ไตรมาส 3 นี้ ลงทุนด้วยกลยุทธ์ “ระยะสั้นเน้นตั้งรับ ระยะยาวคว้าโอกาสรุกคืบ”

ภาพการลงทุนในครึ่งแรกของปี 2566 เต็มไปด้วยความผันผวน


มองย้อนกลับไปช่วงปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566
ตลาดหุ้นไทยเป็นเหมือนหลุมหลบภัยท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย(Recession) ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไปทั่วโลก ในปี 2565 ตลาดหุ้นไทยเป็นเพียงไม่กี่ตลาดในโลกที่ให้ผลตอบแทน “เป็นบวก” (+0.7%) ในขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศที่เคยให้ผลตอบแทนเป็นบวกอย่างร้อนแรงในปี 2564 ต่างก็ปรับฐานตกลงมาอย่างหนักตลอดปี 2565 ตั้งแต่ -15% ถึง -33%


จากต้นปี 2566 ที่สดใส สู่กลางปีหม่นหมอง
เพราะตลาดหุ้นไทยที่ดูเหมือนว่าจะเป็นปีที่ดี แต่ดัชนีปรับขึ้นเป็นบวกได้เพียงเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็เหมือนติดหล่ม ดัชนีวิ่งออกข้างจนถึงสิ้นเดือนมกราคม ก่อนที่นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มกระหน่ำขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา และขายอย่างต่อเนื่องอีกหลายเดือน หากนับถึงสิ้นไตรมาส 2 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยออกไปแล้วมากกว่า 1.1 แสนล้านบาท จนดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงหลุดต่ำกว่า 1500 จุด


ในครึ่งปีแรก ตลาดหุ้นไทยกลับกลายเป็นดัชนีตลาดหุ้นที่อ่อนแอที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ในขณะที่ตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกอย่างสวยงาม โดยดัชนี MSCI World +12.8%, ดัชนี Nikkei225 ประเทศญี่ปุ่น +27.2%, ดัชนี S&P500 ประเทศสหรัฐอเมริกา +15.9%, ดัชนี KOSPI ประเทศเกาหลีใต้ +14.7%, ดัชนี TWSE ไต้หวัน +19.6% และดัชนี VN Index ประเทศเวียดนาม +11.2% เป็นต้น แต่ ดัชนี SET ตลาดหุ้นไทย กลับให้ผลตอบแทน -10%


สำหรับ เหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยทำผลงานได้ไม่เข้าตานักในช่วงครึ่งปีแรก จากมุมมองการลงทุนของ SCB CIO พบว่า เป็นผลมาจาก ถึงแม้เศรษฐกิจไทยมีโมเมนตัมฟื้นตัว แต่ด้วยสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง จึงกดดันตลาดหุ้นไทยอยู่ ผ่านการกดดันราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) หุ้นไทยให้ปรับลดลงจาก 16-17 เท่า มาอยู่ในระดับ 14-15 เท่า ทั้งยังกดดันคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนในอนาคตให้ปรับลดลงมาต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 นี้ การเมืองน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจและกำไรของบริษัทจดทะเบียนน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ เราจึงมองว่า อาจจะรอจังหวะที่ดัชนีหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า 1,500 จุด ทยอยเข้าสะสมหุ้นไทยได้

704726179

เราจะทำอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้?


ในภาวะผันผวนที่คาดการณ์ได้ยากนั้น เราควรพิจารณา กลยุทธ์การลงทุนที่มองทั้งภาพระยะสั้นและระยะยาว


ระยะสั้นเน้นตั้งรับ
เลือกการลงทุนที่มีความปลอดภัยกว่า ด้วยการลงทุนในตราสารหนี้ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตลงทุน โดยกระจายความเสี่ยงลงทุนสินทรัพย์หลายประเภทมากขึ้น โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้


ระยะยาวคว้าโอกาสรุกคืบ
ด้วยการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจในเชิงมูลค่า อีกทั้งยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมากในอนาคต


