บริหาร Talent อย่างมีประสิทธิภาพด้วยสูตร “ทำ-มา-หา-กิน”

บุคลากร (Manpower) เป็นหนึ่งในปัจจัยทางเศรษฐกิจ ยิ่งในปัจจุบันที่โลกส่วนใหญ่ก้าวเข้าสู่ Digital Economy ขับเคลื่อนโดย Tech Company ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจผ่านแพล็ตฟอร์มสื่อดิจิทัลต่างๆ ทุนมนุษย์จึงเป็นหัวใจในการพัฒนาและการเติบโตขององค์กร โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความสามารถสูงหรือที่เรียกว่า Talent ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของหลายๆ องค์กร แต่จะหา Talent ได้จากที่ไหนแล้วจะรักษาเขาไว้ได้อย่างไร


ในพิธีปิดโครงการ “NIA/ SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)” รศ.ดร.จุฑามาศ แก้วพิจิตร ผู้อำนวยการหลักสูตร ภาวะผู้นำการจัดการและนวัตกรรม (Leadership Management and Innovation) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ผู้เชี่ยวชาญการจัดการ Talent ให้หน่วนงานรัฐและองค์กรเอกชน ได้มาพูดคุยกับผู้ประกอบการในหัวข้อ “Talent Management” ภายใต้แนวคิด “ทำ-มา-หา-กิน”

ibe-talent-managment-01

'ทำ' งานกับ Talent อย่างไร


รศ.ดร. จุฑามาศกล่าวถึงผลวิจัยทั่วโลกที่พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของ Tech Company และสตาร์ทอัพไม่มีการจัดทำกลยุทธ์บริหารจัดการ Talent อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งการบริหาร Talent ในเรื่องการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมักจะมีคำถามว่า “ทำงานกับ Talent ยากหรือไม่?”  “Talent ทำงานร่วมกับคนอื่นได้หรือเปล่า?” ซึ่งอาจจะยากถ้าเราไม่รู้จัก Talent ดีพอ บางคนก็เข้าใจว่าเป็นคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง มีศักยภาพการทำงานให้สำเร็จ ฯลฯ  ดังนั้นการทำงานกับคนเก่งอยู่ที่ว่าเราเข้าใจว่า Talent ดีพอหรือไม่? Talent คืออะไรและ Talent คือใคร ซึ่งก็สามารถแบ่งความหมายของ Talent เป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) Talent as Attitude คือคนที่มี Passion และ Motivation ซึ่งจะทำให้เขาเป็นคนที่มีความเป็นผู้นำพร้อมจะขับเคลื่อนองค์กรเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จ 2) Talent as Natural Ability คนที่มีความสามารถโดดเด่นมาตั้งแต่เกิด ซึ่งอาจมีทัศนคติที่แตกต่างกับคนทั่วไป 3) Talent as Mastery คนที่ฝึกฝนตัวเองจนเก่ง บางทีเมื่อมีสถานการณ์คับขันก็จะปรากฏ Talent ประเภทนี้ขึ้นมา


สำหรับคำถามว่า Talent เป็นใคร? รศ.ดร. จุฑามาศกล่าวว่ามองได้ 2 มุมคือ Talent as All People ที่มองว่าทุกคนในบริษัทคือ Talent  กับ Talent as High Performers and High Potential ซึ่งมองว่าบางคนเป็น Talent ซึ่งมีการใช้หลักการ 9-box Grid พิจารณาศักยภาพบุคคลเพื่อส่งเสริมเขา เช่น คนที่มีศักยภาพ (Potential) และประสิทธิภาพ (Performance) สูง จัดเป็นกลุ่ม Future Leader ทำงานอะไรก็ทำได้สำเร็จ คนที่ประสิทธิภาพสูงแต่ศักยภาพปานกลาง จัดเป็น High Impact Performer ที่มีโอกาสเติบโต ฯลฯ ดังนั้น 9-box Grid จึงเป็นเครื่องมือสกรีนคนเพื่อหาวิธีพัฒนาให้เป็น Talent ได้อย่างถูกต้อง เช่นสำหรับ Future Leader ก็พัฒนาโดยให้เขาได้ทำงานในสถานการณ์ใหม่ๆ ลองทำโปรเจ็กต์ใหม่ๆ ได้ลองตัดสินใจเอง  ส่วนกลุ่มที่รองลงมาคือ Growth Employee ต้องพัฒนาโดยให้ทำ Stretch Assignment ยกระดับประสิทธิภาพตัวเอง ในกลุ่มที่อยู่ปานกลาง อย่าง Core Employee ก็ต้องพัฒนาด้วยการ Coaching เป็นต้น ซึ่งคีย์เวิร์ดของการสร้าง Talent คือ Growth Mindset กับ Fixed Mindset ซึ่ง Growth Mindset เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา Talent


