ลงทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออม ในตลาดหุ้นไทย คว้าโอกาสลงทุนกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคง

ปี 2565 นับเป็นปีที่ปัจจัยลบอุดมสมบูรณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน


เพราะนอกจากโควิดที่ยังส่งผลกระทบต่อการเปิดๆปิดๆเมืองในหลายประเทศแล้ว ยังมีสงครามความขัดแย้ง ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่แรงและเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉลี่ยติดลบมากถึง 15-30% ซึ่งมากกว่าปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติโควิดเป็นครั้งแรกเสียอีก


ปัจจัยกดดันทำให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีๆนั้น ทำยากมาก โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง หุ้นโลก หุ้นสหรัฐ หุ้นยุโรป หุ้นจีน หุ้นเวียดนาม หรือ แม้แต่กองรีท (REIT) ต่างก็ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในปีนี้


นักลงทุนควรทำอย่างไร ในสถานการณ์เช่นนี้ ?


จริงอยู่ แม้ว่าราคาสินทรัพย์หลายประเภทในตลาดหุ้นทั่วโลก ราคาลดลงกระทั่งเริ่มเข้าสู่ระดับที่น่าสนใจลงทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสหรัฐ หุ้นจีน หุ้นเทคโนโลยี โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีระยะเวลาลงทุนยาวนานเกิน 5 ปี เชื่อว่าน่าจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ แต่ประเด็นสำคัญคือ เรายังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และประเทศขนาดใหญ่มีโอกาสเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูงมาก จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แม้ว่าเงินเฟ้อผ่านจุดพีคไปแล้วและการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะชะลอตัวลง แต่การผ่อนคลายนโยบายการเงินที่จะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นยังคงเร็วไปที่จะคาดหวัง และนักลงทุนอาจจะต้องอดทนอีกสักพักใหญ่ ความผันผวนยังคงดำเนินต่อไป


นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ แม้จะเคยได้รับผลกำไรอย่างดีใน 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่การปรับตัวลงอย่างหนักในปีนี้ ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยตกใจกับความผันผวน ในระดับบวก/ลบ 20% ขึ้นไปต่อปี ทำให้มีนักลงทุนกลุ่มใหญ่ที่ต้องการ เริ่มมองหาการลงทุนระยะยาว ในตลาดหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่านี้ และมีโอกาสฟื้นตัวได้อย่างดีในยุคหลังโควิด

356741348

เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวไปสู่จุดก่อนโควิด


รอบวัฏจักรของเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลกตอนนี้ไม่เหมือนกัน เราลองมาสแกนดูเศรษฐกิจของประเทศต่างๆเพื่อพิจารณาปัจจัยการลงทุนกัน


· เศรษฐกิจอันดับ 1 คือสหรัฐอเมริกา กำลังเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวและในปี 66 ครึ่งปีหลัง มีโอกาสจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะพิษเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วและแรงตลอดช่วงปี 65


· เศรษฐกิจอันดับ 2 จีน ยังคงติดกับช่วงการระบาดโควิดและการล็อคดาวน์ในหลายเมือง แม้เศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่นโยบายรัฐต่างๆยังคาดเดาได้ยาก คาดว่าในระยะสั้นยังคงกดดันการลงทุน


· เศรษฐกิจอันดับ 3 คือยุโรป สหภาพยุโรปเจอพิษสงครามรัสเซียยูเครน วิกฤตราคาพลังงานโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ และอยู่ในภาวะเงินเฟ้อรุนแรงเช่นกัน


สรุปคือ เราอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ขาลง ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนเท่าไหร่ ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนสูง ซึ่งนักลงทุนที่ต้องการความผันผวนที่ต่ำกว่าและมีการเติบโตอาจจะหันมาดูที่การลงทุนในประเทศไทย ซึ่งเราอยู่คนละรอบวัฏจักรเศรษฐกิจกับประเทศเหล่านี้ กล่าวคือ ตอนที่พวกเขาเป็นขาขึ้น (ปี 63-64) ไทยเราไม่ค่อยขึ้น แต่ในยามที่พวกเขาเป็นขาลงแรง (ปี 65) ไทยเราก็แทบไม่ลง ทั้งยังมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น


จากรูปแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของตลาดหุ้นในปี 2019-2022 ซึ่งตลาดหุ้นทุกประเทศผ่านช่วงที่ผลตอบแทนเป็นบวกและลบ จะเห็นได้ชัดเจนว่า แม้ตลาดหุ้นไทยจะมีช่วงผลตอบแทนเป็นบวกสั้นกว่า แต่ก็มีช่วงผลตอบแทนที่ติดลบสั้นกว่าทุกประเทศ และมีความผันผวนน้อยกว่าทุกประเทศ

5 เหตุผล หุ้นไทยยังมีมุมมองการลงทุนที่น่าสนใจ


1. ตลาดหุ้นไทยกลับมาได้ทุกครั้ง หลังจากทุกวิกฤต


วิกฤตใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปี 2533 วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Subprime crisis) ปี 2551 หรือแม้แต่วิกฤตเฉพาะประเทศไทยอย่างมหาอุทกภัยปี 2554 หรือวิกฤตการเมือง ตลาดหุ้นไทยก็เคยผ่านมาแล้วหลายครั้ง ทุกครั้งก็จะทำให้หุ้นตกต่ำทั้งตลาดเป็นระยะเวลาหนึ่ง สั้นบ้างยาวบ้าง แตกต่างกันไปตามระดับความใหญ่ และความใกล้ของปัญหา แต่หลังจากผลกระทบจบลง โลกหลังวิกฤตนั้นมีอยู่จริงเสมอ ดัชนีตลาดหุ้นไทย และราคาหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ก็มักจะฟื้นขึ้นกลับมาสู่จุดเดิม และเติบโตต่อไปได้ทุกครั้ง ด้วยเหตุปัจจัยที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง


2. ตลาดหุ้นไทย มีหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความแน่นอนของผลประกอบการสูง


ในยุคปัจจุบันการตัดสินใจว่าจะลงทุนหุ้นตัวไหนนั้น จะอาศัยแต่ข้อมูลในอดีตเพื่อวิเคราะห์ได้ยากขึ้น เพราะอนาคตอาจจะเปลี่ยนไป จากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง หรือจากเทคโนโลยีดิสรัปชั่น ดังนั้นเราควรวิเคราะห์ไปข้างหน้าว่า ธุรกิจของบริษัท ยังคงเป็นสินค้าและบริการที่จำเป็น แข่งขันได้ และไม่ถูกดิสรัปชั่น จริงหรือไม่?


หุ้นไทย โดยเฉพาะหลายๆตัวใน SET50 และ SET100 มีความเป็นหุ้นขนาดใหญ่ Big Cap อยู่ในธุรกิจที่จำเป็นไม่ได้ถูกดิสรัปได้ง่ายๆ ทั้งยังมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันระยะยาว ที่มาจากการผูกขาดและกินขาด ลองนึกถึง ธุรกิจท่าอากาศยาน ธุรกิจน้ำมันและพลังงาน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจการแพทย์ ฯลฯ เราจะนึกถึงหุ้นขนาดใหญ่ ที่มีความประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) อยู่ในตลาดที่คู่แข่งขันน้อยราย ซึ่งในภาวะปกติธุรกิจจะมีความแน่นอนของผลประกอบการสูง และมีส่วนแบ่งการตลาดและการบริหารต้นทุนดีขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อมองด้วยเกณฑ์เหล่านี้ ตลาดหุ้นไทยยังคงน่าลงทุนอยู่ไม่น้อย และสามารถเป็นความหวังในการออมระยะยาวได้ดี


