ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ศึกภาษีทรัมป์: พายุกระหน่ำโลกการค้า SMEs ไทยต้องปรับตัว ผู้บริโภคก็ต้องรู้เท่าทัน
21-04-2568
ลองจินตนาการว่าคุณกำลังแล่นเรืออยู่กลางทะเลนิ่งๆ ทันใดนั้นก็มีพายุใหญ่พัดเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว…นี่แหละคือสิ่งที่เราทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการไทยกำลังเผชิญอยู่ กับ “ศึกภาษีทรัมป์” ที่เป็นนโยบายของสหรัฐฯ แต่ส่งแรงกระเพื่อมกระแทกมาถึงเมืองไทยอย่างจัง แม้ล่าสุดจะมีการประกาศเลื่อนภาษีออกไป 90 วัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พายุจะพัดผ่านไปแล้วอย่างสงบหากแต่กำลังเริ่มต้นต่างหาก
เกิดอะไรขึ้นกับภาษีทรัมป์ ?
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้นำเสนอนโยบาย “ขึ้นภาษีนำเข้า” สินค้าจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อปกป้องผู้ผลิตในประเทศตนเอง และลดการขาดดุลการค้า โดยเฉพาะกับประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลมาก เช่น จีน เม็กซิโก เยอรมนี รวมถึงไทยด้วย และเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ก็ได้ประกาศภาษีนำเข้าทั้งหมด 3 รูปแบบ
ไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่โดนหนัก โดยอัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ เก็บจากสินค้าจากไทยเฉลี่ย 36% สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (16%) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยอาเซียน (33%)
ผู้ประกอบการ SMEs ไทย และผู้บริโภคได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง?
ผลกระทบจากพายุภาษีครั้งนี้ส่งผลต่อคนไทยทุกคนในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาสินค้าบางอย่างที่แพงขึ้น เศรษฐกิจชะลอตัว (GDP ไทยปี 2568 อาจเติบโตต่ำกว่า 2% จากเดิมคาดการณ์ที่ 2.4%) เงินบาทผันผวนจากความไม่แน่นอนทางการค้า และในที่สุดการจ้างงานอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ผู้ประกอบการ SMEs ไทย
SMEs ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ โดนตรงๆ โดยเฉพาะกลุ่ม High Impact ซึ่งพึ่งพารายได้จากสหรัฐ จีน และโลกสูง มีความเสี่ยงสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด เช่น สินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา ยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในหมวดเหล่านี้ หลายรายการ ไม่ใช่แค่ไทยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯสูง แต่ยังโดนเก็บภาษีสูงกว่า “คู่แข่ง” อีกด้วย ทำให้แข่งขันลำบากและมีกำไรลดลง
นอกจากนี้ เมื่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอย่างจีน ญี่ปุ่น หรือในอาเซียนซบเซาเพราะโดนภาษีเหมือนกัน ก็ส่งผลกระทบ “ทางอ้อม” กลับมายังไทย เพราะสินค้าขั้นกลางหรือวัตถุดิบที่เคยขายให้ประเทศเหล่านี้ก็ขายได้น้อยลง
ผู้บริโภค
บางคนอาจคิดว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเรา แต่ในความเป็นจริง ทุกคนโดนผลกระทบ แบบไม่รู้ตัว เช่น:
แล้วเราทำอะไรได้บ้าง?
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs
การปรับตัวเป็นหัวใจสำคัญ:
สำหรับผู้บริโภค
สรุป: วิกฤตนี้ไม่ได้แค่ “แรง” แต่ “เร็ว” ด้วย
นโยบายภาษีของทรัมป์อาจจะอยู่ไกลถึงสหรัฐฯ แต่ส่งผลตรงถึงโต๊ะอาหาร ร้านค้า ไปจนถึงโรงงานและออฟฟิศของ SMEs ไทยทุกแห่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ หรือเป็นผู้บริโภคธรรมดา สิ่งสำคัญคือ “อย่าอยู่นิ่ง” มองหาโอกาสในวิกฤติอยู่เสมอ เพราะในโลกที่เปลี่ยนไว การเข้าใจเกม และปรับตัวให้ทัน คือกุญแจที่ทำให้เรา “อยู่รอด” และ “เติบโต” ไปได้พร้อมกัน ไม่มีพายุลูกไหนที่พัดผ่านไปโดยไม่ทิ้งร่องรอยไว้ แต่เรือที่แข็งแรง และกัปตันที่ชาญฉลาดเท่านั้นที่จะผ่านพายุไปได้อย่างปลอดภัย
(ข้อมูลจากการบรรยายในหัวข้อ “ศึกภาษีทรัมป์ ถอดบทเรียนและกลยุทธ์สำหรับ SMEs ณ วันที่ 10 เมษายน 2568)