ทั้งนี้ เราต้องรู้ว่า Talent ของเราเป็นแบบไหน เป็นใคร รวมถึงรู้ว่าเราจะบริหารจัดการ Talent ไปเพื่ออะไร? เป็นการสร้างวัฒนธรรม สร้างผู้นำรุ่นต่อไป หรือพัฒนาผู้นำในตำแหน่งสำคัญ จึงจะสามารถพัฒนาและรักษาคนที่เป็น Talent รวมถึงกำหนดรูปแบบการทำงานของ Talent และร่วมกับเขาได้อย่างเต็มที่

Talent ‘มา’ จากไหนและ ‘หา’ Talent มาด้วยวิธีอะไร


องค์กรสามารถหา Talent ได้ด้วยการสร้าง (Build) ซื้อ (Buy) ขอยืม (Borrow) ซึ่งในการสร้างTalent ต้องอาศัยงบประมาณ เวลาและระบบที่ดี  รศ.ดร. จุฑามาศกล่าวว่ามีสูตรการเรียนรู้พัฒนา Talent จากเดิมที่เป็นแบบ 70-20-10 คือเทรนนิ่งแบบ On the Job 70 เรียนรู้จากคนอื่น (Coaching) 20 และการบรรยาย 10  ไม่นานนี้ก็เปลี่ยนมาเป็น 70-30 คือเทรนนิ่ง Offline 70 Online 30 อีกแบบหนึ่งคือ 90-10 เรียนรู้เกี่ยวกับงาน 90 และสิ่งไม่เกี่ยวกับงาน 10 กรณีที่เราไม่สามารถสร้างหรือซื้อตัว Talent ก็สามารถยืมตัวได้กับผู้ประกอบการหรือองค์กรอื่นที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันได้


เมื่อมองในภาพรวมทั่วโลก ก็มี Global Talent Competitiveness Index (GTCI) เป็นดัชนีชี้วัดการหา Talent ขององค์กรใหญ่ระดับโลก ซึ่งเป็นการจัดอันดับประเทศที่ Talent อยากจะไปทำงาน โดยดูจาก 1) ปัจจัยที่เอื้อให้ Talent ทำงานได้ (Enable) ตัวอย่างประเทศจีน ให้สิทธิพิเศษ Talent เข้าไปอยู่ในสถานที่เรียกว่า Unicorn Island เป็นเกาะที่รวมของสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น แล้วมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างระดับพรีเมี่ยมสำหรับการใช้ชีวิต 2) ปัจจัยต่อการดึงดูด Talent (Attract) 3) ปัจจัยเอื้อให้ Talent เติบโต (Grow) 4) ปัจจัยในการรักษา Talent (Retain) ประกอบกับประสิทธิภาพของ Technical/Vocational Skill และ Global Knowledge Skill  ดัชนี GTCI ปี 2020 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลก

ทำอย่างไรให้ Talent มีการ ‘กิน’ อยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีในองค์กร


ปัจจัยนี้เป็นศาสตร์และศิลป์ที่จะทำอย่างไรให้ Talent อยู่กับองค์กรของเราไปนานๆ  มีตั้งแต่การให้รางวัล (reward) ที่ Talent อยากได้ ให้เขาเลือกเป็นคนเลือก เช่นพาสัตว์เลี้ยงมาที่ทำงาน ขอวันลาพิเศษไปทำกิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น รศ.ดร. จุฑามาศกล่าวว่าการกระทำบางอย่าง เช่น การกล่าวขอบคุณลูกน้องที่ช่วยเหลือในยามที่ยากลำบาก กล่าวขอบคุณที่เขาดูแลตัวเรา เพื่อนร่วมงาน และลูกค้า การเขียนจดหมายขอบคุณด้วยลายมือ การเอาใจใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของพนักงาน เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมากและไม่ต้องเสียเงิน และควรเริ่มทำสิ่งเหล่านี้ ก่อนที่จะใช้จ่ายเงินกับเรื่องอื่น

 

Talent : ต้นทุนหรือการลงทุน?


