การเปลี่ยนแปลงของ Supply Chain หลัง Technology Disruption

ระบบ Supply chain ทั้งในภาคการเกษตร ภาคการผลิต ภาคการค้า รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ประกอบกับตัวเร่งอย่างโควิด ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคหรือ End users เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบคูณ 2 บทความนี้เราจะมาดูการเปลี่ยนแปลงของ Supply chain ในภาคธุรกิจต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร และประเทศไทยควรทำอะไรต่อไปเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้


อุตสาหกรรมหลักๆในประเทศล้วนได้รับผลกระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงใน Supply chain กลุ่ม Hardware ที่ผลิตอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ โดนดิสรัปจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI ทำให้ Software จะถูกใส่เข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ แล้วกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมเหล่านี้จะแข่งขันด้วย Cost leadership คือแข่งด้วยราคา ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกับจีน ไต้หวัน มาเลเซีย หรือคู่แข่งใหม่อย่างเวียดนาม

chain1

เมื่อเจอภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย รวมทั้งเผชิญกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามา อุตสาหกรรมเหล่านี้ดรอปลงไปประมาณ 7-8% แต่ในขณะเดียวกันก็มีอุตสาหกรรมที่โตขึ้นอย่างน่าแปลกใจ เพราะมีโควิดเข้ามาเป็นตัวเร่งคือ Digital service ที่มีภาพการเติบโตเกิน 10% การเติบโตสอดคล้องกับภาวะของโควิด ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปมีการใช้บริการทางด้านดิจิทัลเยอะขึ้น มี Transaction ที่ผ่านระบบของ Payment gateway เยอะขึ้นมาก อีกอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดคือ Digital content ซึ่งเป็นส่วนผสมของ Supply chain ตัวหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอนเทนต์ผ่านโลกดิจิทัลหรือโซเชียลมีเดีย การสร้างคอนเทนต์สำหรับอุตสาหกรรมที่เจอผลกระทบจากโควิดอย่างรุนแรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดมิติใหม่ใน Supply chain ในธุรกิจการท่องเที่ยว Digital content มีการเติบโตถึง 11% โดยประมาณ กลุ่มอุตสาหกรรม New wave ที่เรียกว่า Data analytics service มีมูลค่าเติบโต 1,300 พันล้านบาท เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนเปลี่ยนในระบบ Supply chain


Digital service กำลัง Disrupt ทั้งภาคการเกษตร ภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน Supply chain เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัว ไม่ใช่จากแค่ภายในประเทศแต่ยังรวมถึงจากภายนอกประเทศด้วย ทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจากโควิดและการมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ที่หา Solution ใหม่ๆ เข้ามา ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องคิดอยู่สามประเด็น


1. ทำยังไงให้ทุก Supply chain ทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานสามารถนำไปสู่ Cost leadership ได้ เพราะภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิต ภาคการเกษตรถึงจุดที่ต้องหาทางลดต้นทุนเพื่อตอบโจทย์การดำเนินชีวิตแบบใหม่


2. ความแตกต่าง Supply chain ต้องถามตัวเองว่าจะทำอย่างไรที่จะนำเสนอสิ่งที่แตกต่าง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีที่สุด

3. ความเร็ว การทำงานของ Supply chain จะต้องเร็วขึ้น เพราะถ้าช้าจะไม่ทัน New comers หรือการแข่งขันของผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ที่เข้ามาในระบบเศรษฐกิจ


ซึ่งทั้งสามประเด็นที่กล่าวมานั้นยังไม่พอ ยังต้องมองว่าอะไรจะมาเป็นสินค้าหรือบริการที่จะเป็นแชมป์เปี้ยนของประเทศไทย ที่จะเป็นตัวนำ Supply chain เหล่านี้ นี่คือการเปลี่ยนแปลงของ Supply chain และการทำธุรกิจในอนาคต


ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงใน Supply chain ในอุตสาหกรรมต่างๆ

1. ภาคการเกษตร สมัยก่อนเกษตรกรปลูกพืชและส่งพ่อค้าคนกลาง จากพ่อค้าคนกลางส่งผ่านแวร์เฮ้าส์แล้วเข้าห้าง หรือผ่านพ่อค้าคนกลางแล้วไปตลาดสด แต่เครื่องมือดิจิทัลและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการตัดตอนของ Supply chain กลางน้ำ เกษตรกรต้นน้ำหาช่องทางที่จะส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรงและทำกำไรได้มากขึ้น เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไป คือเกษตรกรขายสินค้าตรงให้ผู้บริโภคได้ ผู้บริโภคก็ซื้อตรงจากเกษตรกรได้ โดยใช้ Social commerce ในการค้าขาย ซึ่งตอนนี้มีตัวเลขเป็นหลักร้อยล้านบาท นี่เป็น Supply chain ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเอาตัวรอด เกิดจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิต Supply chain ในอดีต ผลิตแล้วก็เข้าสู่แวร์เฮ้าส์ เข้าสู่ระบบโลลิสติก และจากโลจิสติกที่ถูก Distribute ผ่านช่องทางตรงคือ Retail หรือผ่าน Whole sale แล้วไปหา Retail แล้วจึงไปสู่ผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ถูกดิสรัปเหมือนภาคการเกษตร คือภาคอุตสาหกรรมสามารถกลายเป็นต้นน้ำที่ขายของตรงสู่ผู้บริโภคได้ ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคในประเทศแต่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ด้วย Supply chain ใหม่ๆ แบบนี้ดูว่าไทยไม่มีความพร้อมแต่ก็มีผู้เล่นที่สำคัญๆ จากต่างประเทศเข้ามาไม่ว่าจะเป็น Lazada Shopee หรือ JD Central จะเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้มีมูลค่าการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสอดคล้อง กับตัวเลขอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นและความเชื่อมั่นในดัชนีของกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลที่โตขึ้น


