NIA SCB IBE : Tech พบ SME สร้างพันธมิตรขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล

ในยุค Digital Economy ที่เทคโนโลยีกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ การเกิดขึ้นของ Tech Company ที่ก่อตั้งโดยผู้ประกอบการใหม่ๆ นับเป็นส่วนต่อยอดสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจต่างๆ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกธุรกิจทุกวันนี้ เทคโนโลยีกลายเป็นคีย์หลักที่มีผลต่อศักยภาพการแข่งขันของผู้เล่นในตลาด SCB จึงร่วมกับ NIA จัดหลักสูตรอบรม NIA SCB Innovation-Based Enterprise (IBE) สร้างโอกาสให้กลุ่ม Tech Company ได้เจอกับ SME เพื่อจะได้เรียนรู้ถึง Insight จากธุรกิจ SME และธุรกิจ SME ได้เรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อนำไปต่อยอดสร้างพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่ง


ในงาน NIA SCB Innovation-Based Enterprise (IBE) Preview Day ได้มีการเสวนาในหัวข้อ “Shift Business with Right Partner” โดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวง Tech Business ได้แก่ คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), คุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิว คิว ประเทศไทย จำกัด, คุณก่อลาภ สุวัชรังกูร  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด GET และคุณไพลิน วิชากุล Principal, CVC Team Digital Ventures มาร่วมให้มุมมองเกี่ยวกับ Tech Company ในประเทศไทย

Tech Company ดาวรุ่งของเศรษฐกิจไทย

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ Tech Company เติบโตขยายไปไกลมาก บริษัทที่อยู่มาประมาณหนึ่งแล้ว ก็มี feature ใหม่มีขยายตลาด ขยายกลุ่มลูกค้าทั้งในและนอกประเทศ รวมถึง Tech Company ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่คิดค้น Solution ตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนกลุ่ม New Gen ที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น   ทั้งนี้ Tech กลายเป็นทางรอดของหลายๆ ธุรกิจที่ต้องปรับตัวนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้คงอยู่ในตลาดต่อไปได้ หากไม่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้หรือไม่ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีก็อาจตามคู่แข่งไม่ทัน เพราะเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ซึ่งในอนาคตอันใกล้ บริษัทต่าง ๆ จะไม่ใช่บริษัทธรรมดา แต่จะกลายเป็น Tech Company ทั้งในแง่การเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี และการเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี เพราะหากไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ต้นทุนประกอบการจะสูงจนแข่งขันไม่ได้ ดังนั้นการเริ่มต้นทำธุรกิจจะต้องคิดก่อนเลยว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไร


ในด้านของการลงทุน เงินลงทุนใน Tech Company ไหลเข้ามาค่อนข้างเยอะ เห็นได้จากหลายบริษัทในเกือบทุกอุตสาหกรรม ทั้งการสื่อสาร การเงิน กลุ่มบริษัท Conglomerate ฯลฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน CVC (Corporate Venture Capital) สำหรับลงทุนใน Tech Company จึงเป็นโอกาสดีสำหรับ Tech Company ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน อย่างไรก็ดีแม้จะมีเม็ดเงินลงทุนมากมาย แต่กลับมีความท้าทายว่าจะมีบริษัทที่คิดค้นเทคโนโลยีที่ดีพอสมกับจะได้รับเงินลงทุนหรือไม่? หรือถ้าได้รับเงินลงทุนแล้วจะสามารถจับกลุ่มตลาดลูกค้าได้หรือไม่?


ซึ่งสิ่งนี้สำคัญมาก เพราะแม้จะมีเงินทุน แต่ถ้าจับกลุ่มตลาดลูกค้าไม่ได้ เงินทุนจะถูกใช้ไปเรื่อย ๆ Tech Company นั้นก็ไม่สามารถเติบโตได้อย่างแท้จริง จนถึงเข้าสู่สภาวะซอมบี้