3. การท่องเที่ยวคือเทรนด์ใหญ่


ประเทศไทยอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจที่กำลังจะฟื้นตัว จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก แม้ว่าภาคท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้นทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทยแล้วสัดส่วนต่อ GDP ของภาคท่องเที่ยวไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆมาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาคท่องเที่ยวมี Ecosystems ที่ใหญ่มาก สามารถส่งต่อกำลังซื้อและการเติบโตไปสู่ภาคส่วนอื่นๆอีกมากมาย เช่น ภาคบริการและภาคการบริโภคในประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนGDP ไทย และยังมีแนวโน้มที่เป็นบวกจากการท่องเที่ยวได้อีกหลายปี


4. ลงทุนในตลาดหุ้นไทย เหมือนลงเล่นในฐานะเจ้าบ้าน


ในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในภาวะตกใจขาย (Panic Sell) จะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อย อาจตกใจขายล้างพอร์ต หรือบางกรณีที่ถือกอง RMF อาจจะสับเปลี่ยนจากหุ้นกลายเป็นกองตราสารหนี้หรือพันธบัตร เพื่อพยายามหลบหลีกความเสี่ยงและการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งการตัดสินใจตรงจุดที่ตลาดรับรู้ข้อมูลแล้วนั้น มักเป็นจุดที่ไม่ควรขายหรือสับเปลี่ยนกองออก การลงทุนต่างประเทศเหมือนเราลงเล่นในฐานะทีมเยือน การหาข้อมูลทำได้ยากกว่าและมีโอกาสเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ แนวโน้มการตัดสินใจจึงมีโอกาสผิดพลาดสูงกว่า ในขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทย เหมือนลงเล่นในฐานะเจ้าบ้าน โอกาสที่จะหาข้อมูลทำได้มากกว่า จึงประเมินได้แม่นยำกว่า ว่าเราควรใช้ความกล้าหาญเข้าซื้อถัวเฉลี่ย หรือยังไม่ควรเข้าไปยุ่ง ควรรอคอยโอกาสอีกหน่อยดีกว่า จุดตัดสินใจคือข้อมูลที่มีคุณภาพและรอบด้าน


5. หุ้นไทยขนาดใหญ่ มีการปรับตัว สร้างโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ


ปัจจัยเชิงคุณภาพของหุ้นไทยนั้น แม้หลายตัวจะด้อยลงจากการเติบโตในอนาคตที่ช้าลง แต่หุ้นไทยจำนวนมากก็มีความพยายามในการเติบโตใหม่ ๆ เช่น


·  เริ่มขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เช่น โรงไฟฟ้าหลายแห่งขยายกำลังการผลิตในต่างประเทศ ธุรกิจอาหารลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศ


·  เริ่มเข้าสู่ธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมเติบโตอยู่ใน S-Curve ใหม่ ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เช่น ลงทุนในอุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีการเงิน


·  เริ่มหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจสร้างสเกล ผ่านการ M&A และซื้อกิจการในประเทศ เช่น ห้างค้าส่งใหญ่ซื้อกิจการห้างค้าปลีกใหญ่ ห้างใหญ่ซื้อห้างคอมมูนิตี้มอลล์ กลุ่มรถไฟฟ้าพาร์ทเนอร์กับกลุ่มธุรกิจค้าไอทีและบริหารหนี้ การควบรวมกิจการในกลุ่มโทรคมนาคม ฯลฯ


นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยมีหุ้นแข็งแกร่งที่ทำธุรกิจกึ่งผูกขาดในตลาดคู่แข่งน้อยรายอยู่หลายตัว กิจการเหล่านี้มักอยู่ใน SET100 ในอนาคตอาจจะขยายธุรกิจในแนวทางข้างต้น หรือหากเริ่มอิ่มตัวโตช้าแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะมีเงินสดเหลือมาก และจะจ่ายปันผลออกมาให้แก่นักลงทุนหุ้นไทยเพิ่มขึ้นได้


สนใจการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย


วิธีการหนึ่งซึ่งง่ายและหวังผลได้สูง เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการการเติบโตไปได้เรื่อยๆแบบไม่ผันผวนสุดโต่งเกินไป คือการทยอยลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะการลงทุนที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีไปด้วยอย่างกองทุน SSF และ RMF ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นไทย

