SCB CIO Wealth Insight Ep.22

จัดพอร์ตอย่างไร ในช่วงธนาคารกลางค้างดอกเบี้ยในระดับสูง

share  27 มิถุนายน 2566

SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย

  1. ธนาคารกลางหลักส่งสัญญาณใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยเป็นเรื่องของปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป แม้ชะลอและอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแต่จะไม่รุนแรง ขณะที่ EM Asia แม้การฟื้นตัวช้ากว่าคาดในช่วงครึ่งแรก แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง
  2. ปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยแบบรุนแรง เงินเฟ้อยืดเยื้อกว่าคาด และเศรษฐกิจ EM Asia ชะลอตัว
  3. แนะนำตั้งรับเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ขณะที่เราปรับมุมมองหุ้นกู้คุณภาพสูงลงเป็น Neutral จากความเสี่ยง spread ของหุ้นกู้กลุ่ม medium grade (A+ ถึง BBB-) ที่จะถูกกระทบจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
  4. หนุนเปิดเกมส์รุกด้วยการเพิ่มหุ้น EM Asia เน้น จีน A-share ที่มูลค่าค่อนข้างถูกเทียบกับอดีต และหุ้นไทยที่มูลค่ายังน่าสนใจ ขณะที่ หุ้นกลุ่มเติบโตสหรัฐฯเริ่มแพง และหุ้นยุโรปถูกกระทบจากเงินเฟ้อยืดเยื้อโดยแนะนำสับเปลี่ยนเข้าหุ้นกลุ่ม Defensive ในสหรัฐฯ ที่มีผลกำไรแข็งแกร่งแม้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย รวมถึง valuation ที่ยังน่าสนใจ เช่น กลุ่ม Utilities และกลุ่ม Consumer staples
  5. ควรลงทุนใน commodity เพื่อ Hedge ความเสี่ยงเงินเฟ้อยืดเยื้อ และความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) เนื่องจาก การเพิ่ม commodities เข้ามาใน portfolio ในสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5%-10% ตามความเสี่ยงที่รับได้ จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่เงินเฟ้อสูงมากกว่าตลาดคาด เนื่องจาก commodities มักจะเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับ หุ้น และพันธบัตร

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน มิ.ย. ของ SCB CIO

#SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH

 

สามารถฟังพอดแคสต์ช่องทางอื่นๆ ได้ที่นี่

 


ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง