การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
How to แก้หนี้อย่างมีความสุข และไม่กลับไปเป็นหนี้อีก
พอถึงจุดที่คนเป็นหนี้เริ่มหมุนเงินไม่ทัน ทางออกที่ควรมองหาคือการ ‘รวมหนี้’ จากหนี้ทุกแหล่งที่มีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่คือ บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูง หรือบัตรกดเงินสด คราวนี้ก็ต้องมาตั้งต้นว่าทำอย่างไรดีถึงจะปลดหนี้ได้สำเร็จ ลองมาใช้วิธีนี้ช่วยแก้หนี้แบบที่ตลอดช่วงระยะเวลาที่เราต้องผ่อนชำระสินเชื่อ ยังมีความสุขในการดำเนินชีวิต และไม่กลับไปเป็นหนี้อีก
ตัวอย่างกรณีที่สามารถขอสินเชื่อเพื่อปิดยอดหนี้ได้หมด
ยกตัวอย่าง นางสาวพอใจ มีรายได้ 40,000 บาท แต่เป็นหนี้บัตรเครดิต 4 ใบ รวมแล้ว 200,000 บาท ต้องการหาสินเชื่อมาปิดหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าการเป็นหนี้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยหนี้บัตรเครดิต จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล)
เมื่อนางสาวพอใจลองคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด 10 ข้อแล้ว
รายการค่าใช้จ่าย |
บาท/เดือน |
หมายเหตุ |
1. ค่าที่อยู่อาศัย |
- | อาศัยบ้านพ่อแม่ |
2. ค่าอาหาร |
7,000 | รวมของพ่อแม่ |
3. ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ |
2,000 | |
4. ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน หรือค่าเดินทางไปทำงาน |
5,000 | รถไฟฟ้า + มอเตอร์ไซค์รับจ้าง |
5. ค่าสังคม ซองงานบวช งานแต่งงาน งานเลี้ยงส่งเพื่อน เลี้ยงวันเกิด |
2,000 | |
6. ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย |
500 | มีประกันของบริษัทด้วย |
7. เงินให้พ่อแม่ที่บ้าน |
2,000 | |
8. ค่าความสุขเล็กๆ น้อยๆ เช่น ไปดูหนัง ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า |
2,000 | |
9. เงินฉุกเฉิน สำหรับเหตุการณ์ไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น |
3,000 | เผื่อพ่อแม่ไม่สบาย |
10. ค่าภาษีเงินได้ ประกันสังคม และกองทุน Provident Fund |
5,000 | |
รวม | 28,500 |
แม้นางสาวพอใจจะมีรายได้ถึง 40,000 บาท แต่พอหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว จะมีเงินเหลือเพียง 11,500 บาทเท่านั้น เพราะหากนางสาวพอใจต้องชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ 10% ก็จะเป็นเงิน 20,000บาท ดังนั้น นางสาวพอใจควรจะมองหาสินเชื่อที่ชำระไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และใช้ระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อเป็น 24 เดือน เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในแต่ละเดือน ชีวิตของนางสาวพอใจยังสามารถเดินต่อไปได้อย่างมีความสุข และจะไม่กลับมาเป็นหนี้อีก
อีกตัวอย่างนึงสำหรับกรณีที่ไม่สามารถขอสินเชื่อปิดยอดหนี้ได้หมด 100%
นายพอรู้ มีรายได้ 30,000 บาท มีหนี้บัตรเครดิต 200,000 บาท จากบัตรเครดิต 2 ใบ ใบที่ 1 มีหนี้ 120,000 บาท ใบที่ 2 มีหนี้ 80,000 บาท รวมมีหนี้ 200,000 บาท โดยนายพอรู้มีค่าใช้จ่ายดังนี้
รายการค่าใช้จ่าย |
บาท/เดือน |
หมายเหตุ |
1. ค่าที่อยู่อาศัย |
5,000 | เช่าห้องอยู่กับเพื่อน |
2. ค่าอาหาร |
3,200 | รวมของพ่อแม่ |
3. ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ |
800 | |
4. ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน หรือค่าเดินทางไปทำงาน |
1,080 | รถไฟฟ้า |
5. ค่าสังคม ซองงานบวช งานแต่งงาน งานเลี้ยงส่งเพื่อน เลี้ยงวันเกิด |
1,000 | |
6. ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย |
500 | มีประกันของบริษัทด้วย |
7. เงินให้พ่อแม่ที่บ้าน |
1,000 | |
8. ค่าความสุขเล็กๆ น้อยๆ เช่น ไปดูหนัง ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า |
1,000 | |
9. เงินฉุกเฉิน สำหรับเหตุการณ์ไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น |
1,000 | |
10. ค่าภาษีเงินได้ ประกันสังคม และกองทุน Provident Fund |
3,000 | |
รวม | 17,580 |
เนื่องจากนายพอรู้ มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท จึงสามารถขอสินเชื่อได้ 150,000 บาท ทางธนาคารจึงแนะนำให้นายพอรู้ปิดหนี้บัตรเครดิต ใบที่ 1 ที่มียอดคงค้าง 120,000 บาท และเงินที่เหลืออีก 30,000 บาทนำไปชำระบัตรเครดิตใบที่ 2 เพื่อให้มียอดคงเหลือน้อยที่สุด คือ 50,000 บาท ซึ่งจะทำให้นายพอรู้ ต้องชำระขึ้นต่ำ 10% ที่ 5,000 บาท ทำให้นายพอรู้จะยังพอเหลือส่วนต่างไว้เพื่อผ่อนสินเชื่อประมาณ 5,000 บาท ดังนั้น นายพอรู้อาจจะใช้ระยะเวลาผ่อนสินเชื่อ 4 ปี ตกเดือนละประมาณ 4,500 บาท เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการดำเนินชีวิต เพราะหากเลือกปิดหนี้ให้ไวที่สุด นายพอรู้ก็อาจจะกลับมาเป็นหนี้ได้อีก
การแก้หนี้ที่ดี อาจจะไม่ใช่การตั้งเป้าปลดหนี้ให้หมดเร็วที่สุด แต่เป็นการแก้หนี้ที่ยังให้ชีวิตเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงและจะไม่กลับมาเป็นหนี้ซ้ำอีก หากไม่มั่นใจว่าเราควรจะเลือกทางไหน สามารถปรึกษาธนาคารเพื่อขอรับคำแนะนำได้ทุกเมื่อ
สนใจรวมหนี้ด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล Speedy Loan พร้อมสมัครออนไลน์ได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/personal-loans/speedy-loan.html