SCB

  • All()

การใช้และการจัดการคุกกี้

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร

ยอมรับ

STORIES & TIPS

ผู้จัดการมรดก: บุคคลสำคัญ เมื่อวันนั้นมาถึง

share แชร์

ในวันที่เราได้เสียชีวิตไปแล้ว สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทายาทที่เราห่วงใยหรือเกิดกับทรัพย์สินที่เราเก็บสะสมมาทั้งชีวิตล้วนเป็นสิ่งที่เราจัดการหรือแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้ว หากวันนั้นมาถึงบุคคลที่สำคัญและจะมีบทบาทที่เราจะฝากความหวังไว้ให้ช่วยจัดการให้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจไว้ได้ก็คือ “ผู้จัดการมรดก” บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าหน้าที่ของบุคคลที่สำคัญนี้ทำอะไรได้บ้าง และทำไมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไตร่ตรองให้ดีในการตั้งผู้จัดการมรดก เรามาติดตามกันในบทความนี้นะครับ

 

ใครคือผู้จัดการมรดก ?

ผู้จัดการมรดกจะถูกตั้งโดยคำสั่งศาล ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีพินัยกรรมหรือไม่ก็ตาม 

  • กรณีมีพินัยกรรม: ผู้ทำพินัยกรรมระบุชื่อบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม หรือระบุชื่อบุคคลที่ตนเองต้องการให้เป็นผู้พิจารณาเลือกผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมเพื่อร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก 
  • กรณีที่ไม่มีพินัยกรรม: ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก 

หน้าที่หลักของผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย 

  1. รวบรวมและติดตามทรัพย์มรดก
    ในกรณีที่เจ้ามรดกได้ทำบัญชีทรัพย์สินไว้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้จัดการมรดกในการจัดการทรัพย์สิน และส่งผลดีต่อทายาทผู้มีสิทธิรับทรัพย์มรดก
  2. แบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาท
    ทั้งทายาทโดยธรรมและ/หรือทายาทตามพินัยกรรม
  3. จัดการการชำระหนี้กองมรดก (หากมี)
    ในส่วนของหนี้กองมรดกนั้นก็จะเกี่ยวกับเรื่องของหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตายที่จะรวมไปถึงหนี้สินที่ผู้ตายมีหน้าที่ต้องชำระ เช่น หนี้ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้เงินกู้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) หรือที่เรียกกันว่าตั๋ว P/N ดังนั้นกองมรดกที่ตกทอดไปยังทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามพินัยกรรมจึงต้องรวมในส่วนของหนี้สินของผู้ตายไปด้วย สำหรับกรณีที่หนี้สินในกองมรดกมีมากกว่าทรัพย์มรดกทางทายาทจะไม่ต้องรับผิดในส่วนของหนี้สิน เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ว่าทายาทไม่จำเป็นต้องรับผิดเกินไปกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตัวเอง

เมื่อการตั้งผู้จัดการมรดกมีบทบาทสำคัญทั้งที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเจ้ามรดกและทายาทของเจ้ามรดก ผมขอแนะนำทุกท่านคิดพิจารณาดังนี้

คำแนะนำในการตั้งผู้จัดการมรดก

ระบุชื่อผู้จัดการมรดกในพินัยกรรม

หากเจ้ามรดกมีบุคคลที่ตัวเองไว้ใจและต้องการให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ควรพิจารณาระบุชื่อบุคคลนั้นในพินัยกรรมเพื่อลดความกังวลใจว่าทายาทจะต้องมาพิจารณาเลือกผู้จัดการมรดกกันเอง ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดความความขัดแย้งกันระหว่างทายาท จนนำไปสู่ความไม่ราบรื่นหรืออาจเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มีความบาดหมางใจกันจนส่งผลต่อการจัดการมรดก

พิจารณาตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน

เจ้ามรดกอาจจะพิจารณากำหนดจำนวนผู้จัดการมรดกที่มากกว่า 1 คน โดยกำหนดให้ทำร่วมกันโดยมีข้อกำหนดที่ไม่สามารถให้แยกกันทำได้ อีกทั้งยังกำหนดไว้มากกว่าหนึ่งกลุ่มรายชื่อเผื่อในกรณีที่รายชื่อกลุ่มแรกคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือปฏิเสธไม่ประสงค์รับทำหน้าที่ หรือร่างกายไม่พร้อมทำหน้าที่ได้ เจ้ามรดกก็อาจพิจารณากำหนดรายชื่อกลุ่มที่สองไว้ในพินัยกรรมเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผมแนะนำให้ระบุรายชื่อไว้สามกลุ่มเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ในอนาคต

ระบุหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ชัดเจน

ในกรณีที่ระบุผู้จัดการมรดกไว้หลายคนท่านก็จะต้องเขียนให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นทำหน้าที่จัดการมรดกอย่างไร ในกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม หน้าที่ของผู้จัดการมรดกก็จะต้องถือเอาเสียงข้างมากแทน และหากมีจำนวนเสียงที่เท่ากันก็จะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียไปร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาด

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย

  • เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นข้อคิดพิจารณาเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาให้ถี่ถ้วนในขณะทำพินัยกรรมก่อนที่เราจะจากไป นอกจากเรื่องทรัพย์มรดกแล้วยังมีเรื่องการดูแลรักษาตัวเองในกรณีที่เจ็บป่วยหรืออยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตก่อนที่เจ้ามรดกจะจากไป ซึ่งก็มีกลไกที่ทุกท่านสามารถวางแผนจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าได้เรียกว่า “พินัยกรรมชีวิต Living Will” ในครั้งหน้าเรามาติดตามกันนะครับว่าพินัยกรรมชีวิตมีประโยชน์อย่างไรและเกี่ยวข้องกับการส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างไร 

บทความโดย : ดร.นิติ เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการอาวุโส Wealth Planning and Family Office

ลูกค้า SCB PRIVATE BANKING ที่สนใจในเรื่องบริหารสินทรัพย์ครอบครัวเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น สามารถติดต่อ Wealth Planning and Family Office Division ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ที่อีเมล familyofficeteam@scb.co.th หรือที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน (RM) ของท่าน 

shareShare

ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง

สะสมพอยท์บัตรเครดิตอย่างฉลาด: แลกของฟรีได้ ไม่ต้องเป็นหนี้

ลองนึกดูว่าทุกครั้งที่เรารูดบัตรเครดิตซื้อของ เรากำลังสะสม “พอยท์” ไว้แลกของฟรีอยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ร้านกาแฟ บัตรชมภาพยนตร์ สินค้าและบริการอื่นๆอีกมากมาย พอยท์เหล่านี้คือแต้มสะสมที่ธนาคารให้เรามาฟรีๆ จากทุกการใช้จ่ายผ่านบัตร 

เรื่องอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

  • ทิปส์น่ารู้

    ‘คาร์บอนเครดิต’ เมกะเทรนด์ที่ไม่ไกลตัวอย่างที่คิด

  • ดูแลครอบครัว

    เทคนิคเก็บเงินเที่ยวง่ายๆ ให้สบายทั้งครอบครัว

  • ทิปส์น่ารู้

    บริหารการเงินให้อยู่หมัด ด้วยหลัก “หัวใจเศรษฐี”

SCB

  • All()

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ธนาคารและเข้าสู่

xxxx


ซึ่งเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของบุคคลภายนอก

 

ธนาคารขอแนะนำให้คุณศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและรายละเอียด
เงื่อนไขผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันปลายทางทุกครั้ง ก่อนทำรายการ

ยกเลิก ยืนยัน

xxxx