การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เทคนิคยื่นภาษี และ ลดหย่อนภาษี แบบง่ายด้วยตัวเอง
อีกไม่กี่เดือนจะสิ้นปี 2563 แล้ว เหลือเวลาไม่มากสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำในการวางแผนลดหย่อนภาษีภาษี พร้อมทั้งใช้สิทธิประโยชน์จากค่าลดหย่อนที่ช่วยให้เสียภาษีน้อยลง หลายคนเข้าใจผิดว่า ยิ่งลดหย่อนภาษีไปเท่าไหร่ ก็จะเสียภาษีน้อยลงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับเงินได้และอัตราภาษีเฉพาะบุคคลด้วย โดยปัจจุบันใช้อัตราก้าวหน้าในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี 2563 กรมสรรพากรได้กำหนดรายการหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนภาษีต่างๆ ไว้ เพื่อลดภาระของยอดภาษีที่ต้องนำส่ง โดยแบ่งค่าลดหย่อนภาษีออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาระส่วนตัวและครอบครัว
ภาระส่วนตัวและครอบครัว |
อัตราค่าลดหย่อน |
|
1 |
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว |
60,000 บาท |
2 |
ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส กรณีไม่มีรายได้หรือยื่นร่วม |
60,000 บาท |
3 |
ค่าลดหย่อนภาษีบุตร |
คนละ 30,000 บาท |
4 |
ค่าลดหย่อนภาษีบิดามารดา |
คนละ 30,000 บาท |
5 |
ค่าลดหย่อนภาษีเลี้ยงดูผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ |
คนละ 60,000 บาท |
6 |
ค่าลดหย่อนภาษีฝากครรภ์และคลอดบุตร |
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 60,000 บาท |
กลุ่มที่ 2 กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน
กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน |
อัตราค่าลดหย่อน |
|
1 |
ประกันสังคม |
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 7,200 บาท |
2 |
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต |
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
3 |
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง |
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท *ข้อ 2 และ 3 รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท |
4 |
เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ |
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท |
5 |
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ |
ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท |
6 |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) |
ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท |
7 |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน |
ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท |
8 |
เงินสะสมจากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) |
ไม่เกิน 13,200 บาท |
9 |
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) |
ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท *ข้อ 5 - 9 รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
10 |
กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) |
ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท |
กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์ |
อัตราค่าลดหย่อน |
|
1 |
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย |
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
2 |
โครงการบ้านหลังแรกปี 2559 |
ไม่เกิน 120,000 บาท |
กลุ่มที่ 4 กลุ่มเงินบริจาค
กลุ่มเงินบริจาค |
อัตราค่าลดหย่อน |
|
1 |
เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนการกีฬา เงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ และโรงพยาบาลรัฐ |
ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน |
2 |
กลุ่มเงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล |
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน |
3 |
เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง |
สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท |
กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนภาษีตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ค่าลดหย่อนภาษีตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ |
อัตราค่าลดหย่อน |
|
1 |
โครงการช้อปดีมีคืน สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือบริการในช่วงเวลา 23 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2563 |
