ประตูสู่ธุรกิจ
กราฟการท่องเที่ยวเวียดนามพุ่งเกินคาด เพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าไทย
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ทิศทางส่งออกเวียดนามสดใส โอกาสและความท้าทายของสินค้าไทย
แนวโน้มเศรษฐกิจของเวียดนามช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากทั้งภาคการส่งออกและภาคการบริโภคในประเทศ ซึ่งสำนักงานนโยบาลและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) มีแนวโน้มที่ขยายตัวสูงขึ้น สวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะเวียดนามดาวเด่นของกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีปัจจัยหลากหลายด้านที่ส่งเสริมลงทุน ถือเป็นโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปลงทุนในเวียดนาม
1. จากสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าเวียดนามมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกว่า 435,000 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ปัจจัยบวกต่างๆ เช่น การทำข้อตกลงการค้าเสรีถึง 16 ฉบับ การมีแรงงานคุณภาพ ทำเลที่ตั้งเอื้อประโยชน์ต่อการค้าในภูมิภาค
2. เวียดนามเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในกลุ่ม CLMV รายได้จากการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของ GDP โดยมีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกหลัก สัดส่วนกว่าร้อยละ 30 โดยมีประเทศคู่ค้ารายใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, และสหภาพยุโรป ตามลำดับ
3. การเติบโตของ e-Commerce ในเวียดนาม มาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น โดยปี 2566 การค้ารูปแบบอีคอมเมิร์ซในเวียดนามเติบโตเป็นอย่างมาก มีมูลค่ากว่า 20,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราเติบโตด้านช้อปปิ้งออนไลน์สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดการณ์ว่ารายได้และปริมาณการขายบนแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ B2C ของเวียดนามจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีหน้า อาจสูงถึง 650 ล้านล้านด่ง ภายในปี 2567 โดยเฉพาะแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 5 อันดับแรกของเวียดนาม จะมีมูลค่ามากกว่า 310 ล้านล้านด่ง ปี 2567 เติบโตร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับปี 2566 การค้าขายข้ามพรมแดนจะเป็นเทรนด์ของตลาด โดยเฉพาะร้านค้าจากจีนและเกาหลีใต้ที่กำลังเป็นที่สนใจมากขึ้นบนแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ในเวียดนาม
4.ประชากรของเวียดนามมีจำนวนมาก นับเป็นลำดับที่ 16 ของโลก (99.3 ล้านคน) โดยร้อยละ 70 อยู่ในวัยทำงาน ส่งผลให้มีแรงงานจำนวนมากและมีตลาดภายในขนาดใหญ่
5.เวียดนามได้ประโยชน์จากสงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีน เป็นประเทศเป้าหมายในการเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ รวมทั้งได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกามากขึ้นเพื่อทดแทนการส่งออกจากจีน
6.การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดแรงงาน
7.ปี 2561 เวียดนามได้ให้สัตยาบันรับรองข้อตกลง CPTPP โดยประเทศสมาชิกจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าตามรายการสินค้าที่กำหนดไว้
8.จากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (เจซีบีซี) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 5 ได้มีการประกาศให้ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่สถาปนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์รอบด้านกับเวียดนาม และตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งของสองประเทศและภูมิภาค
ปัจจุบันไทยครองตำแหน่งคู่ค้าอันดับ 1 ของเวียดนาม ขณะที่เวียดนามถือเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย โดยไทยกับเวียดนามได้ตกลงร่วมกันที่จะอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้าทวิภาคีที่ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมที่จะส่งเสริมให้การค้าในภูมิภาคราบรื่น ผ่านการใช้ ASEAN Single Window อย่างมีประสิทธิผล และการอำนวยความสะดวกให้แก่สินค้าผ่านแดน โดยเฉพาะที่จุดผ่านแดนอีกด้วย
จากการประชุมและการจับมือร่วมกันดังกล่าว ไทยจึงถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์แบบรอบด้านกับเวียดนาม ทำให้ไทยและเวียดนามพร้อมที่จะยกระดับการเป็นประเทศที่สนับสนุนนักลงทุนทั้งไทย เวียดนาม และต่างประเทศอย่างไร้ขีดจำกัด
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก: ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโฮจิมินท์ซิตี้ เวียดนาม https://www.scb.co.th/vn/corporate-banking.html
ข้อมูลอ้างอิง