ลงทุนเน้นๆ หุ้นไทย อิงดัชนี SET เลือก SCBLTSET-SSF


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว เซ็ท อินเด็กซ์ (ชนิดเพื่อการออม)


·  กองทุนมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ดัชนีอ้างอิง SET) ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้กลยุทธ์การบริหารเชิงรับ (Passive Fund Strategy)


·  เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป


·  กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1) กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 22.75% 2) กลุ่มพาณิชย์ 10.05% 3) กลุ่มธนาคาร 9.77%  4) กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 8.29% และ 5) กลุ่ม ICT 7.40%


·  ลงทุนหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด เช่น AOT PTT DELTA PTTEP และ GULF เป็นต้น


ลงทุนหุ้นไทยปันผล เลือก SCBDV-SSF


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (ชนิดเพื่อการออม)


·  กองทุนเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ใช้กลยุทธ์การบริหาร Active Management เพื่อมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด


·  คัดเลือกลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุด และสอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนในขณะนั้น ซึ่งจะใส่น้ำหนักการลงทุนมากน้อยตามความน่าสนใจของหุ้นนั้น โดยกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30 ตัว


·  เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป


·  กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1) กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 21.88% 2) กลุ่มพาณิชย์ 12.29% 3) กลุ่มธนาคาร 11.12%  4) กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 8.40% และ 5) กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.41%


·  ลงทุนหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด เช่น AOT PTT GULF ADVANC และ BDMS เป็นต้น

ลงทุนในกองทุนผสมในประเทศ ที่เน้นลงทุนหุ้นไทยปันผล เลือก SCBLT1-SSF


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (ชนิดเพื่อการออม)


·  กองทุนผสมในประเทศโดยเน้นการลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 65-70% ส่วนที่เหลือกระจายลงทุนในตราสารหนี้


·  กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (infra) ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ โดยการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนด


·  เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความผันผวนระหว่างทางได้ และต้องการเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนส่วนใหญ่ (ประมาณ 70%) ในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF


·  กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1) กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 19.01% 2) กลุ่มธนาคาร 10.21% 3) กลุ่มพาณิชย์ 8.63%  4) กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 7.48% และ 5) กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 6.73%


·  ทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ AOT GULF KBANK JMT และ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย


ลงทุนเน้นหุ้นไทยคุณภาพดี เลือก SCBRM4


กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ


·  กองทุนลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง SET50


·  เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน RMF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป


·  กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1) กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 23.09% 2) กลุ่มธนาคาร 13.20% 3) กลุ่มพาณิชย์ 10.71%  4) กลุ่ม ICT 10.17% และ 5) กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.44%


·  ลงทุนหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด เช่น AOT GULF BBL PTT และ ADVANC เป็นต้น

สนใจลงทุนใน SCBLTSET-SSF, SCBDV-SSF, SCBLT1-SSF และ SCBRM4 วันนี้ เริ่มต้นยังไง?


ใครสนใจ อย่าช้า เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้


1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App


2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App


3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :


SCBLTSET-SSF
https://www.scbam.com/th/fund/ssf/fund-information/scbltset-ssf


SCBDV-SSF
https://www.scbam.com/th/fund/tax-ssf/fund-information/scbdv-ssf


SCBLT1-SSF
https://www.scbam.com/th/fund/reduce-taxes/fund-information/scblt1-ssf


SCBRM4
https://www.scbam.com/th/fund/rmf-domestic-investment/fund-information/scbrm4


คำเตือน:


·  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน

· กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้

·  ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

·  กองทุนบางกองทุนมิได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนรวมถึงบางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ดังนั้นควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB EASY App



#SCB x  #นิ้วโป้งFundamentalVI

#SCBEASY #SCBLTSET-SSF #SCBDV-SSF #SCBLT1-SSF #SCBRM4

#SSF #RMF  #กองทุนลดหย่อนภาษี