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยได้รับเงินภาษีคืนตามระดับรายได้ |
2 |
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต |
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง เมื่อมีเงินได้จากค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ หรือเงินได้การประกอบธุรกิจอื่นๆ |
การคำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่าย
รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท - ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิเงินได้สุทธิ x อัตราภาษีแบบขั้นบันได |
ตัวอย่าง การคำนวณภาษี ของคนที่มีรายได้ต่อปี 360,000 บาท
360,000 – 100,000 (ค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) – 60,000 (ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว) – 7,200 (ประกันสังคม) = 192,800 (เงินได้สุทธิ) และจะต้องเสียภาษีจำนวน 2,140 บาท ตามวิธีการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
เงินได้สุทธิ |
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
เงินได้สุทธิ 416,000 บาท |
การคำนวณภาษี |
0 – 150,000 |
ได้รับการยกเว้นภาษี |
จำนวน 150,000 แรก |
ได้รับการยกเว้นภาษี |
150,001 – 300,000 |
5% |
150,001-192,800 |
42,800 x 5% = 2,140 |
ในกรณีเดียวกัน หากซื้อกองทุน SSF เป็นจำนวนเงิน 24,000 บาท จะมีเงินได้สุทธิเท่ากับ 168,800 บาท (360,000 – 100,000 – 60,000 – 7,200 – 24,000 = 168,800) และจะเสียภาษีจำนวน 940 บาท ตามวิธีคำนวณ ดังนี้
เงินได้สุทธิ |
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
เงินได้สุทธิ 364,610 บาท |
การคำนวณภาษี |
0 – 150,000 |
ได้รับการยกเว้นภาษี |
จำนวน 150,000 แรก |
ได้รับการยกเว้นภาษี |
150,001 – 300,000 |
5% |
150,001-300,000 |
18,800 x 5% = 940 |
ตัวอย่างดังกล่าว หากมีการใช้สิทธิประโยชน์จากค่าลดหย่อนภาษี จะสามารถเสียภาษีลดลง 1,200 บาท (2,140 - 940) ซึ่งถ้าหากยังต้องการเสียภาษีน้อยลงจากเดิมอีก อาจลองพิจารณาซื้อกองทุน SSF เพิ่มเติมจากเดิมเป็น 36,000 บาท ก็จะเสียภาษีลดลงเหลือเพียง 340 บาทเท่านั้น
การจ่ายภาษี และการยื่นภาษีประจำปี
โดยปกติแล้ว นายจ้างจะหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ของพนักงานในแต่ละเดือนและนำส่งกรมสรรพากรให้ เมื่อครบปี นายจ้างจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ คือ เอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี และแสดงข้อมูลรายได้ว่าได้มาจากที่ใดและจำนวนเท่าไหร่บ้าง เป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้ หรือ ภงด 90/91 ภายในสิ้นเดือนมีนาคมของปีถัดไปจากปีภาษี สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ที่ กรมสรรพากร
นอกจากนี้ กรมสรรพากร ยังเอาใจมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีรายเสริมอื่นๆ ด้วยการเพิ่มช่องทางยื่นภาษีผ่านแอปที่สะดวก รวดเร็ว สุดๆ สามารถยื่นภาษีได้ง่ายกว่าเดิม โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
เมื่อเข้าใจในเรื่องของภาษี หลักการคำนวณและการลดหย่อนภาษีมากขึ้น การวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปีเพื่อพิจารณารายการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับตัวเองและทยอยซื้อตามกำลังในแต่ละเดือน จะช่วยให้การบริหารภาษีได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างความมั่นคงเพิ่มเติมในรูปแบบการออมเพื่ออนาคต การคุ้มครองความเสี่ยงในด้านชีวิตและสุขภาพ และการช่วยเหลือสังคมในรูปแบบการบริจาคอีกด้วย
หากอยากซื้อกองทุน SSF เพื่อลดหย่อนภาษีปลายปี สามารถซื้อได้ง่ายๆ ผ่าน SCB Easy App ได้ทุกที่ทุกเวลา โดย SCB มีกองทุน SSF ที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายให้เลือกตามความต้องการและระดับความเสี่ยงที่รับได้ และสามารถเลือกลงทุนได้ทันที ศึกษาข้อมูลกองทุน SSF ได้ที่นี่ และขั้นตอนการลงทุนง่ายๆ ผ่าน SCB Easy App ได้ที่นี่ อ่านขั้นตอนการซื้อกองทุนที่นี่
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คนเริ่มทำงานลดหย่อนภาษีดีเหมือนมีเงินเก็บ
1. เลือก “การลงทุน”
2. เลือก “กองทุนรวม”
3. เลือก “เปิดบัญชี”
4. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่เคยให้ไว้กับธนาคารให้ครบถ้วน
- เลือก “เริ่มต้น”
5. ยืนยันเบอร์มือถือ เพื่อรับ OTP
- เลือก “ถัดไป”
6. รับผลการสมัครผ่าน Slip และ Email