การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การบริหารความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นที่กำหนดไว้ในนโยบายความยั่งยืนของ SCBX โดยกลุ่มธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ได้บูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าในระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร ตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD Recommendations)

พัฒนาการที่สำคัญ

2563

แต่งตั้งคณะทำงานประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อระบุแนวทางการศึกษาและประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อพอร์ตสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ ตลอดจนผนวกแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าเป็นส่วน หนึ่งของการทดสอบภาวะวิกฤติของธนาคารไทยพาณิชย์ (Stress Testing) 


ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกในการศึกษาและพิจารณาความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) โดยอ้างอิงกรอบแนวทางและเครื่องมือการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้สมมติฐานต่าง ๆ (Climate Change Risks and Scenario Analysis) ตามคำแนะนำของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (The Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD)

2564

กำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกระบวนการพิจารณาให้สินเชื่อทั้งในด้านความเสี่ยงทางกายภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง และความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของการออกกฎระเบียบของทางการ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่อาจก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าค่าที่กำหนด

2565

กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

การบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน

ธนาคารจัดตั้งคณะทำงานด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ โดยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นประธาน ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดทิศทาง ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานด้านดังกล่าว ภายใต้โครงการบริหารจัดการประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายในการลดความความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (energy intensity) ในด้านการใช้พลังงาน การใช้น้ำ การกำจัดของเสีย และการเดินทางภายในประเทศ อยู่ที่ร้อยละ 10 ภายในปี 2566 ซึ่งธนาคารดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานด้านดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือน

ธนาคารไทยพาณิชย์บริหารจัดการการดำเนินงานด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) โดยจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลด้านดังกล่าว จัดตั้งเป้าหมาย รายงาน ตลอดจนว่าจ้างที่ปรึกษาจากหน่วยงานภายนอกในการรับรองความเชื่อมั่นของข้อมูล ธนาคารเดินหน้าพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในเชิงขอบข่ายของข้อมูล ความสอดคล้อง ตลอดจนริเริ่มจัดเก็บข้อมูลโดยใปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ตรวจประเมินและบริหารการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 & 2 Emission

ในปี 2565 ธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินการตรวจสอบ สำรวจ และวิเคราะห์การใช้พลังงาน (Energy Audit) โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก เพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการพลังงาน ประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารสำนักงานและสาขาธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อประกอบการจัดทำ Operational Net Zero Roadmap และกำหนดเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 & 2 Emission ระยะใกล้และระยะยาวโดยเปรียบเทียบจากข้อมูลปีฐาน 2565

เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกป่า ลดคาร์บอน 

ธนาคารไทยพาณิชย์ ผนึกกำลังพันธมิตรและภาคีเครือข่าย สนับสนุนการดำเนินโครงการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อช่วยดูดซับ


การมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม

ธนาคารไทยพาณิชย์ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ กระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม ในการทำให้กลุ่มธุรกิจที่ SCBX Group ดูแลอยู่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) จากการดำเนินงานภายในปี 2573 ด้วยการสนับสนุนโครงการต่างๆ ดังนี้