Partnership หัวใจสำคัญสู่การเติบโต

“สภาวะซอมบี้” หมายถึง Tech Company ที่ยากที่จะเติบโตต่อไป ขณะเดียวกันก็ไม่ถึงกับต้องปิดตัวเสียทีเดียว และการที่ Tech Company จะหลุดจากสภาวะนี้ได้คือการหาพันธมิตรธุรกิจ (Partnership) เพราะพันธมิตรธุรกิจเป็นส่วนสำคัญให้บริษัทเติบโต (Growth) ทั้งในแง่รายได้ ส่วนแบ่งตลาด จำนวนลูกค้า มีต้นทุนถูกลง แล้วการทำ Partnership กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันยังช่วยแก้ปัญหาใน Value Chain ในอุตสาหกรรมได้ด้วย โดยพันธมิตรธุรกิจก็ไม่จำเป็นต้องเป็นภาคเอกชนอย่างเดียว จะเป็นภาครัฐ หน่วยงานอิสระก็ได้ 


ในวงการ Tech Company ที่ความรวดเร็วคือตัวแปรสำคัญในการแข่งขัน วิธีการแก้ไขจุดอ่อนที่รวดเร็วที่สุดคือการหาพันธมิตรธุรกิจ รวมไปการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศที่เราไม่มีความชำนาญในพื้นที่ ดังนั้นการหาพันธมิตรธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญกับ Tech Company ในทุกสเตท ซึ่งคอร์ส NIA SCB Innovation-Based Enterprise (IBE) จัดขึ้นมาเพื่อสร้างโอกาสให้ Tech Company พบกับพันธมิตรเพื่อก้าวข้ามไปสู่อีกขั้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า SME ที่มีความต้องการเทคโนโลยีไปใช้ในธุรกิจ ซึ่ง Tech Company ก็เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี Solution ในส่วนนี้อยู่แล้ว จึงเป็นการจับคู่ที่ลงตัวมาก

คุณก่อลาภ สุวัชรังกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด GET มองว่าการหาพันธมิตรธุรกิจไม่ได้หมายถึงแค่การซื้อของหรือเพิ่มประโยชน์ในด้าน Economy of Scale แต่ยังหมายถึงการช่วยกันพัฒนาไอเดียออกโปรดักส์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์สร้างความสุขให้ลูกค้า เช่นในกรณีของ GET ร่วมกับ SCB มีระบบ Instant Payout ที่นำเงินเข้าบัญชีของพี่วินทันทีที่ส่งของเสร็จ ไม่ต้องรอเป็นรายสัปดาห์ และในส่วนของ GET ก็ใช้พันธมิตรในการขยายสู่ตลาดภูมิภาคอื่น เป็นวิธีการปรับรูปแบบธุรกิจให้เข้ากับท้องถิ่นจริง ๆ


ในฝั่งของคุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO บริษัท คิว คิว ประเทศไทย จำกัด มองว่าพันธมิตรธุรกิจที่ดีที่สุดคือการเอาลูกค้ามาเป็นพันธมิตรให้ได้ ด้วยการเปลี่ยน Mindset ของลูกค้าจากที่เราขายของเขา มาเป็นการสร้างคุณค่าให้เขา โดยเราเข้าไปเรียนรู้ปัญหา Pain Point ของเขา แล้วหา know-how มาแก้ปัญหาทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น เพราะลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเราสร้างธุรกิจ


ในมุมมองของนักลงทุน คุณไพลิน วิชากุล  Principal, CVC Team Digital Ventures กล่าวถึงสิ่งที่นักลงทุนมองหาใน Tech Company ก็คือบริษัทที่รู้จักจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง และรู้ว่าควรเสริมธุรกิจตัวเองด้านไหน

Win-Win หลักสำคัญของการทำ Partnership


อะไรคือสิ่งสำคัญของการทำ Partnership? ทุกคนในการสัมมนาเห็นตรงกันว่าการทำ Partnership ให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมี

  • การเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน : เนื่องจากการทำ Partnership เป็นพันธกิจระยะยาว ทั้งสองบริษัทจึงต้องพูดคุยทำความเข้าใจว่าอะไรคือเป้าหมายร่วมของทั้งคู่ คุยกันเพื่อหา pain point สิ่งที่พันธมิตรต้องการแล้วเราจะทำอะไรที่เป็น Value ให้เขาได้บ้าง? หาสิ่งที่จะกลายเป็น Core Value ให้ธุรกิจเราและเขา

