ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
“ประกัน” เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ทราบหรือไม่ว่า การทำประกันของประชากรในแต่ละประเทศใช้เป็นตัวชี้วัดความเจริญหรือการพัฒนาของประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เราลองมาดูจาก 5 อันดับ ประเทศที่มีการทำประกันมากที่สุดในโลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน และฝรั่งเศส (จัดอันดับจากเบี้ยประกันรวม) ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อดูจากการสำรวจในปี 2014 (ไม่ได้มีการสำรวจทุกปี) จะเห็นได้ว่า อันดับที่ 1 ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำประกันมูลค่ารวมกันอยู่ที่ 1,280,443 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อันดับที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น 479,762 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร 351,266 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อันดับที่ 4 ประเทศจีน 328,439 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และอันดับที่ 5 ประเทศฝรั่งเศส 270,520 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนประเทศไทยของเรา อยู่ที่อันดับ 31 โดยทำประกันรวมอยู่ที่ 21,696 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
ความสำคัญกับการทำประกันชีวิตของคนประเทศต่างๆ
เมื่อดูจากวงเงินคุ้มครองหรือทุนประกันชีวิต จะพบว่าประเทศญี่ปุ่นนั้น เป็นประเทศที่ทำประกันในวงเงินที่สูงที่สุด คือราว 3 ล้านบาทต่อคน เมื่อเทียบกับชาวสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ราว 1.2 ล้านบาทต่อคน นอกจากนี้ โดยเฉลี่ยคนญี่ปุ่นมีกรมธรรม์ 300% หรือเท่ากับว่า 1 คนจะมีกรมธรรม์ ถึง 3 ฉบับ นับว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการทำประกันประกันชีวิตสูงที่สุด
ซึ่งชาวญี่ปุ่นกว่าครึ่งต้องการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว ในกรณีที่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร ทว่าในระยะหลังผู้ซื้อประกันจำนวนไม่น้อยเริ่มให้ความสนใจกับกรมธรรม์ประเภทที่ครอบคลุมถึงการรักษาพยาบาล และการประกันรายได้หลังจากเกษียณด้วยเช่นกัน
แล้วสถิติการทำประกันชีวิตของคนไทยล่ะ?
ลองกลับมาดูที่ประเทศไทยกันบ้าง โดย ณ สิ้นปี 2014 ประเทศไทย มีจำนวนประชากรทั้งประเทศกว่า 65 ล้านคน ในขณะที่มีจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มีผลบังคับอยู่ทั้งสิ้น 19 ล้านฉบับ หรือคิดเป็น 30% ของประชากรทั้งหมด นั่นแปลว่าในคนไทย 100 คน จะมีคนทำประกันชีวิตอยู่แค่ 30 คนเท่านั้น
ถึงตัวเลขกรมธรรม์ อาจจะดูเยอะ แต่ต้องอย่าลืมว่าในคนที่ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตทั้งหมด อาจมีบางคนที่ทำประกันชีวิตไว้มากกว่า 1 ฉบับ ดังนั้นจำนวนคนที่มีความคุ้มครองจากประกันชีวิตย่อมมีน้อยกว่า 30% ของประชากรทั้งหมด
นอกจากตัวเลขกรมธรรม์ ที่น่าตกใจแล้ว ทุนประกันชีวิตหรือวงเงินความคุ้มครองโดยเฉลี่ยต่อคนของคนไทย อยู่ที่เพียงแค่ 193,000 บาทเท่านั้น ถ้าจะพูดให้เห็นภาพชัดๆ ลองคิดดูว่า หากหัวหน้าครอบครัวจากไปก่อนวัยอันควร ครอบครัวจะได้เงิน จากประกันชีวิตไม่ถึง 2 แสนบาท เห็นแบบนี้แล้วเชื่อหรือยังว่า คนไทยทำประกันชีวิตกันน้อยจริงๆ
กล่าวโดยสรุป ทุนประกันชีวิตคือการวัดค่าตัว ค่าความสามารถของคน ลองจินตนาการดูว่า หากเรามีอายุขัยตามสมควร เราจะสามารถสร้างรายได้ สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากขนาดไหน แต่หากโชคร้ายจากไปก่อนวัยอันควร และไม่ได้มีการทำประกันอย่างเหมาะสม เท่ากับว่าค่าตัว ค่าความสามารถของเราจะกลายเป็นศูนย์ หายวับไปกับตา ยิ่งโดยเฉพาะหากผู้นั้นเป็นหัวหน้าครอบครัว มีภรรยาและลูก หรือพ่อแม่ที่อยู่ภายใต้การดูแล เขาเหล่านั้นจะลำบากแค่ไหน นับได้ว่าเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างประเมินค่าไม่ได้จริงๆ การรณรงค์ให้คนไทยมีการวางแผนประกันอย่างเหมาะสม จึงควรจะถูกยกให้เป็นวาระแห่งชาติอย่างแท้จริง
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® ที่ปรึกษาการเงิน