนการไปยิม หลายคนหาวิธีการรับมือกับความเครียดได้ ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณของการปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอดในภาวะวิกฤตอยู่ใน DNA เครื่องการปรับเปลี่ยนตัวเองเล็กๆ น้อยๆ สามารถทำให้คนเราปรับตัวและอยู่รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเครื่องดื่มมึนเมา การนั่งสมาธิ การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนผ่านโลกออนไลน์แทนการเจอกันจริงๆ
 

7.สังคมและเทคโนโลยีตัวช่วยเยียวยาจิตใจ

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ยิ่งช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของโรคที่เราต้องมีระยะห่างทางสังคม ยิ่งทำให้เราเข้าใจว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างสำคัญขนาดไหน คนจำนวนมากใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครอบครัวเพื่อกระชับความสัมพันธ์หรือคลายความเหงา ถึงแม้ว่าการติดต่อกันด้วยเทคโนโลยีจะไม่เหมือนการเจอกันจริงๆ แต่ก็มีส่วนช่วยคลายความเหงาและลดความเครียดได้มาก การศึกษาพบว่าความเหงาความหว้าเหว่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงและสามารถก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้ แม้กระทั่งคนที่รักความสันโดษการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้างจะช่วยทำให้จิตใจและภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้น
 

ไม่มีใครรู้อนาคตว่าโรคภัยไข้เจ็บจะเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไหร่ หรือจะมีโรคระบาดใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ ดังนั้นการมีแผนประกันสุขภาพที่มีวงเงินคุ้มครองที่เหมาะสมจะเป็นตัวให้เราได้เมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา SCB มีแผนประกันสุขภาพที่หลากหลายให้คุณเลือกตามความคุ้มครองที่คุณต้องการ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/health-insurance.html

อ้างอิง

https://www.yalemedicine.org/news/8-lessons-covid-19-pandemic