กลยุทธ์ระยะสั้นเน้นตั้งรับ ระยะยาวคว้าโอกาสรุกคืบ


กลยุทธ์ที่ 1 ตั้งรับความผันผวนระยะสั้น ด้วยการทยอยลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก


· เรากำลังอยู่ในช่วงปลายวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น แม้จะยังมีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (UST Yields : US Treasury Yield) จะปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้น จากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ลดลงช้า ข้อมูลการจ้างงานและการบริโภคที่แข็งแกร่ง


· อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในระยะเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า จะมีแนวโน้มเป็นขาลงมากกว่าขาขึ้น จากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย และมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น


· หนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจคือ กองทุนที่กระจายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก โดยเน้นการคัดเลือกลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้คุณภาพสูง รวมทั้งมีการลงทุนที่ไม่กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ

กลยุทธ์ที่ 2 ตั้งรับความผันผวนระยะสั้น ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายกระจายความเสี่ยง


• มีการคาดการณ์กันว่าประเทศสหรัฐอเมริกา มีโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอย แต่จะเป็นแบบไม่รุนแรง (Mild Recession) ในช่วงต้นปี 2567 ขณะที่ประเทศในแถบยุโรป แม้จัดการวิกฤตพลังงานได้ แต่ผลจากดอกเบี้ยสูงยังเป็นความเสี่ยงหลักที่อาจจะทำให้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เช่นกัน


• กลยุทธ์การตั้งรับความผันผวนระยะสั้นนี้ ควรให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตลงทุนและกระจายความเสี่ยงลงทุนสินทรัพย์หลายประเภท


หากผู้ลงทุนไม่ชำนาญในการจัดพอร์ตลงทุนเอง แนะนำกองทุนรวมที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท และมีผู้จัดการกองทุนคอยปรับน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย


กลยุทธ์ที่ 3 รุกต่อเพื่อโอกาสระยะยาวด้วยการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มฟื้นตัวและมี Valuation น่าสนใจด้วย


ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นจีน A-Shares ตอบรับเศรษฐกิจจีนที่กำลังฟื้นตัว แต่ในระยะสั้นอาจจะมีปัญหาหนี้รัฐบาลท้องถิ่น บวกกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว และเงินหยวนที่อ่อนค่า สร้างความผันผวนให้ตลาดในระยะสั้นบ้าง


สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้การลงทุนหุ้นจีน A-Shares ในไตรมาส 3 น่าสนใจ ได้แก่


• ดัชนีตลาดหุ้นจีน A-Shares มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจจีนที่ทยอยฟื้นตัว


• ทางการจีนมีแนวโน้มส่งสัญญาณผ่อนคลายมากขึ้น ในการประชุม Politburo


• ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนจีนช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มถูกปรับเพิ่มขึ้น


• มูลค่า (Valuation) ตลาดหุ้นจีน A-Shares ยังไม่แพง เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนระยะยาว


ที่มา กลยุทธ์การลงทุนอ้างอิงจากข้อมูลของ SCB CIO ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ค. 2566

วันนี้มีกองทุนที่สามารถตอบโจทย์ กลยุทธ์ระยะสั้นเน้นปลอดภัย ระยะยาวคว้าโอกาสรุกคืบ ได้เป็นอย่างดี มี 3 กองทุนดังนี้


1. กองทุน KT-ARB-A (Complex Fund)
: ความเสี่ยงระดับ 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)

กองทุนเปิดเคแทม Absolute Return Bond (ชนิดสะสมมูลค่า)


• มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Jupiter Strategic Absolute Return Bond Fund (กองทุนหลัก) สกุลเงิน USD


• กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนรวมให้เป็นบวกในรอบระยะเวลา 12 เดือน บนระดับความผันผวนที่กำหนด โดยไม่ขึ้นกับภาวะตลาด


• กองทุนหลักมีกลยุทธ์เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทุกประเภททั่วโลกเป็นหลัก ทั้งทางตรง และทางอ้อม (ทั้งสถานะซื้อ และสถานะขาย (Long and Short)) ผ่านการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า(derivative) ทำให้มีกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับพอร์ตได้ดีในยามตลาดผันผวน



