ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ทำความรู้จักบันไดในบ้าน และตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งาน
บันไดทำหน้าที่เชื่อมต่อทางเดินระหว่างแต่ละชั้นภายในบ้าน ด้วยความที่เป็นทางเชื่อมที่ใช้เดินขึ้นลง ความปลอดภัยในการใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา นอกเหนือจากความสวยงาม
หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่าบ้านเรามีกฎหมายเรื่องบันไดบัญญัติไว้ด้วย
กฎหมายเรื่องบันไดสำหรับบ้านพักอาศัย มีกำหนดไว้ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 23 ซึ่งกำหนดบันไดสำหรับอาคารอยู่อาศัยไว้ดังนี้
“บันไดของอาคารอยู่อาศัยถ้ามี ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งบันไดที่มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่ น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันไดมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันไดต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่ น้อยกว่า 1.90 เมตร “
จะเห็นว่าระยะต่างๆ ที่กฎหมายกำหนด มีไว้เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้บันไดเดินขึ้นลง ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสามารถขยายความได้ดังนี้
นอกจากนี้แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานบันได
1. ราวกันตก
: เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบันได ราวกันตกควรมีรูปร่างและขนาดที่จับง่าย ยึดอยู่กับโครงสร้างอย่างแข็งแรง และอยู่ในระดับความสูงที่จับสะดวกในขณะขึ้นลง บันไดที่มีราวกันตกแค่ฝั่งเดียว และมีราวมือจับที่ไม่ต่อเนื่อง ย่อมทำให้การเดินขึ้นลงลำบาก โดยเฉพาะผู้ใช้งานที่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้พิการ
2. จมูกบันได : คือส่วนที่ยื่นออกมาจากปลายของลูกนอน โดยมักจะยื่นออกมาประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่วางเท้า และโดยทั่วไปจะมีการหุ้มด้วยวัสดุกันลื่น หรือเซาะร่อง ซึ่งจะช่วยกันลื่น และช่วยให้ผู้ใช้บันไดสังเกตเห็นบันไดแต่ละขั้นได้ง่ายขึ้น
4. ลูกตั้ง
: โดยปกติแล้ว ผู้ที่เดินขึ้นลงบันได มักจะเดินด้วยความรู้สึกคุ้ยเคย ก้าวขึ้นหรือลงอย่างเท่าๆ กันไปทุกขั้น มากกว่าที่จะมองที่ขั้นบันไดตลอดเวลา ดังนั้นการมีลูกตั้งที่สูงเท่ากันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในเรื่องความปลอดภัย ลูกตั้งที่ไม่เท่ากันอาจจะเกิดจาก ปัญหาเรื่องงานฝีมือช่างก่อสร้าง หรือการปรับแต่ง ต่อเติมโดยผู้ที่ไม่มีความรู้
5. ลูกนอน
: เช่นเดียวกับลูกตั้ง ลูกนอนของบันไดก็ควรมีความกว้างที่เท่ากัน เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมการเดินขึ้นลงของผู้ใช้บันได
6. แสงสว่างที่เพียงพอ : บันไดสามารถอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของบ้านได้อย่างหลากหลาย ตามแต่แนวทางการจัดวางและออกแบบ แต่ก็ต้องคำนึงถึงแสงสว่างที่ใช้อำนวยความสะดวกในการเดินขึ้นลงบันไดด้วย โดยสามารถเป็นได้ทั้งแสงจากโคมไฟ หรือแสงธรรมชาติที่ได้รับมาจากหน้าต่างกระจกที่มักจะมีอยู่ใกล้ๆ กับบันได บันไดที่มีผนังทึบปิดทั้ง 2 ข้าง อาจต้องใช้ลูกตั้งแบบโปร่งซึ่งก็คือ บันไดที่มีแต่ลูกนอนส่วนลูกตั้งปล่อยโล่ง เพื่อรับแสงจากบริเวณข้างเคียง ซึ่งก็แล้วแต่แนวทางการออกแบบ
ประเด็นต่างๆ ทั้งหมดนี้ ทั้งที่กำหนดโดยกฎหมาย และไม่ได้กำหนด เป็นเหมือน check list สำหรับเจ้าของบ้านที่สามารถนำไปตรวจสอบบันไดที่บ้าน เพื่อให้ทุกๆ คนในบ้านได้ใช้บันไดอย่างปลอดภัย ส่วนเจ้าของบ้านท่านใดที่กำลังออกแบบบ้านใหม่ หรือซื้อบ้านใหม่จากโครงการต่างๆ ก็อาจไม่ต้องกังวลเท่าไหร่ เพราะบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกก็จะมีการออกแบบบันไดให้ปลอดภัย และเป็นไปตามกฎหมายอยู่แล้ว