ดังนั้นทั้งแวร์เฮ้าส์และ Whole sale ต้องปรับตัวเพราะจากที่เคยเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายก็หายไป ยังเจอการเข้าสู่แพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ทำให้ธุรกิจตรงปลายน้ำมีการเติบโตด้วยตัวของตัวเอง รวมทั้งการส่งออกก็เกิดการเปลี่ยนแปลง นื่คือ supply chain ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่การผลิตจนถึงการค้าขายที่ผ่านระบบ Retail และไปหาผู้บริโภคที่ถูกตัดให้สั้นลง กระทบทั้งเรื่อง Cost ที่เปลี่ยนไป การสร้างความแตกต่างและความเร็วที่เปลี่ยนไป นี่คือการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา


3. ธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจการค้า ที่เจอผลกระทบของโควิดอย่างรุนแรง ในช่วงโควิดธุรกิจการค้าเจอปัญหาในเรื่องของ Panic หลายธุรกิจต้องปิดบริการ ต้องนำแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่มาใช้ ทั้งร้านค้าที่เป็นอุปโภคและบริโภค ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับปัจจัยตัวเร่งต่างๆ ส่วนภาคการท่องเที่ยวจะเห็นว่าหลายๆ สถานประกอบการต้องชะลอการประกอบการไปหรือปิดชั่วคราวเพื่อลดต้นทุนให้อยู่รอดได้ ทั้งธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวนำแพลตฟอร์มมาใช้ทำให้ระบบ Supply chain ของเขาเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจนำเที่ยวที่มีการทำ Digital content เข้ามาเป็นตัวเสริม การผลิตคอนเทนต์มีการเติบโตมาก คนที่ทำงานด้าน Digital content ก็เติบโตด้วย จาก 1-2 หมื่นคนกลายเป็น 4 หมื่นคน แปลว่าคนเหล่านี้ทำงานเพื่อสนับสนุนให้ Supply chain ของธุรกิจบริการท่องเที่ยวหรือธุรกิจต่อเนื่องเปลี่ยนไป โดยใช้คอนเทนต์สร้างความอยาก เช่นใช้ VR หรือ Virtual reality สร้างความอยากของการท่องเที่ยว เหมือนได้เที่ยวในสถานที่จริง สามารถซื้อสินค้าได้ด้วยแต่ผ่านโลกดิจิทัลนั่นเอง เมื่อโลกเปิดอีกครั้งหนึ่งก็สามารถดึงคนให้มาเที่ยวในโลกจริงได้

ธุรกิจท่องเที่ยวเมื่อเจอกับการดิสรัปเหล่านี้พอผ่านไปแล้วก็ต้องปรับตัวเอง เพราะการท่องเที่ยวแบบเดิมที่คนจองตั๋วมาเลยคงไม่ใช่ แต่คนจะเที่ยวในโลกดิจิทัลก่อนพอพร้อมแล้วค่อยมาเที่ยวจริง ส่วนธุรกิจที่เป็น Retail หรือ Trade จากที่เคยเป็นโลก Physical ก็จะถูกลดขนาดลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นดิจิทัลเข้ามาเสริมเติมเต็ม


การทำ Sharing economy ก็จะเติบโตขึ้น เช่น Cloud kitchen ที่ช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารสามารถลดสต็อกในการเก็บวัตถุดิบ ดังนั้นจะเห็นว่า Supply chain ในธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนไปหมด เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจด้านล่างของพีระมิดที่มีการเปลี่ยนแปลงที่มี Value added สูงขึ้น


ในอนาคตถ้าไทยเราปล่อยให้มีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ๆ เป็นต่างชาติ และเราจะเสียดุลชำระเงินในด้านเทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องแบกภาระตรงนี้ที่เราไม่มี Economic value added ในระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเราสามารถที่จะทำให้มีการเติบโตทางด้าน Digital service, Data analytics , Digital content หรือ Software ที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับระบบเศรษฐกิจและเป็นตัวเร่งในประเทศหรือเป็นกลไกของประเทศจะเป็นเรื่องดี รวมถึงการรวมตัวของคนที่ทำงานกลุ่มนี้มาพัฒนาแพลตฟอร์มที่เป็นของคนไทย การพัฒนาเหล่านี้จะเกิดกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เป็นตัวเติมเต็ม Digital service ที่ให้บริการกับภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ค้าปลีกค้าส่ง ที่คนไทยเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม ทำให้ระบบ Supply chain ที่เปลี่ยนไปมีผู้เล่นที่เป็นคนไทยเข้าไปเป็นผู้เล่นสำคัญ เพื่อให้ผู้เล่นที่อยู่บนยอดพีระมิดกลายเป็นคนไทยมากขึ้น ไม่ใช่อยู่ในมือของต่างชาติอย่างที่เป็นอยู่ ร่วมกันสร้างและสนับสนุนแพลตฟอร์มสัญชาติไทยเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ


Robinhood แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่โดยคนไทยเพื่อคนไทย มุ่งมั่นสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ประกอบการและสร้างความสุขให้กับผู้บริโภค