  • การทดลองทำงานร่วมกัน : การเริ่มต้นทำงานร่วมกันเป็นโครงการนำร่อง ควรเริ่มต้นจากสเกลเล็ก ๆ เพื่อเรียนรู้และปรับวิธีการทำงานเข้าหากัน ซึ่งสิ่งที่ให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกันคือ จังหวะความเร็ว (speed) พื้นที่ของแต่ละฝ่าย (space) และการจัดลำดับความสำคัญ (priority) ที่ทั้งสองฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกันและเรียนรู้กันไปยาวๆ 


พร้อมกันนี้ คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่าสิ่งสำคัญในการทำพันธมิตรคือ 1) รู้จักตัวเองว่าคือใคร บริษัทตัวเองว่าอยู่ในสเตทไหน โปรดักส์ของตัวเองคืออะไร ลูกค้าคือใคร ตัวเราต้องการอะไร 2) รู้ข้อจำกัดของตัวเอง อะไรทำได้ทำไม่ได้ และ 3) การทำ Win-Win Partnership เราจะให้อะไรเขาแล้วเขาให้อะไรคุณ “พันธมิตรคือคนที่จะมาช่วยเราในสิ่งที่เราทำไม่ได้ คนที่จะมาสร้าง Value ร่วมกันได้ ซึ่งการทำ Partnership คือการ Share Goal Share Value ของทั้งสองฝ่าย ดูว่าจะสามารถส่งมอบสิ่งอยากได้ได้หรือเปล่า? อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคิดถึงคือทั้งสองฝ่ายมี Commitment ใน partnership นี้มากแค่ไหน ถ้าสิ่งที่ทำล้มเหลวจะรับได้หรือไม่? บางคนอาจจะมองตรงนี้เป็นต้นทุนเสียเปล่า แต่จริง ๆ แล้วสิ่งนี้เป็นการลงทุนเพราะในทุกความล้มเหลว เราก็จะได้ความรู้และประสบการณ์กลับมา

คอร์ส IBE เตรียมพร้อมก้าวสำคัญของ Tech Company ไทย


แม้จะผ่านจุดยากที่สุดคือการก่อร่างสร้างธุรกิจตั้งแต่เริ่มแรก แต่ก้าวต่อไปในสนามการแข่งขันธุรกิจก็ยังเป็นความท้าทายที่ Tech Company ต้องเผชิญ คอร์ส IBE (Innovation Based Enterprise) ที่ NIA ร่วมกับ SCB จัดขึ้นมีเป้าหมายสนับสนุนผู้ประกอบการ Tech Company เตรียมพร้อมสู่การเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยเป็นคอร์สยาว 26 สัปดาห์เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2563


ในช่วง 3 เดือนแรกจะเป็นการติดอาวุธความรู้ด้านการบริหารองค์กรเช่น Business Management, Marketing & Branding, Finance ฯลฯ และในช่วง 3 เดือนหลังเป็นส่วนที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ก้าวไปสู่ Growth Stage คือ การทำ Business Matching กับลูกค้า SME ของธนาคาร มีการทดลองโปรดักส์ (Testing Ground) และการหาพันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership) นำไปสู่การต่อยอดธุรกิจเพื่อเดินหน้าแข่งขันอย่างเต็มศักยภาพ  ซึ่งการเข้ามาเรียนคอร์สนี้ผู้ประกอบการจะได้เรียนรู้การทำ Partnership ที่ถูกต้อง เป็นการสร้าง Networking ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจได้พบลูกค้าหรือ Partner คนแรก เพราะคนที่อยู่รอบ ๆ และเติบโตมาด้วยกันจะเป็น Partnership ที่ดีที่สุด ในส่วนของวิทยากรและโค้ชของหลักสูตรนี้ก็ล้วนเป็นระดับกูรูชั้นแนวหน้าในวงการธุรกิจและเทคโนโลยีของประเทศ


ผู้ประกอบการ Tech Company ที่สนใจรายละเอียดและสมัครหลักสูตร NIA-SCB Innovation-Based Enterprise (IBE) คลิกอ่านเพิ่มเติมที่ https://scbsme.scb.co.th/seminar-detail/190    หรือ ดูคลิปงาน IBE Preview Day ที่ คลิก https://youtu.be/zewrYd2TI5U