2. กองทุน SCBCIO(A) : ความเสี่ยงระดับ 5 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง)

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity (ชนิดสะสมมูลค่า)


• กองทุนผสมแบบ Fund of Funds ที่ปรับสัดส่วนการลงทุน และคัดเลือกการลงทุนให้ยืดหยุ่น สามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100%


• One-Stop Fund เป็นกองทุนผสมที่ปรับสัดส่วนการลงทุนและความเสี่ยงตามสภาวะตลาด ผสมผสานคัดเลือกกองทุนรวมทั้งในและต่างประเทศ โดยพยายามคัดสรรให้ตรงกับมุมมองการลงทุนของทาง SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ให้มากที่สุด เสมือนมี SCB CIO เป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้คำแนะนำ และปรับสัดส่วนการลงทุนตามสภาวะตลาด



3. กองทุน SCBASHARES(A) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง)

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ แอคทีฟ (ชนิดสะสมมูลค่า)


• มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Schroder International Selection Fund China A (กองทุนหลัก) สกุลเงิน USD


• กองทุนหลักลงทุนใน หุ้นจีน A-Shares เน้นการคัดเลือกหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน Bottom-up เลือกหุ้นที่มีคุณภาพดีและมีศักยภาพในการเติบโตสูง มีการกระจายความเสี่ยงลงทุนในหุ้นจำนวนกว่า 70-80 บริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรม


· ลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ซึ่งเป็นหุ้นที่มีศักยภาพสูง มีการเติบโตแข็งแกร่งจากการบริโภค และการพัฒนานวัตกรรมในประเทศ เช่น


o Ping An Insurance Group บริษัทโฮลดิ้งขนาดใหญ่ให้บริการหลากหลายธุรกิจการเงิน เช่น ประกัน ธนาคาร บริหารจัดการสินทรัพย์ บริการทางการเงิน รวมไปถึงบริการเฮลธ์แคร์ เป็นต้น


o China Merchants Bank ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำใหญ่อันดับ 1 ของจีน มีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่องให้บริการด้านการเงินหลากหลายประเภท


o Contemporary Amperex Technology (CATL) ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-อิออนสำหรับ EV รายใหญ่ใหญ่ของโลก


o Midea Group ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน


หมายเหตุ :


1. ตัวอย่างรายชื่อหุ้นที่ถือครองจากข้อมูล Fund Fact Sheet ของกองทุนหลักที่ลงทุนในต่างประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2566 (https://www.scbam.com/medias/fund-doc/master-fund/SCBASHARES(A)_MASTER.pdf)


2. รายชื่อหุ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง ได้


สนใจ กองทุนSCBCIO(A) และ กองทุนSCBASHARES(A) วันนี้ เริ่มต้นยังไง ?


ใครสนใจ เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้


1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App


2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App


3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App


สำหรับ กองทุน KT-ARB-A


ใครสนใจซื้อ สามารถซื้อได้ผ่านที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลของท่าน หรือที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา โดยการเปิดบัญชีกองทุนรวมแบบ Omnibus


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.ktam.co.th/fif-fund-detail.aspx?IdF=85

https://www.scbam.com/fund/foreign-investment-fund-mixed/fund-information/scbcioa

https://www.scbam.com/fund/foreign-investment-fund-equity/fund-information/scbasharesa


บทความเขียน ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566

คำเตือน

• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

• ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

• เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

• กองทุน SCBCIO(A) ได้ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งธนาคารฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายกองทุนรวมกับบลจ. ไทยพาณิชย์ จึงอาจมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

• ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนที่ร่วมรายการเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม www.scbam.com และสามารถศึกษารายละเอียดกองทุนรวมเพิ่มเติมผ่าน SCB EASY App

• สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777


#SCBX #SCBWealth #SCBEASY

#กองทุนKT-ARB-A

#กองทุนSCBCIO(A)

#กองทุนSCBASHARES(A)


บทความจัดทำโดยทีม SCB CIO Office [คุณจารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ (IC Complex1)/ผู้วางแผนการลงทุน (IP) license no. 114051]