รศ.ดร. จุฑามาศกล่าวว่า Talent เป็นเรื่องมองได้ 2 มุม จะมองว่าเป็นต้นทุน (Cost) หรือจะมองเป็นการลงทุน (Investment) ก็ได้ เพราะแท้จริงแล้ว Talent ก็คือทุนมนุษย์ เป็นการผสมผสานระหว่างการวางแผนกำลังแรงคน (Workforce Planning) และทุนมนุษย์ บริษัทต้องเลือกว่าจะลงทุนกับบุคลากรคนไหนในช่วงเวลาไหน แม้ว่าการจัดฝึกอบรมจะเป็นต้นทุน แต่ถ้าองค์กรมองสิ่งนี้เป็นการลงทุน ก็จะใส่ใจกับรายละเอียดการฝึกอบรม การประเมิน การดูแลคน และการกระตุ้นผลักดัน (Motivate) บุคลากร ทั้งนี้การลงทุนพัฒนาบุคลากรเป็นการสร้างคน สร้าง Talent ที่แม้วันหนึ่งเขาจะไม่ได้ทำงานกับองค์กรเรา แต่เขาก็ยังคงเป็นคนเก่งคนหนึ่งของประเทศไทยและทำให้ประเทศอยู่รอดพัฒนาต่อไปได้

ความสำเร็จของโครงการ NIA/SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)

ในส่วนโครงการ NIA/SCB Innovation-Based Enterprise (IBE) เป็นคอร์สอบรมพัฒนาผู้ประกอบการ Tech Company ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA และ SCB ร่วมมือกันจัดขึ้น โดยรุ่นที่ 1 มีบริษัทด้านเทคโนโลยีกว่า 30 บริษัทเข้าร่วมการอบรมระยะเวลา 26 สัปดาห์ มีเนื้อหาสำคัญ ได้แก่ ด้านการจัดการองค์กรเช่น Business Management, Marketing & Branding, Finance ฯลฯ และมีการทำ Business Matching กับลูกค้า SME ของธนาคาร มีการทดลองโปรดักส์ (Testing Ground) และการหาพันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership) ช่วยผลักดันให้ Tech Company ก้าวไปสู่ Growth Stage นำไปสู่การต่อยอดธุรกิจเพื่อเดินหน้าแข่งขันอย่างเต็มศักยภาพ และมีผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงในการเจรจาธุรกิจ 200 คู่ และการตกลงสัญญาธุรกิจ 36 ดีล

คุณพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริการ กลุ่มธุรกิจ SME SCB กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการทุกท่าน ที่ได้รับความรู้ประสบการณ์จากที่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรโครงการ NIA/SCB Innovation-Based Enterprise (IBE)  ด้วยสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างเร็วมาก ในส่วน SCB ก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเป็น Work From Home กว่า 70% อยู่ธนาคาร 30% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้เร็วกว่าเดิมเพื่อปรับตัวรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สิ่งที่เคยคิดว่าทำไม่ได้ก็ทำได้ Productivity เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ รวมถึงการมีแพล็ตฟอร์มเข้าไปตอบสนองลูกค้า เช่น Blockchain Solution for Procure-to-Pay (B2P) ที่ธนาคารจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทใหญ่ แบ่งปันกับองค์กรอื่นๆ บริหารจัดการระบบจัดซื้ออย่างมีประสิทธิภาพและอีกแพล็ตฟอร์มคือ Robinhood ที่ได้เสียงตอบรับอย่างมาก นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ธนาคารยังเปิดให้ Tech Company มาเป็นพาร์ทเนอร์บนแพล็ตฟอร์มได้


ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง
รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จากที่ NIA ให้การสนับผู้ประกอบการ Tech Company มาโดยตลอด การจับมือกับ SCB ทำหลักสูตรอบรม IBE พัฒนาศักยภาพและเปิดโอกาสให้ Tech Company ผู้ผลิต Solution พบกับพันธมิตรกับธุรกิจ SME โดยเป็นการตอบโจทย์ SME ที่มีความต้องการเทคโนโลยีไปใช้ในธุรกิจ และ Tech Company ที่มองหาโอกาสใหม่ในธุรกิจ

ติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครโครงการหลักสูตร NIA SCB IBE-Innovation Based Enterprise รุ่นที่ 2 ได้ที่ Line SCB SME , scbsme.scb.co.th และ Call Center โทร. 02-722-2222


ที่มา : พิธีปิดโครงการ “NIA/ SCB Innovation-Based Enterprise (IBE) วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2563